ก.ล.ต. แถลงผลกระทบจากวิกฤติสถาบันการเงินต่างประเทศต่อตลาดทุนไทยไม่มาก แต่ยังติดตาม อยู่อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งผ่อนคลายกฎเกณฑ์การระดมทุนทั้งตราสารทุนและตราสารหนี้ให้คล่องตัวยิ่งขึ้น ในภาวะเงินตึงตัว

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--ก.ล.ต.

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยว่า “จากสถานการณ์ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในขณะนี้มีไม่มากนัก ส่วนทางด้านตลาดทุนได้รับผลทางอ้อมจากการขายหุ้นทิ้งของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการบริหารสภาพคล่องของตน เป็นผลทำให้ SET Index ลดลงไปอยู่ที่ 596.54 จุด (วันที่ 30 กันยายน 2551) หรือลดลง 8.8% จากเมื่อปิดตลาดของวันที่ 12 กันยายน 2551 (ก่อนที่บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส จำกัด ขอพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมายล้มละลาย) ซึ่งการลดลงของ SET Index ไม่ได้แตกต่างจากตลาดอื่นในภูมิภาค จากการติดตามและรวบรวมข้อมูลการลงทุนของไทยไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมและการลงทุนตรงทั้งในหุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารอื่นของสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีปัญหา พบว่ามีปริมาณน้อยมาก การไถ่ถอนหน่วยลงทุนอยู่ในระดับปกติ และฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งในขณะนี้มีความแข็งแกร่ง ไม่มีประเด็นที่ต้องเป็นห่วง สำหรับสภาพการทำ short selling ในไทยนั้น ที่ผ่านมามีปริมาณเล็กน้อยเพียง 0.6% ของมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์รวม และแทบไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่เกิดวิกฤติดังกล่าว ทั้งนี้ ในหลายๆ ตลาดได้ออกเกณฑ์ห้ามทำ short selling หรือเพิ่มเติมเกณฑ์ให้เข้มงวดขึ้น เพราะเกรงว่าจะเป็นเหตุซ้ำเติม สภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ แต่สำหรับประเทศไทย เนื่องจากเกณฑ์ในเรื่องนี้ค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้ว เช่น ทำได้เฉพาะหุ้นที่อยู่ใน SET 50 เพราะมีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง ต้องแสดงว่ามีการยืมหุ้นมาก่อนแล้ว และราคาที่เสนอขายต้องไม่ต่ำกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถ dump ราคาได้ ดังนั้น ในระยะนี้จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเกณฑ์หรือห้ามทำ short selling อย่างไรก็ดี สภาวการณ์เช่นนี้ได้ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่า จะเกิดลุกลามต่อไปและจะขยายวงกว้างออกไปอีกแค่ไหน ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. ไม่ได้วางใจยังคงให้ความสำคัญโดยได้ประสานงานกับ บล. บลจ. และติดตามสถานการณ์ตลาดในมุมมองของผู้ที่อยู่ในวงการทั้งในและต่างประเทศอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะได้ทราบความเคลื่อนไหวของทุกตลาดทั่วโลก รวมถึงความเสี่ยงของสถาบันการเงินชั้นนำทุกแห่งด้วย รวมทั้งประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินผลกระทบและแนวทางรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ผลของวิกฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลให้เกิดภาวการณ์ตึงตัวในตลาดการเงินของโลก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการหาแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจ โดยอาจทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมสูงขึ้น ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. จึงสนับสนุนให้ภาคธุรกิจระดมทุนเสริมสภาพคล่องผ่านตลาดทุนโดยชูมาตรการ “ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลง” สำหรับทั้งการเสนอขายทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน โดยให้การเสนอขาย หุ้นกู้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและการเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตและยื่น filing ส่วนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญจะมีการแก้ไขเกณฑ์ปลีกย่อยที่เป็นภาระต่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ด้วย” นายธีระชัย กล่าวสรุปว่า “โดยรวมแล้วประชาชนสามารถมีความมั่นใจได้ว่าระบบในตลาดทุนมีความเข้มแข็ง เนื่องจากสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในการกำกับดูแลและติดตามทั้งในส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ การเปิดเผยข้อมูล การดำรงฐานะการเงินและการให้บริการของผู้ประกอบการ และที่สำคัญคือการติดตามข้อมูลของต่างประเทศโดยเฉพาะความเสี่ยงของสถาบันการเงินชั้นนำในต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินการและการลงทุนของตัวกลางในธุรกิจหลักทรัพย์ อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีการประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้สำนักงาน ก.ล.ต. มีข้อมูลที่พร้อม หากจำเป็นต้องดำเนินการหรือออกมาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนหรือช่วยเหลือผู้ประกอบการและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบได้อย่างทันท่วงที ประชาชนจึงมั่นใจในการระดมทุนและการลงทุนในตลาดทุนต่อไปอีกได้”

ข่าวสถาบันการเงินต่างประเทศ+ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาลวันนี้

Hattha Bank ประสบความความสำเร็จในการขายหุ้นกู้สกุลเงินบาทอีกครั้ง

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ร่วมกับ Hattha Bank สถาบันการเงินชั้นนำของเครือกรุงศรีในประเทศกัมพูชา ประกาศความสำเร็จอีกครั้งกับการเสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินบาทโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยมีมูลค่าเสนอขาย 1,300 ล้านบาท อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2569 ถือเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการขยายโอกาสทางการเงินและธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในตลาดภูมิภาคอาเซียน สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ธุรกิจ

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน... กรุงศรีฉลองความสำเร็จ ดัน Hattha Bank บุกตลาดหุ้นกู้เมืองไทยเปิดขายบาทบอนด์ครั้งแรก — กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศของสถาบันการเงินไทยที่ไม่ใช่ธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ 3 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทหลักทรัพย์ไทย 3 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiary) ของสถาบันการเงินต่างประเทศดังนี้ -บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส ซี...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศของ 5 สถาบันการเงินไทยที่ไม่ใช่ธนาคารซึ่งเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ และประกาศเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบสำหรับ บล.โนมูระพัฒนสิน

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารในประเทศไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูก ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ 5 สถาบันการเงินไทยที่มิใช่ธนาคารซึ่งเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารในประเทศไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiary) ของสถาบันการเงินต่างประเทศดังนี้ -บริษัท อีซี่ บาย จำกัด ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 6 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 6 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiary) ของสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยธนาคารและสถาบันการเงินที่ได้รับการคงอันดับ...

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกร... ภาพข่าว: รมว.คลังประชุมหารือทวิภาคีกับผู้แทนสถาบันการเงินต่างประเทศ — นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารโ...

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกร... ภาพข่าว: รมว.คลังประชุมหารือทวิภาคีกับผู้แทนองค์การระหว่างประเทศและสถาบันการเงินต่างประเทศ — นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียเหนือ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiaries) ของสถาบันการเงินต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียเหนือ ...