กบข. ประกาศผลประโยชน์สุทธิไตรมาสที่ 2/2546

กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--กบข. กบข. ประกาศตัวเลขผลตอบแทนการลงทุนสะสม 12 เดือน (กรกฎาคม 2545 - มิถุนายน 2546) เท่ากับร้อยละ 10.42 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนจากเงินฝากประจำ 1 ปีของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคารเฉลี่ยร้อยละ 2.18 และอัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ร้อยละ 1.34 (อัตราผลตอบแทนถ้ารวมเงินสำรองจะเป็น 10.77%) นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. แถลงถึงผลประกอบการและผลประโยชน์สุทธิ ณ ไตรมาสที่ 2/2546 ดังนี้ "ผลตอบแทนการลงทุนสุทธิในไตรมาสสองของปีนี้ (เมษายน - มิถุนายน 2546) ประมาณ 8,544.36 ล้านบาท ผลตอบแทน 6 เดือน (มกราคม - มิถุนายน 2546) 12,146.58 ล้านบาท จากสินทรัพย์สุทธิตามมูลค่ายุติธรรม ณ 30 มิถุนายน 2546 จำนวนทั้งสิ้น 215,597.44 ล้านบาท โดยประกอบด้วยเงินกองกลาง เงินรายบุคคลและผลประโยชน์ จำนวน 197,645.20 ล้านบาท เงินสำรองและผลประโยชน์ จำนวน 17,952.24 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนการลงทุนแยกตามประเภทตราสาร โดยประกอบด้วยตราสารหนี้ร้อยละ 87 ตราสารทุนร้อยละ 10 และอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 3 และหากพิจารณาอัตราผลตอบแทนสุทธิ สะสมย้อนหลัง 12 เดือน (ตั้งแต่กรกฎาคม 2545 - มิถุนายน 2546) อยู่ที่ ร้อยละ 10.42 " สำหรับผลประโยชน์สุทธิที่สมาชิกได้รับเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง นับตั้งแต่กรกฎาคม 2541 - มิถุนายน 2546 อยู่ที่ร้อยละ 9.37 ต่อปี เป็นผลจากกระบวนการลงทุนที่มีการจัดสรรการลงทุน การวิเคราะห์และติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ ซึ่งถือว่า กบข. บรรลุเป้าหมายในการบริหารเงินออมระยะยาวของสมาชิก อนึ่งแนวโน้มการลงทุนของ กบข.ในครึ่งปีหลังนั้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในเกณฑ์ต่ำภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กบข. จึงต้องกระจายการลงทุน โดยหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูง ในส่วนของตราสารหนี้นั้นยังคงเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง ประเภทพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน ต่อไป และลงทุนในตราสารหนี้ธุรกิจภาคเอกชนที่มีลำดับความน่าเชื่อถือที่ดี นอกจากนี้คงเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสูงขึ้นตามสภาวะของตลาดโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ร้อยละ 12 แต่จะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัย พื้นฐานดี มีการบริหารจัดการ องค์กรที่ดี และหุ้นที่ให้เงินปันผลดี. เรื่องน่ารู้จาก กบข. สมาชิก กบข. สามารถทดลองคำนวณเงินที่จะได้รับเมื่อพ้นสมาชิกภาพได้ 1. เข้าที่เว็บไซต์ กบข. www.gpf.or.th - เข้าไปที่ คำนวณเงิน เลือกหัวข้อ คำนวณเงินเมื่อพ้นสมาชิกภาพหรือทดลองคำนวณเงินได้ที่ http://www.gpf.or.th/smart_theme/calc.asp - ใส่ข้อมูล เดือนที่ใช้ในการคำนวณ วัน /เดือน /ปี เกิด วัน เดือน ปี ที่บรรจุเข้ารับราชการ และเงินเดือน ณ วันสมัครสมาชิก กบข. ทั้งนี้ การคำนวณดังกล่าวเป็นผลการคำนวณโดยประมาณเป็นรายปี และมีสมมติฐาน คือ มีการปรับเงินเดือน 5% ทุก ๆ เดือนตุลาคมของทุกปี อัตราผลตอบแทนคิดร้อยละ 5% ต่อปี 2. ติดต่อผ่านศูนย์บริการข้อมูลสมาชิก กบข. โทร 1179 และ กด 2 เพื่อรับบริการคำนวณเงินเมื่อพ้นสมาชิกภาพผ่านทางโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติ โดยเตรียมข้อมูล วัน เดือน ปี เกิด วัน เดือน ปี ที่บรรจุเข้ารับราชการ และเงินเดือน ณ วันสมัครสมาชิก กบข. และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบบแนะนำ หรือ โทร 1179 และ กด 6 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ 3. ส่ง E-mail มาที่ [email protected] โดยแจ้งข้อมูลสมาชิก ดังนี้ - ชื่อ นามสกุล สมาชิก กบข. - หมายเลขประจำตัวสมาชิก (หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน) - วัน / เดือน / ปี เกิด - วัน / เดือน / ปี ที่บรรจุเข้ารับราชการ - เงินเดือน ณ วันสมัครเป็นสมาชิก กบข. โดย - กรณีบรรจุเข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 วันสมัครเข้าเป็นสมาชิก กบข. คือ วันที่ 27 มีนาคม 2540 - กรณีบรรจุเข้ารับราชการหลังวันที่ 27 มีนาคม 2540 วันสมัครเข้าเป็นสมาชิก กบข. คือ วันที่ บรรจุเข้ารับราชการ เก็บมาฝากสมาชิก กบข. ความคืบหน้าการแก้ไข พรบ. กบข. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม.คณะที่ 2 ที่มีนายสมคิด จาตุศรีทักษ์ รองนายกฯ เป็นประธาน มีมติเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่เพิ่มอำนาจ กบข.ให้ กว้างขวางขึ้นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการ และส่งเสริมการออมของสมาชิก ทั้งนี้ ได้เพิ่มอำนาจให้ กบข.จัดตั้งบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการกองทุน และเข้าร่วม กิจการกับหน่วยงานอื่นไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือรัฐ ทั้งในและต่างประเทศ หรือกับองค์กรระหว่างประเทศได้ โดยให้กำหนดคุณสมบัติ และวิธีที่จะไปลงทุนในต่างประเทศเป็นกฎกระทรวง นอกจากนี้ ยังให้สมาชิกส่งเงินสะสมเกินกว่าอัตราขั้นต่ำได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กบข.กำหนด ทั้งให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบให้สมาชิกเท่ากับอัตราเงินสะสมขั้นต่ำในกฎกระทรวง โดย กบข.สามารถบริหารเงินของสมาชิกที่ยังไม่ประสงค์รับคืน หรือรับคืนบางส่วนต่อไปได้ และให้ กบข.จัดทำแผนลงทุนให้สมาชิกเลือกได้ตามความต้องการ ของแต่ละคนภายใต้การยอมรับความเสี่ยงของตัวเอง แต่หากสมาชิกไม่มีความพร้อม กบข.ก็จะนำเงินไปลงทุนตามแนวทางเดิม ทั้งให้เพิ่มเติมกฎหมายในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิม และเงินชดเชยให้แก่สมาชิกเมื่อพ้นจากราชการ และไม่มีสิทธิได้รับบำนาญ หรือมีสิทธิได้รับบำนาญแต่เลือกรับบำเหน็จแทน. (ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม 2546.) หากท่านมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ :- ศูนย์บริการข้อมูลสมาชิกโทร. 1179 กด 6 เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรง หรือ email: [email protected] หรือฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์กบข. ตู้ปณ. 19 ปณฝ. กระทรวงการคลัง กรุงเทพฯ 10411--จบ-- -รก-

ข่าวธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่+วิสิฐ ตันติสุนทรวันนี้

กรุงไทยยันไม่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-ฝาก

กรุงไทยเผยขณะนี้ยังไม่มีนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจฟื้นตัวอย่างเข็มแข็ง ระบุหากปรับขึ้นหวั่นลูกค้าและภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ ระบุสภาพคล่องในระบบยังสูง นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ ไม่ได้สร้างแรงกดดันให้กับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับสูง ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้หรือเงินฝาก ถ้าจะเกิดขึ้นจะเป็นผลจากนโยบายการทำธุรกิจของแต่ละธนาคาร

ฟิทช์: ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทยมีความพร้อมในการปฏิบัติตามเกณฑ์กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า "ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของประเทศไทยน่าจะสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ใหม่ด้านการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มที่จะมีผลบังคับใช้กับธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยง...

กรุงศรียืนยันความแข็งแกร่งของเงินกองทุน

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) นั้น กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ขอเรียนให้ทราบว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทย โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประ...

เครือข่ายธุรกิจของธนาคารขนาดใหญ่ในประเทศไทยยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิตในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ฟิทช์ เรทติ้งส์กล่าวในรายงานเรื่อง "Thailand's Large Banks: Peer Review" ฉบับล่าสุดว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทย 4 แห่งน่าจะสามารถรักษาความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจไว้ได้ต่อเนื่อง ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทย โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทย โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประ...