Mazda TAIKI

กรุงเทพฯ--1 ธ.ค.--มาสด้า เซลส์

Flow Design – การเดินทางค้นหาแนวทางการออกแบบในอนาคตของมาสด้า นับจากการเปิดตัวของมาสด้าอเทนซ่า (หรือในบางประเทศใช้ชื่อ มาสด้า6) ซึ่งเป็นรถรุ่นแรกของยานยนต์มาสด้า เจเนอเรชั่นใหม่ในปี 2545 ดีไซน์ของมาสด้าก็ได้รับความชื่นชมจากลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ และนักออกแบบทั่วโลกมากมาย รถยนต์ต้นแบบรุ่นต่าง ๆ ของมาสด้าได้สร้างชื่อ เสียงระดับโลกในด้านรูปลักษณ์ที่สะดุดตาภายใต้แนวคิด ซูม ซูม ตั้งแต่มาสด้าเซนคุ ที่เปิดตัวในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ปี 2548 ซึ่งคว้ารางวัล Grand Prix du Plus Beau Concept Car ในมหกรรมยานยนต์นานาชาติครั้งที่ 21 ที่ปารีส จนถึงรถสปอร์ตมาสด้าคาบุระ ซึ่งได้รางวัลด้านความสวยงามและนวัตกรรม ยอดเยี่ยมจากดีทรอยต์มอเตอร์โชว์ในปี 2549 ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่ง ควบคู่กับความล้ำหน้าด้านการออกแบบ พร้อมเพิ่มเติมรายละเอียดความเป็นรถสปอร์ตและความสวยงามมากขึ้น โจทย์ที่ผม ให้กับทีมนักออกแบบคือการพัฒนารูปทรงใหม่ที่กระตุ้นให้รู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหวแม้ขณะที่รถจอดนิ่งอยู่กับที่ นี่จึงเป็นที่มาของ Flow Design อันมาจากคำว่า “นากาเร่” ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า “ความเคลื่อนไหว” หรือ “ลักษณะแห่งความเคลื่อนไหว” เราใช้ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ โดยมุ่งเน้นที่ ภาพของความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากพลังของธรรมชาติอย่างลมและน้ำ เส้นสายของความเคลื่อนไหวในธรรมชาติล้วนอยู่รอบตัวเรา รูปทรงแหว่งเว้าของเนินทรายที่เกิดจากแรงลม หรือคลื่นในมหาสมุทรที่มองจากเบื้องบน หรือลาวาที่ไหลลงจากปล่องภูเขาไฟที่เดือดปะทุ ทุก อย่างล้วนให้ความรู้สึกถึงความเคลื่อนไหว แต่การแปรเปลี่ยนสิ่งที่ได้จากการสังเกตความเคลื่อนไหวในธรรมชาติให้กลายเป็นแนวคิดที่นำมาใช้กับวัตถุที่ มนุษย์สร้างขึ้นอย่างรถยนต์นั้นทำให้เราค้นพบความตื่นเต้นเร้าใจและความคิดสร้างสรรค์ที่แนวคิดในการออกแบบสื่อออกมา ซึ่งนี่เองที่ทำให้เราสามารถ สร้างสรรค์ดีไซน์ใหม่ ๆ อันมีเอกลักษณ์โดดเด่นและแตกต่างได้อย่างต่อเนื่อง รถยนต์ต้นแบบรุ่นแรกที่ใช้แนวคิดใหม่นี้คือ มาสด้านากาเร่ ซึ่งหัวหน้าทีมออกแบบในสหรัฐอเมริกา ฟรานส์ วอน โฮลซ์ฮาวเซ่น ให้ความเห็นว่า เป็นผลสะท้อนถึงแนวคิด Flow Design ได้อย่างสมบูรณ์แบบ หลังจากนั้น มาสด้า เรียวกะ ที่ออกแบบโดยศูนย์การออกแบบของมาสด้าที่ฮิโรชิม่าก็ออกตามมาติดๆ ด้วยรูปลักษณ์ที่สะท้อนความงามของความ เคลื่อนไหวทั้งที่เกิดตามธรรมชาติและเกิดจากการควบคุมโดยมนุษย์ ซึ่งหัวหน้าทีมออกแบบ ยาซูชิ นากามูตะ อธิบายว่า “ความท้าทายคือ การรวมเอาดีไซน์ ที่ละเมียดละไม และงามสง่าซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดในด้านความงามแบบลึกลับและภูมิปัญญาของญี่ปุ่นไว้ในรูปทรงที่ไดนามิก” ตัวอย่างที่ชัดเจนของแนวการออกแบบดังกล่าวเห็นได้ที่บริเวณด้านข้างตัวรถ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเส้นสายที่เรียบง่ายแต่แฝงความงาม ละเมียดของก้อนกรวดที่จัดเรียงอย่างตั้งใจในสวนหินคาเระซันซุย ศูนย์การออกแบบมาสด้าที่ยุโรปได้นำเสนอแนวคิดการออกแบบของมาสด้าฮากาเซ ซึ่งไม่เพียงชี้ให้ถึงเห็นความเป็นไปได้ ในการพัฒนารถยนต์ครอสโอเวอร์ขนาดเล็กของมาสด้าในอนาคต แต่ยังเป็นแนวคิดที่นำมาใช้จริงได้ หัวหน้าทีมออกแบบ ปีเตอร์ เบิร์ตวิเซิล ได้ พยายามสื่อให้เห็นถึงพลังของสายลมที่พัดวนเวียนอยู่ในเนินทราย ทั้งบนพื้นผิวด้านข้างของตัวรถ และการตกแต่งภายใน การใช้ลวดลายที่มีลักษณะคล้ายเนิน ทรายในบริเวณต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกของรถสะท้อนให้เห็นถึงการไหลเวียนและความเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน ผู้เข้าชมงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ในปี 2550 ได้รับความเพลิดเพลินใจจากการชม มาสด้า ไทกิ ซึ่งเป็นรถต้นแบบรุ่นที่ 4 ในซีรี่นี้ รถรุ่นนี้ สร้างสรรค์โดยศูนย์การออกแบบของมาสด้าที่โยโกฮาม่า โดยมี ยามาดะ อัตซูฮิโกะ เป็นหัวหน้าทีม มาสด้า ไทกิ สะท้อนให้เห็นทิศทางของการออกแบบและ เทคโนโลยีที่รองรับแนวคิด “ซูม ซูม อย่างยั่งยืน” ในอนาคตของมาสด้า ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงความล้ำยุคแห่งโลกอนาคตเพียงแรกเห็น ความเป็นนวัตกรรม ไม่ได้ปรากฏเพียงที่การออกแบบรูปลักษณ์ แต่ยังรวมไปถึงความสวยงามที่แฝงประโยชน์ใช้สอยที่เหนือกว่าเดิม และประสิทธิภาพในด้านแอโรไดนามิกที่โดดเด่น ความเพลิดเพลินในการขับขี่ภายในห้องโดยสารที่เป็นเสมือนงานศิลปะนั้นเป็นการสร้างสมดุลระหว่างประสบการณ์แบบในการขับขี่แบบ ซูม ซูม และความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มาสด้า ไทกิ คือรูปลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบของรถสปอร์ตในอนาคตของมาสด้า หลังจากการเปิดตัวมาสด้า นากาเร่ ในงานลอสแองเจอลีสออโต้โชว์ การเปลี่ยนจากซีกโลกตะวันตกมาสู่ซีกโลกตะวันออกในการเผยโฉมมาสด้า ไทกิ ที่ โตเกียว พร้อม ๆ ไปกับการมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบ คือการเดินทางค้นหาแนวทางในการออกแบบของมาสด้า แม้กระนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราได้ เดินทางมาถึงเป้าหมายแล้ว แต่ในทางตรงกันข้าม นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นครั้งใหม่ของวิวัฒนาการทางการออกแบบที่ไม่หยุดยั้งของมาสด้า ลอเรนส์ แวน เดน แอคเกอร์ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายออกแบบ แนวคิดของมาสด้า ไทกิ มุ่งสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน มาสด้า ไทกิ สะท้อนให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนอันหนึ่งของรถสปอร์ตมาสด้าในอนาคตซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเสริมสร้างสังคมที่ยั่งยืน โดย เป็นรถยนต์รุ่นที่ 4 ในดีไซน์ซีรี่ของนากาเร่ซึ่งนำธีมเกี่ยวกับ “ความเคลื่อนไหว” มาขยายผลเพื่อสร้างรูปลักษณ์ใหม่ที่ชวนตื่นตาและเกิดความแตกต่าง ไปจากรุ่นเดิม ๆ อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับสะท้อนให้เห็นภาพของชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า “ไทกิ” ในภาษาญี่ปุ่น ที่มา ของชื่อนั่นเอง ระบบขับเคลื่อนอาศัยขุมพลังจากเครื่องยนต์โรตารี่อันขึ้นชื่อของมาสด้าที่มาพร้อมเทคโนโลยี RENESIS อันล้ำสมัยจากมาสด้า ซึ่งสร้าง มาตรฐานใหม่ทั้งในด้านประสิทธิภาพการขับขี่และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยวางเครื่องยนต์ด้านหน้าและขับเคลื่อนล้อหลัง ที่นั่งโดยสารสองที่จัด วางในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ ที่สร้างความรู้สึกโปร่งเบายิ่งขึ้นให้กับตัวรถ ผลลัพธ์จากธีมในการดีไซน์ยังช่วยเสริมสร้าง ความคล่องตัวตามหลักอากาศพลศาสตร์อย่างเหนือชั้น แนวคิดการออกแบบจาก “ความเคลื่อนไหวของอากาศ” นี่คือวิวัฒนาการของดีไซน์แบบนากาเร่ ด้วยรูปทรงของยานยนต์ที่ขับเคลื่อนไปอย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ยาน ยนต์สปอร์ตระดับตำนานของมาสด้าด้วยเทคโนโลยี RENESIS อันล้ำสมัย ในการผสานแนวคิดเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์ดีไซน์ที่คู่ควรกับความเป็นยาน ยนต์ในตระกูลนากาเร่ หัวหน้าทีมออกแบบ อัตซูฮิโกะ ยามาดะ ได้นำเสนอวัตถุประสงค์ในการออกแบบเพียงสั้นๆ ว่า “ดีไซน์ที่สะท้อนให้เห็นภาพความ เคลื่อนไหวของอากาศ” “รถยนต์ต้นแบบในซีรี่นากาเระ 3 รุ่นก่อนหน้านี้ต่างก็อาศัยแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น ความเคลื่อนไหวของสายน้ำ หรือลวดลายพื้นผิวของ เนินทรายที่เกิดจากกระแสลม ในทางตรงกันข้าม เราต้องการรถยนต์ต้นแบบสำหรับงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ที่สื่อให้เห็นถึงความงามและพลังของธรรมชาติ ควบคู่ กับการเน้นให้เห็นความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของสิ่งแวดล้อม เราจึงใช้แนวคิดของอากาศที่ห่อหุ้มโลก และดีไซน์แบบนากาเร่เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสิ่ง เหล่านี้ ซึ่งโดยปกติเป็นสิ่งที่เราคงไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยสายตา” หัวหน้าทีมออกแบบ อัตซูฮิโกะ ยามาดะกล่าวสรุป และจากความหมายที่สื่อได้จากชื่อของรถรุ่นนี้ ดีไซน์อันล้ำยุคของมาสด้า ไทกิ ยังเกิดจากความมุ่งมั่นของมาสด้าในการผลิตรถยนต์ที่มีส่วน ช่วยสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืน รูปลักษณ์ภายนอกแบบฮาโกโรโมะ เสื้อคลุมที่โบกสะบัดตามสายลม โจทย์ท้าทายในการสร้างสรรค์ “ดีไซน์ที่สื่อถึงความเคลื่อนไหวของอากาศ" ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของ ฮาโกโรโมะ เสื้อคลุมที่ช่วยให้เด็ก สาวผู้สวมใส่บินลอยบนท้องฟ้าได้ในนิทานญี่ปุ่น นอกจากการสเก็ตช์ภาพต่างๆ ขึ้นมามากมายเพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมที่สุด ทีมนักออกแบบยังได้ลองใช้ เทคนิคแปลกใหม่ เช่น นำเสื้อคลุมไปจุ่มในปูนปลาสเตอร์แล้วนำไปตากในที่มีลมโกรกเพื่อสังเกตความเคลื่อนไหวของอากาศที่ไหลผ่านเสื้อคลุมที่อยู่ในสภาพ แข็งตัว ทำให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมในการออกแบบเป็นรูปลักษณ์ที่พลิ้วไหวและเส้นสายของความเคลื่อนไหวที่จับใจและสร้างจิตนาการให้แก่ผู้พบเห็น สัดส่วนพื้นฐานของรถเริ่มจากรูปทรงของรถคูเป้ที่ขยายความยาวให้มากขึ้น โดยวางเครื่องยนต์ด้านหน้า ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง โอเวอร์แฮง สั้น พร้อมบอดี้กระจกใสรอบคันให้ความรู้สึกโปร่งเบา ซึ่งผสานกันเพื่อสื่อให้เห็นถึงความกลมกลืนของความสง่างามและความเป็นรถสปอร์ต จินตนาการถึงภาพ ของชายเสื้อคลุมฮาโกโรโมะหลายๆ ชั้นที่โบกสะบัดจากบังโคลนหน้าไปตามแนวด้านข้างตัวรถ ผืนผ้าที่ห่อหุ้มภายใต้ตัวรถและพลิกเปิดออกอย่างสวยงามที่ บริเวณท้ายรถ ความรู้สึกพลิ้วไหวของฮาโกโรโมะยังเห็นได้จากกระโปรงหน้า เส้นกรอบจากหน้ารถถึงประตูหน้า พาดผ่านไปจนถึงบังโคลนท้ายดีไซน์แปลกตา เป็น เส้นโค้งที่สวยสะดุดตาไปจนจรดกระโปรงท้ายรถ เส้นสายที่พลิ้วไหวทั้งช่วงบนและช่วงล่างไม่เพียงแต่สื่อถึงภาพความเคลื่อนไหวของอากาศ แต่ยังช่วยลด ปริมาตรของตัวรถ ทำให้รถมีรูปทรงที่ปราดเปรียว พร้อมกับสร้างความรู้สึกเหมือนล่องลอยไปในอากาศ สีเงิน Ozonic Silver ที่ผลิตขึ้นเพื่อรถรุ่นนี้โดย เฉพาะยังช่วยเติมความพลิ้วไหวให้เด่นชัดยิ่งขึ้น แผงประตูหน้าที่เปิดกว้างออกสู่ด้านหน้ารถเปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของกระแสลมที่เร่งกำลังขึ้นซึ่ง ผู้ออกแบบได้สัมผัสจากการทดสอบในอุโมงค์ลม ประสิทธิภาพด้านแอโรไดนามิกอันโดดเด่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านลม 0.25 และแรงยกเป็นศูนย์ ทีมนักออกแบบพยายามสร้างรถให้มีประสิทธิภาพด้านแอโรไดนามิกสูงโดยผสานการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เมื่อมองจากมุมสูง ความ กว้างของมาสด้าไทกิถูกลดทอนลงจากหน้ารถจรดท้ายรถ เมื่อมองจากด้านข้าง จะเห็นเส้นสายที่กลมกลืนข้างใต้รถที่พาดขึ้นบริเวณท้ายรถอย่างสวยงาม ด้วย ความปรารถนาที่จะสื่อให้เห็นภาพความเคลื่อนไหวของอากาศ มีการทดสอบอุโมงค์ลมเพื่อพิสูจน์ความเป็นเลิศของคุณสมบัติด้านแอโรไดนามิกที่ได้จากการ ออกแบบ รูปทรงที่สะดุดตารอบ ๆ ล้อหลัง ซึ่งเหนี่ยวนำให้อากาศสามารถเคลื่อนจากบังโคลนหน้าสู่ท้ายรถผ่าน “อุโมงค์” ที่อยู่ระหว่างตัวถังรถและบัง โคลนท้ายรถ ยังเป็นการสร้างแรงกดอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ศักยภาพด้านแอโรไดนามิกที่สูงอยู่แล้วจากรูปทรงดั้งเดิมยังได้รับการปรับแต่งให้ดียิ่ง ขึ้น ผลที่ได้ก็คือค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านลมเพียง 0.25 และแรงยกเป็นศูนย์ รายละเอียดที่สะท้อนภาพความเคลื่อนไหวของอากาศ แสงสว่างแห่งความเคลื่อนไหว บริเวณขอบของซี่กระจังหน้ามีการติดตั้งแนวแผงไฟ LED ขนาดเล็กเข้าไป ไฟท้ายและไฟเลี้ยวข้างประตูใช้เทคโนโลยีพิเศษของมาสด้าซึ่งดูเผิน ๆ เหมือนมีแสงในตัว แต่แสงไฟจะปรากฏขึ้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนขณะใช้งาน คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้รถคันนี้ดูเหมือนอากาศที่เคลื่อนไปข้างหน้ากำลังกลาย สภาพเป็นเส้นแสงที่เห็นได้อย่างชัดเจนด้วยสายตา การออกแบบลวดลายดอกยางและล้อ ด้วยความร่วมมือกับนักออกแบบและวิศวกรด้านยางรถยนต์ ทำให้ได้ยางขนาด 22 นิ้วของมาสด้า ไทกิ ซึ่งเป็นขนาดที่มีสมบัติเชิงพลวัตสูง ลวดลาย สะดุดตาที่ดูเหมือนเส้นสายที่ไหลเวียนไปมา ดีไซน์ของใบล้อกังหันได้แรงบันดาลใจจากใบพัดพัดลมเทอร์โบของเครื่องยนต์เจ็ต ซึ่งพัฒนาขึ้นจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับวิศวกรด้านล้อรถยนต์เพื่อสร้างสรรค์ดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ (ด้วยความร่วมมือกับ The Yokohama Rubber Co., Ltd. และ Enkei Corporation) การออกแบบภายในแบบโคอิโนโบริ ด้วยแรงบันดาลใจจาก โคอิโนโบริ หรือธงรูปปลาคาร์ฟที่กำลังว่ายทวนน้ำที่โบกสะบัดบนท้องฟ้าของญี่ปุ่นในช่วงเดือนพฤษภาคม แนวคิดแบบท่อ อากาศ (air-tube) จึงถูกใช้เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบภายใน รายละเอียดทุกอย่างตั้งแต่แผงหน้าปัด ที่นั่ง ไปจนถึงแผงประตูต่างให้ความรู้สึกที่ เคลื่อนไหวได้ราวกับเส้นสายของลมที่กำลังพัดผ่านไปมา ขณะเดียวกัน ทีมออกแบบยังได้สร้างบรรยากาศภายในห้องโดยสารที่แตกต่างกันสองแบบด้วยสีสันและวัสดุที่ใช้ตกแต่ง โดยแบ่งครึ่งหนึ่งเป็นสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นสีดำ เส้นสายของดีไซน์ที่เด่นชัดยังสื่อถึงความกระฉับกระเฉงหากแฝงความนุ่มนวลอยู่ในที ห้องโดยสารด้านคนขับ โดดเด่นด้วยเส้นสายคดโค้งตั้งแต่แผงหน้าปัดไปจนจรดเบาะที่นั่ง พนักพิงและพนักรองศีรษะที่แยกเป็นอิสระจากกันสื่อถึงความรู้สึก เคลื่อนไหวของสายลมอ่อน ๆที่พัดผ่านไปมา เส้นขอบสีดำช่วยเสริมสร้างบรรยากาศให้คนขับมีสมาธิในการขับขี่ได้ดียิ่งขึ้น ด้านที่นั่งฝั่งผู้โดยสารให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลาย ด้วยเก้าอี้นั่งแบบเลานจ์แชร์ พร้อมพื้นที่วางขากว้างเป็นพิเศษ แต่งด้วยโทนสีขาว เพื่อให้บรรยากาศที่กว้างขวาง เหมาะสำหรับเป็นที่นั่งสำหรับผู้โดยสารอย่างแท้จริง แนวคิดในการออกแบบยังต้องการมุ่งสร้างรูปใหม่สำหรับห้องโดยสารรถสปอร์ต ชั้นวางของที่คั่นกลางระหว่างที่นั่งคนขับและผู้โดยสารยังสามารถ ปรับใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย รายละเอียดภายในที่เน้นให้เห็นถึงความเคลื่อนไหว การออกแบบห้องโดยสารพยายามหลีกเลี่ยงการใช้รูปทรงสมมาตรและไม่ยึดติดกับหลักการออกแบบใด ๆ แต่ละส่วนล้วนสื่อถึงสายลมที่เคลื่อนไหว สร้าง ความรู้สึกโปร่งเบา และให้บรรยากาศที่มีชีวิตชีวา ราวกับอยู่ในความฝัน ความงามของโครงสร้างที่ให้อารมณ์ความรู้สึก หลังคาโปร่งใสรูปหยดน้ำเหนือห้องโดยสารรับน้ำหนักด้วยโครงเสาเส้นสายโค้งมนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างตัวถังรถ แนวการออกแบบนี้ยังนำ ไปใช้กับแกนพวงมาลัยและโครงที่นั่งของคนขับ และเพื่อให้เห็นถึงเส้นสายที่สวยงามของโครงที่นั่งคนขับ เบาะนั่งและพนักพิงจึงทำด้วยพลาสติกซิลิโคนอี ลาสติกโปร่งใส ศิลปะการเขียนตัวอักษรแบบเซน บนเบาะหนังแท้สีดำและขาวภายในตัวรถประดับด้วยลายพิมพ์เส้นสายที่อ่อนช้อยของตัวอักษรเขียนมือซึ่งใช้สีประกายเมทัลลิก เทคนิคใหม่นี้พัฒนา โดยอาศัยความร่วมมือกับนักออกแบบลายผ้า ช่วยให้ศิลปินสามารถสร้างสรรค์ลายเส้นที่สื่อถึงความเคลื่อนไหวของสายลมผ่านฝีแปรงได้ ลายเส้นต่าง ๆ ที่พาด ผ่านหน้าปัดรถและที่นั่งช่วยขับเน้นความรู้สึกของความเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน พื้นผิวของวัสดุยังผ่านการเคลือบโดยใช้ขั้นตอนพิเศษที่พัฒนาขึ้น สำหรับมาสด้าโดยเฉพาะ (ด้วยความร่วมมือกับ NUNO Corporation) มาตรอัตรารอบที่แสดงจังหวะของเครื่องยนต์โรตารี่ ที่บริเวณขอบของหน้าปัด รอบพวงมาลัย ตลอดจนรอบที่นั่งคนขับ จะมีแถบไฟ LED ซึ่งทำหน้าที่เป็นมาตรอัตรารอบ ซึ่งเส้นไฟสีแดงที่วิ่งขึ้นจาก ด้านข้างที่นั่งคนขับสู่ด้านหน้าตัวรถนี้จะแสดงสถานะของรอบเครื่องยนต์ นับเป็นการตอบสนองทางสายตาซึ่งสะท้อนถึงอารมณ์ในการขับขี่ได้อย่างดี เทคโนโลยี human-machine interface (HMI) อันล้ำยุค เพื่อประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยที่ก้าวล้ำไปอีกขั้น มาสด้าได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยี HMI ซึ่งจะช่วยให้คนขับและเครื่องยนต์สามารถสื่อสาร กันได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยแบบ active ที่ล้ำสมัยต่าง ๆ โดยสวิตช์ควบคุมระบบต่างๆ เหล่านี้จะติดตั้ง อยู่ที่พวงมาลัยเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ในการควบคุมทุกอย่างโดยไม่ต้องละมือจากพวงมาลัย นอกจากนั้น จอแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ ก็ปรากฏอยู่ที่ บริเวณพวงมาลัยเช่นกัน ข้อมูลทางเทคนิคของมาสด้าไทกิ ขนาดตัวรถ ความยาวรวม 4620 มม. ความกว้างรวม 1950 มม. ความสูงรวม 1240 มม. ฐานล้อ 3000 มม. ความจุผู้โดยสาร 2 ที่นั่ง เครื่องยนต์ ประเภท RENESIS เจเนอเรชั่นใหม่ ระบบเกียร์ ประเภท dry twin clutch 7-speed ช่วงล่าง (หน้า/ท้าย) ประเภท double wishbone ยาง ประเภท 195/40R22 YOKOHAMA ADVAN Super-E spec PROTOTYPE 007 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโตเกียวมอเตอร์โชว์+มอเตอร์โชว์วันนี้

ลีสซิ่งกสิกรไทยจัดโปรแรงรับมอเตอร์โชว์ 2023 ครั้งที่ 44 รับโปรโมชั่น 4 ต่อ ชูนวัตกรรมขอสินเชื่อออนไลน์หนุนลูกค้าธนาคารกสิกรไทย สมัครสินเชื่อรถใหม่ อนุมัติง่ายและรวดเร็ว

ลีสซิ่งกสิกรไทย เปิดแคมเปญรับงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44 มอบข้อเสนอให้กับลูกค้าออกรถใหม่ป้ายแดงกับลีสซิ่งกสิกรไทย รับข้อเสนอพิเศษ ลุ้นรับทริปท่องเที่ยวเป็นคู่ ดูโตเกียวมอเตอร์โชว์ มูลค่า 150,000 บาท หรือขับรถเที่ยวไทย พักโรงแรมในเครือ Centara รวมกว่า 100 รางวัล พิเศษสำหรับลูกค้าผู้ซื้อรถไฟฟ้า (BEV) และสมัครสินเชื่อกับลีสซิ่งกสิกรไทย รับดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1.88%-1.99% สำหรับยี่ห้อที่ร่วมแคมเปญกับลีสซิ่งกสิกรไทย และรับสิทธิ์ขับฟรี 90 วัน และเลือกแบ่งจ่ายดาวน์ ฟรีดอกเบี้ย

เอ.พี.ฮอนด้า ชนชวนสัมผัสประสบการณ์สุดเอ็ก... “ฮอนด้า คอลเลคชั่น ฮอลล์” เปิดประสบการณ์สุดเอ็กซ์คูลซีฟ ณ ถิ่นกำเนิดแบรนด์สองล้อระดับโลก — เอ.พี.ฮอนด้า ชนชวนสัมผัสประสบการณ์สุดเอ็กซ์คูลซีฟ ถึงถิ่นกำเนิด...

จากจินตนาการสู่โลกที่เป็นจริง กับ รถยนต์ต้นแบบขับอัจฉริยะอัตโนมัติ IDS

ในงาน "โตเกียว มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44" หนึ่งในงานแสดงรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ที่จัดขึ้นที่โตเกียว บิ๊ก ไซท์ ใจกลางกรุงโตเกียว ระหว่าง วันที่ 30 ตุลาคม ถึง 8 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด ...

ภาพข่าว: การเปิดตัวรถครั้งยิ่งใหญ่ของยามาฮ่า

มร.ฮิโรยูกิ ยานากิ ประธาน (คนขวา) บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เป็นประธานเปิดบูธยามาฮ่าอย่างเป็นทางการ ในงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ 2015 ที่ Tokyo Big sight ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนางสาวจินตนา อุดมทรัพย์ (คนกลาง) ผู้จัดการใหญ่ด้านการค้า และ มร.เคทาโระ โฮะริโคะชิ ...

นิสสันยกทัพเทคโนโลยีร่วมโตเกียวมอเตอร์โชว์ 2015 “ยานยนต์ยุคดิจิทัล” จากจินตนาการสู่โลกที่เป็นจริง

บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด เปิดตัวนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายใต้วิสัยทัศน์ "ยานยนต์แห่งยุคดิจิทัล" ในงาน "โตเกียว มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44" หนึ่งในงานแสดงรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ระหว่าง วันที่ 30...

ภาพข่าว: ยามาฮ่านำทีมผู้ชนะการประกวดตกแต่ง ฟีโน่ หัวฉีด ดูงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43

นายวราธร เจนจรัสสกุล ผู้จัดการส่วนกิจกรรมการตลาด และประชาสัมพันธ์ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด (คนที่ 3 จากซ้าย) นำคณะเดินทางจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นทีมที่ชนะการประกวดในกิจกรรมออกแบบอุปกรณ์ตกแต่งฟี...