เจาะใจ - ไทยประกันชีวิต เดินหน้าโครงการเพื่อสังคมฝึกอาชีพให้พึ่งตนเองได้ เพื่อสานฝันผู้พิการ

กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--เจเอสแอล "เจาะใจ" จับมือ "ไทยประกันชีวิต" แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ "เจาะใจ - ไทยประกันชีวิต ร่วมสานฝันผู้พิการ" จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้พิการทั่วประเทศ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นศูนย์กลางฝึก อบรม โดยมี ฯพณฯ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี รองประธานกรรมการ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นางลาวัลย์ กันชาติ ประธานบริษัท เจ เอส แอล จำกัด นายปรีดี ขวัญงาม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด และ นายวัชระ แวววุฒนันท์ รองกรรมการผู้จัดการ เจ เอส แอล ร่วมกันชี้แจงรายละเอียดของโครงการ โดย นายวัชระ แวววุฒินันท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจ เอส แอล จำกัด เปิดเผยว่า "โครงการนี้เปิดรับสมัครผู้พิการจากทั่วประเทศ เพื่อเข้ารับการอบรมในวิชาชีพ 31 สาขา อาทิ ช่างเขียนกระจก ช่างสอดย่านลิเภา ช่างผ้าลายตีนจก ช่างประดิษฐ์หัวโขน ช่างเจียระไนพลอย ช่างเขียนภาพไทย ช่างแกะสลักไม้ ช่างจิตรกรรมประยุกต์ ฯลฯ โดยแบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน รวม 100 คน รุ่นแรกอบรมระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2546 รุ่นที่ 2 เดือนตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547 มีงบประมาณกองทุนเพื่อพัฒนาวิชาชีพในโครงการนี้โดยไทยประกันชีวิต 1 ล้านบาท ผู้สนใจแสดงความจำนงได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำจังหวัดที่ตนเองอยู่ โดยศูนย์ศิลปาชีพฯ จะทำการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมตามหลักเกณฑ์ของศูนย์ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้พิการที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อายุระหว่าง 15-50 ปี ไม่จำกัดการศึกษา เมื่อเข้าเป็นนักเรียนของศูนย์จะได้รับสวัสดิการพร้อมสรรพทุกอย่าง ทั้งหอพัก อาหาร และเบี้ยเลี้ยงวันละ 60 บาท เราคาดหวังว่าผู้พิการที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพแล้ว จะสามารถกลับไปเป็นแกนนำให้คนพิการในชุมชนของเขามีวิชาชีพพึ่งพาตนเองได้ต่อไป" ด้าน ปรีดี ขวัญงาม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า "โครงการ "เจาะใจ - ไทยประกันชีวิต ร่วมสานฝัน ผู้พิการ" ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงสร้างอาชีพเพื่อผู้พิการมากมายให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในสังคม คณะผู้ดำเนินโครงการทั้ง 2 ฝ่ายจึงพร้อมใจกัน ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบในปี 2547 ที่จะถึงนี้ด้วย โครงการนี้ถือว่าเป็นการมอบคุณค่าด้านจิตใจเป็นการสร้างความภูมิใจให้ผู้พิการที่จะสามารถประกอบอาชีพได้เช่นคนปกติธรรมดาทั่วไปในสังคม ทำให้เกิดกำลังใจ และสร้างความทัดเทียม เป็นการสนับสนุนคำว่า "ให้" ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย นอกจากการฝึกอบรมอาชีพแก่ผู้พิการทั่วประเทศดังกล่าวแล้ว โครงการนี้ยังมีเป้าหมายในการจัดสร้างแขน - ขาเทียม ให้กองออโธปิดิกส์ มูลนิธิมหาวชิราลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ อีกจำนวน 1,200 คู่ ซึ่งในปี 2545 ที่ผ่านมา ได้มอบรถอเนกประสงค์มูลค่ากว่า 7 แสนบาท เพื่อใช้ในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการแขน-ขาเทียมแก่ผู้พิการในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ ของกองออโธปิดิกส์ มูลนิธิมหาวชิราลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ มาแล้ว" ด้านศูนย์กลางฝึกอบรมนั้น ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเองก็มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการให้ความร่วมมือกับโครงการนี้ โดย ฯพณฯ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี รองประธานกรรมการ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กล่าวว่า "โครงการนี้จะทำให้ผู้พิการได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลเลย เพราะหลังจากที่ทุกคนมาฝึกอบรมจากที่นี่ไปแล้ว จะประกอบอาชีพได้อย่างอิสระ ปัจจุบันมีผู้ฝึกอบรมในศูนย์ประมาณ 470 คน เป็นผู้พิการถึง 37 คน ซึ่งเขาเหล่านั้นก็ได้แสดงความสามารถเท่าเทียมกับคนทั่วไป จนเป็นที่ยอมรับในฝีมือ และให้สืบสานอยู่ต่อในศูนย์ในฐานะครูฝึกมากกว่า 5 คน หลายคนตั้งตัวดูแลตนเองและครอบครัวได้ เพราะศูนย์เองก็ดูแลอย่างครบวงจร รับจัดจำหน่ายผลงานให้เขาด้วย มีการตั้งชมรมศิษย์เก่าศิลปาชีพ ชาวต่างประเทศหรือคนไทยที่ทำธุรกิจในต่างประเทศจะเหมาซื้อไปเยอะมาก จนมีคนเคยถามว่าทำไมศูนย์ฯไม่ตั้งเป็นโรงงานเลย ซึ่งเรื่องนี้เป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ที่นี่เป็นโรงเรียนฝึก อบรมเท่านั้น หากต้องการผลิตจำหน่ายจำนวนมากให้ยกเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน ทรงเน้นให้ศูนย์ฯ เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งศูนย์เองก็ได้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและปรับปรุงหลักสูตรการอบรมอย่างสม่ำเสมอด้วย" ในงานแถลงข่าวยังได้มีการนำผลงานจากผู้พิการมาสาธิตให้ชมอีกด้วย โดยมีทั้งช่างชำนาญการ ซึ่งหมายถึงนักเรียนที่อยู่ในระหว่างฝึกอบรมอยู่ และช่างศิลปาชีพ คือ ช่างชำนาญการที่มีผลงานฝีมือและความประพฤติสอบ โดยผลงานแต่ละชิ้นสวยงามราวกับงานจากช่างชั้นเอก โดยเฉพาะภาพวาด ฝีมือของ หลอด ฉาบพิมาย ช่างศิลปาชีพ แผนกช่างเขียนภาพ ที่ พิการโปลิโอตั้งแต่กำเนิด อาจารย์ประจำศูนย์ฯ จะเป็นผู้ประเมินราคาภาพวาดซึ่งส่วนใหญ่ราคามากกว่า 15,000 บาทต่อภาพ ฉะนั้นนอกเหนือจากรายได้ 4,000 บาทต่อเดือนแล้ว เขายังได้ส่วนแบ่งจากการขายภาพอีก 40 % ด้วย ผลงานการวาดภาพสีน้ำมันของ สุกัญญา มานะเว้น ช่างชำนาญที่พิการโปลิโอ ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน เธอเผยความรู้สึกในตอนหนึ่งว่า "ก่อนหน้านี้อยู่บ้านเฉยๆ ตอนเข้ามาฝึกยังทำอะไรไม่เป็นเลย ช่วงชีวิต 4 ปีที่อยู่แตกต่างราวหน้ามือกับหลังมือจากเมื่อก่อน จากเดิมที่ต้องพึ่งอาศัยคนอื่น ตอนนี้มีรายได้เพียงพอ นอกจากช่วยตัวเองได้ยังช่วยเหลือทางบ้านได้อีกด้วย ภูมิใจที่ดำเนินชีวิตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น" เช่นเดียวกับ ลี แซ่เฮอ ช่างชำนาญการ แผนกช่างเป่าแก้ว ที่พิการโปลิโอตั้งแต่กำเนิด ฝึกอบรมได้ 6 ปีแล้ว ลีเล่าว่า "ก่อนหน้านี้ผมทำรองเท้าอยู่ครับ รายได้นิดหน่อย แต่พอมาฝึกที่นี่แล้ว ชีวิตเปลี่ยนได้มากสามารถช่วยเหลือทางบ้านได้ ภูมิใจมากว่าเราสามารถสู้คนอื่นๆได้ ถ้าจะมองว่าเราไม่เท่าคนอื่น ก็คงแค่เพียงเท้าพิการเท่านั้น ในด้านการทำงาน ผมถือว่าผมสู้คนอื่นได้"นอกจากนั้นยังมี สุภาวดี โต้ตอบ ช่างชำนาญแผนกช่างบาติก ที่พิการหูหนวก และ จำปี อินสีชื่น ช่างศิลปาชีพ-ปั้นดอกไม้จากแป้งขนมปัง พิการโปลิโอ มาร่วมสาธิตในงานด้วย ช่างทั้งห้าแขนงที่นำมาสาธิตนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ 31 ช่างศิลปาชีพที่เปิดให้ผู้พิการเลือกฝึกอบรมตามความถนัด เพื่อสั่งสมวิชาชีพติดตัวให้ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีทัดเทียมคนทั่วไป ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ วิรดา อุนเทียนชัย 0-1804-5493 หรือ โทร. 0-2731-0630 ต่อ 312--จบ-- -ศน-

ข่าวจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ+สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์วันนี้

ปิดทองหลังพระฯรุกเยี่ยมราษฎรในโครงการศิลปาชีพนำหมอไปตรวจรักษาโรคพร้อมแจกแว่นสายตาที่นราธิวาส

วันที่ 9 มกราคม 2568 นายกฤษฎา บุญราช ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เป็นประธานโครงการตัดแว่นสายตาให้กับราษฎรในโครงการศิลปาชีพ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นายกฤษฎา บุญราช กล่าวว่าตั้งแต่ช่วงปี 2527 เป็นต้นมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ได้ทรงก่อตั้งกลุ่มศิลปาชีพบ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

งดงามตระการตา เปิดม่านรอบสื่อมวลชน การแสด... เปิดม่านรอบสื่อมวลชน การแสดงโขน สุดยิ่งใหญ่แห่งปี ตอน "พระจักราวตาร" — งดงามตระการตา เปิดม่านรอบสื่อมวลชน การแสดงโขน สุดยิ่งใหญ่แห่งปี ตอน "พระจักราวตาร"ถ...

มุกดา จิราธิวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล (คนกลาง)... สมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ ฯ จัดมอบทุนการศึกษา ประจำปี 2567 — มุกดา จิราธิวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล (คนกลาง) นายกสมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเท...

นายทาคาฮิโระ ยามาชิตะ (ที่ 3 ทางซ้าย) ประ... บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมีฯ มอบเงินบริจาคสมทบทุนสภากาชาดไทย เพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ — นายทาคาฮิโระ ยามาชิตะ (ที่ 3 ทางซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ...

กิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด... เอเชี่ยน เคมิคัล ร่วมโครงการ Let's Zero Together ปลูก เพื่อ ลด สู่อนาคตที่ยั่งยืน — กิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมร...

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพร... วิทยาลัยดุสิตธานีคว้ารางวัลการจัดกล้วยไม้ในงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” — เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชิน...

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ณ โรงพยาบาลลาน... ประกันสังคมห่วงใย แจกผ้าห่ม ผู้ประกันตน รพ.ลานนา3 เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2567 — เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ณ โรงพยาบาลลานนา 3 ... นางสาวจันทนา จารุเศรณี ท...