การจัดสรรเงินออมอย่างไรให้เหมาะกับตนเอง

กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--กบข.

เมื่อวันก่อนได้ฟังการบรรยายซึ่งจัดโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกนโยบายการลงทุนของตนเองได้ กล่าวโดยย่อ ๆ ว่า กองทุนต่าง ๆ มีหน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือ หน้าที่ในการสื่อสารและทำความเข้าใจกับเจ้าของเงินว่า เงินลงทุนที่เก็บออมไว้เป็นเงินลงทุนในระยะยาว long Term Investment ซึ่งถ้าพูดให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ก็คือวันนี้ทำงานมีเงินเดือน แบ่งเงินส่วนหนึ่งไปออมและลงทุนเพื่อให้มีเงินไว้ใช้เลี้ยงดูตนเองในยามเกษียณ ถ้าตอนนี้เราอายุ 30 ปี ก็เท่ากับว่าเงินที่จะเก็บออมและบริหารให้งอกเงยนั้นเป็นเงิน ลงทุนในระยะยาวอีก 30 ปีถึงจะใช้เงินนั้นได้ โดยระหว่างทางเราต้องทำความเข้าใจกับนโยบายการลงทุนของกองทุนของเรา และเมื่อถึงวันหนึ่งที่เราเข้าใจหลักการของการลงทุนแล้วเราก็อาจก้าวต่อไปเป็นการ “การเลือกนโยบายการลงทุนด้วยตนเอง” หรือ Investment Choices เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้มากขึ้น ปัจจัยอย่างแรกที่วันนี้จะกล่าวถึง ก่อนจะตัดสินใจว่าจะไปลงทุนในตราสารประเภทใดบ้าง ก็คือ " การรู้จักจัดสรรเงินออม " เพื่อให้การตัดสินใจลงทุนเป็นไปตามที่วางแผนไว้ ประการแรก สำรวจความต้องการใช้เงินของตนเอง หรือการวางแผนการใช้จ่ายส่วนบุคคล ทั้งระยะยาว และระยะสั้น เพื่อให้ทราบว่าเงินออมส่วนใดกั้นเป็นเงินค่าใช้จ่ายในอนาคต และเงินออมส่วนใดเป็นเงินสำหรับการลงทุน ประการที่สอง สำรวจตนเองว่ายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะ ถึงแม้จะมีอายุในช่วงเริ่มต้นทำงาน หรือช่วงสร้างฐานะครอบครัว สามารถจัดสรรเงินลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงได้มาก แต่เมื่อนำเงินไปลงทุนแล้ว เกิดความไม่สบายใจ ความเครียด และยอมรับความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับเงินลงทุนไม่ได้ อาทิ การสูญเสียเงินต้นที่ลงทุนทั้งจำนวนหรือบางส่วน บุคคลผู้นั้นก็ควรพิจารณาการยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ประการที่สาม วางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับระยะเวลาการใช้เงิน เพื่อให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเป็นไปตามที่ต้องการ อาทิ หากท่านมีอายุ 56 ปี และมีเงินออมอยู่ก้อนหนึ่ง ท่านก็ควรบริหารเงินออมก้อนนี้ในการลงทุนระยะสั้น เช่น การซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น เนื่องจากท่านมีระยะเวลาการลงทุนอีกเพียง 4 ปี ก่อนที่จะเกษียณอายุการทำงาน ( 60 ปี ) เท่านั้น ประการที่สี่ วางแผนการเงินยามเกษียณ สมาชิกจำเป็นต้องคำนึงถึงสถานการณ์ด้านการเงินทั้งหมดในช่วงเกษียณว่า มีเป้าหมายอย่างไร เงินสำรองยามเจ็บไข้ ภาระหนี้สินต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ท่านวางแผนการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเพียงพอ สำหรับยามเกษียณ ถึงตอนนี้ ก็ลองสำรวจและวางแผนการเงินส่วนบุคคล เพื่อจะได้มั่นใจว่าเงินออมที่มีอยู่ จะนำไปลงทุนในลักษณะใดจึงจะเหมาะสมกับตัวท่านเองมากที่สุด สำคัญที่สุดคือ " อายุสูงขึ้น ความเสี่ยงที่จะนำเงินไปลงทุนต้องลดลงเสมอ " ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2547 คอลัมน์ Financial Planing โดย คุณอมฤดา สุวรรณจินดา.--จบ-- --อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวสถาบันการเงินต่างประเทศ+สถาบันการเงินต่างวันนี้

Hattha Bank ประสบความความสำเร็จในการขายหุ้นกู้สกุลเงินบาทอีกครั้ง

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ร่วมกับ Hattha Bank สถาบันการเงินชั้นนำของเครือกรุงศรีในประเทศกัมพูชา ประกาศความสำเร็จอีกครั้งกับการเสนอขายตราสารหนี้สกุลเงินบาทโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยมีมูลค่าเสนอขาย 1,300 ล้านบาท อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2569 ถือเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการขยายโอกาสทางการเงินและธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในตลาดภูมิภาคอาเซียน สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ธุรกิจ

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน... กรุงศรีฉลองความสำเร็จ ดัน Hattha Bank บุกตลาดหุ้นกู้เมืองไทยเปิดขายบาทบอนด์ครั้งแรก — กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศของสถาบันการเงินไทยที่ไม่ใช่ธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ 3 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทหลักทรัพย์ไทย 3 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiary) ของสถาบันการเงินต่างประเทศดังนี้ -บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส ซี...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศของ 5 สถาบันการเงินไทยที่ไม่ใช่ธนาคารซึ่งเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ และประกาศเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบสำหรับ บล.โนมูระพัฒนสิน

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารในประเทศไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูก ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ 5 สถาบันการเงินไทยที่มิใช่ธนาคารซึ่งเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารในประเทศไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiary) ของสถาบันการเงินต่างประเทศดังนี้ -บริษัท อีซี่ บาย จำกัด ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 6 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 6 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiary) ของสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยธนาคารและสถาบันการเงินที่ได้รับการคงอันดับ...

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกร... ภาพข่าว: รมว.คลังประชุมหารือทวิภาคีกับผู้แทนสถาบันการเงินต่างประเทศ — นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารโ...

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกร... ภาพข่าว: รมว.คลังประชุมหารือทวิภาคีกับผู้แทนองค์การระหว่างประเทศและสถาบันการเงินต่างประเทศ — นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียเหนือ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 5 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiaries) ของสถาบันการเงินต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียเหนือ ...