สช. ท้วง กม.วัตถุอันตราย ประชาชนไม่ได้ประโยชน์

กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--สช.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดประชุมเพื่อขอความเห็นกรณีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอแก้ไข พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ….. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการจากกรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานการเกษตรและอาหารแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ฝ่ายเลขานุการแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก มูลนิธิสาธารณสุขเพื่อการพัฒนา มูลนิธิการศึกษาไทย กลุ่มรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม มูลนิธินโยบายสุขภาวะ และมูลนิธิสายใยแผ่นดิน มีความเห็นพ้องให้ สช. ทำหนังสือแสดงความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะเหตุผลการแก้ไขกฎหมายนี้ไม่ชัดเจน และไม่แสดงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับปรุงแต่อย่างใด นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า มีหลายประเด็นไม่ควรแก้กลับมีการแก้ไข อย่างการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถผลิต นำเข้า หรือมีวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งมีพิษร้ายแรงไว้ในครอบครองได้ ทั้งที่ผ่านมาห้ามนำเข้ายังมีเล็ดลอดเข้ามาได้ กรณีอย่างนี้เป็นการเพิ่มภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนโดยไม่จำเป็น ทั้งๆ ที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ที่เห็นชอบข้อเสนอของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพประเด็นอาหารและเกษตรเพื่อสุขภาพ ที่ว่า ให้กำหนดหลักเกณฑ์ และกระบวนการควบคุมการโฆษณา และการขายตรงสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในลักษณะข้อบังคับทางกฎหมาย เพราะจากการศึกษาเรื่องระบบการตลาดสารเคมี พบว่ามีการโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวางในสื่อทั้งวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ โดยเน้นในพื้นที่ที่ทำการเกษตรเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการขายตรงและการส่งเสริมการขาย เช่น การลดราคา การแจกหรือแถม การชิงโชค การขายพ่วงกับเมล็ดพันธุ์ การจัดเลี้ยง เป็นต้น ทำให้ปัจจุบันนี้เม็ดเงินที่เรานำเข้าสารเคมีทางการเกษตรมากกว่ารายได้จากการขายข้าวเสียอีก และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นปริมาณสารเคมีที่ฉีดพ่นลงบนแผ่นดินไทยในแต่ละปีนั้นมีปริมาณมหาศาล ทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับสารพิษเหล่านี้กันไปโดยถ้วนหน้า แต่ข้อเสนอดังกล่าวกลับไม่ได้มีการแก้ไขใน พ.ร.บ.วัตถุอันตรายครั้งนี้ให้ชัดเจนและสามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะ มาตรา 51 ระบุว่าการควบคุมโฆษณาวัตถุอันตรายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโฆษณาให้ถือว่าวัตถุอันตรายที่มีการกำหนดฉลาก เป็นสินค้าที่มีการควบคุมโดยคณะกรรมการควบคุมฉลากตามกฎหมาย แต่ปรากฏว่าในมาตราดังกล่าวไม่เคยมีการบังคับใช้เลย เพราะเจ้าหน้าที่ที่ดูแลกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ชำนาญในการเรื่องเฉพาะเช่นนี้ ทำให้เกิดช่องว่างในการควบคุมการโฆษณาวัตถุอันตราย “ ผมมองว่าการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะกฎหมายที่เขียนมานานแล้วอาจจะไม่สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไป แต่การแก้ไขควรคำนึงผลกระทบอย่างรอบด้าน และรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้น สช.จะทำหน้าที่ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เพื่อรับฟังความเห็นต่อการแก้ไข พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนช่วยกันคิด ช่วยกันมองอย่างรอบด้าน ผมคิดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากสำหรับการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ” นพ.อำพล กล่าว ด้านนางสาวทัศนีย์ วีระกันต์ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เสนอว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการวัตถุอันตรายในมาตรา 6 มีการแก้ไขแต่เฉพาะองค์ประกอบในสัดส่วนของภาครัฐ แต่เดิมองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดนี้มีภาคประชาชนอยู่เพียง 2 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการสะท้อนปัญหาอันเกิดจากผลกระทบจากการใช้วัตถุอันตราย และความเห็นจากการปฏิบัติจริงอย่างรอบด้าน ดังนั้นควรเพิ่มจำนวนผู้แทนองค์การสาธารณะประโยชน์อีกอย่างน้อย 3 คนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ ผู้แทนด้านคุ้มครองผู้บริโภค เกษตรธรรมชาติ และคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ จะทำให้คณะกรรมการฯชุดนี้มีสัดส่วนที่ดีขึ้นแม้จะยังไม่สมดุล และผู้ที่แก้ กม.นี้น่าจะคำนึงถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ที่เห็นชอบข้อเสนอของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ว่าให้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไข กม.วัตถุอันตรายครั้งนี้แล้วก็ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวัตถุอันตรายตลอดทั้งกระบวนการ ไม่ใช่เพียงบริหารจัดการของเสีย หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น ผู้ประสานงานข่าว : พลินี เสริมสินสิริ 02-590-2307 089-775-9281 , ภรนภา เหมปาละ 02-590-2483

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ+สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขวันนี้

สวรส. หนุนวิจัยพัฒนาระบบสุขภาพคนกรุง

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในนามคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 13 กทม. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในพื้นที่ กทม. และระดมความเห็นถึงแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่ กทม. โดยมี นายทวีศักดิ์

เมื่อวันที่ 17 ต.ค.59 ที่บริเวณชั้น 1 อาค... สวรส. สช. สรพ. ร่วมถวายความอาลัย และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ — เมื่อวันที่ 17 ต.ค.59 ที่บริเวณชั้น 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ประกอบด้...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเวที... สวรส. เปิดเวทีประชาพิจารณ์แผน 5 ปี รับคลื่นยักษ์ 3 ลูกใหญ่ระบบสุขภาพ — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ สวรส...

ข้อมูลจากงานวิจัย “ทบทวนสถานการณ์การส่งเส... ฟื้น “แพทย์แผนไทย” เติมเต็มระบบสุขภาพ งานประชุม “วิจัย...เปลี่ยนชีวิต” มีคำตอบ!! — ข้อมูลจากงานวิจัย “ทบทวนสถานการณ์การส่งเสริมการใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้อง...

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นเจ้า... สวรส.เป็นเจ้าภาพประชุม 15 หน่วยงาน พรบ.เฉพาะ — สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเชื่อมโยงงาน...

เปิด “หอประวัติศาสตร์สุขภาพ” แหล่งเรียนรู้ร่องรอยระบบสุขภาพไทย อันทรงคุณค่า

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคี ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) และ...

ชวนร่วมงานเปิด “หอประวัติศาสตร์สุขภาพ” ย้อนเวลาตามร่องรอยระบบสุขภาพไทย

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคี ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) และ...

สพช.จับมือภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ จัดอบรมการใช้เครื่องมือพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ตั้งเป้าขยาย 600 ตำบลภายใน 3 ปี

สพช.จับมือภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ จัดอบรมการใช้เครื่องมือพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ตั้งเป้าขยาย 600 ตำบลภายใน 3 ปี สร้างชุมชนจัดการสุขภาพตนเองได้ ยก “เมืองแก” เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ ด้าน “นพ...

เร่งเสนอคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพวางยุทธศาสตร์ผลิต 'แพทย์ครอบครัว' ป้อนชุมชนทั่วประเทศ แนะรัฐประกาศนโยบายปฐมภูมิที่จับต้องได้ พัฒนาคุณภาพบริการเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน

เตรียมเสนอคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ จัดทำยุทธศาสตร์ขยายแพทย์ครอบครัวให้บริการในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ...

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เชิญร่วมพิธีเปิด งานมหกรรมสมุนไพร ครั้งที่ 6

กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา...