กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
BSA ร่วมสนับสนุนกรมทรัพย์สินทางปัญญา, ATSI, และ ATCI จัดสัมมนา ฟรี "SAM Workshop" ให้กับผู้ใชัระดับองค์กรพร้อมนิทรรศการแสดงผลงานของสมาชิกกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) และสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย (ATCI) จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ฟรี ในหัวข้อ "หลักการบริหารสินทรัพย์ซอฟต์แวร์" (Theme: The Nuts & Bolts of SAM) เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้ระดับองค์กรให้ได้รับทราบ เกิดความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการระบบซอฟต์แวร์ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรเกิดประสิทธิผลสูงสุดและมีความปลอดภัยในระบบเครือข่ายมากที่สุดจากการใช้งานซอฟต์แวร์การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของกรมทรัพย์สินทางปัญญา บีเอสเอ เอทีซีไอและเอทีเอสไอ เพราะนับเป็นครั้งแรกที่เราปรับการสัมมนาจากการให้ข้อมูลโดยเจ้าของเทคโนโลยีต่างๆ มาเป็นการฝึกปฏิบัติการจริงพร้อมกับเจ้าของเทคโนโลยีนั้นๆ นอกเหนือจากการจัดนิทรรศการออกร้านของเจ้าของซอฟต์แวร์ต่างๆ โดยงานดังกล่าวจะมีขึ้นในวันพุธที่ 4 มิถุนายน 2546 เวลา 08.00 น.-17.00 น. ณ ห้องบอลล์รูม โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ มร. เจฟฟ์ ฮาร์ดี รองประธานและผู้อำนวยการภูมิภาค ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) กล่าวถึงการจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ว่า "การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา บีเอสเอ เอทีซีไอและเอทีเอสไอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างระหว่างผู้ใช้ระดับองค์กรถึงคุณค่าของซอฟต์แวร์และการบริหารซอฟต์แวร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติม ในส่วนของขั้นตอนการปฏิบัติการการบริหารสินทรัพย์ซอฟต์แวร์นั้น เราได้รับความร่วมมือจากบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ส่งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาร่วมให้ข้อมูล" มร. เจฟฟ์ ฮาร์ดี กล่าวเสริมว่า "บีเอสเอขอขอบคุณกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมการกระจายความรู้ต่างๆ ของบีเอสเอ และพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจต่อทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ การดูแลและบริหารสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ ฯลฯ ในส่วนของการให้ความรู้นั้น เราจะจัดการสัมมนาอย่างนี้ปีละ 2 ครั้ง รวมถึงความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมต่างๆ ในการกระจายความรู้อย่างทั่วถึง"มร. ฮาร์ดี กล่าวสรุปว่า "ในท้ายที่สุดแล้ว ซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กร องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีการตระหนักและบอกกล่าวว่าซอฟต์แวร์เป็นสมบัติที่สำคัญสุดชิ้นหนึ่งในองค์กร และจำต้องมีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร"
ข้อมูลเกี่ยวกับ บีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์(บีเอสเอ)เป็นตัวแทนของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลกในการปกป้องและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั่วโลก บีเอสเอได้จัดกิจกรรมเพื่อให้การอบรมแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ถึงปัญหาที่เป็นผลกระทบต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ส่งเสริมโอกาสทางการค้าผ่านทางนโยบายของภาครัฐ และดำเนินการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ของสมาชิกของบีเอสเอ สมาชิกบีเอสเอเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับประเทศและทั่วโลก ได้แก่ อะโดบี, แอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์, ออโตเดสก์, เอวิท เทคโนโลยี, เบนท์เลย์ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, อินเทอร์เน็ต ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์, แมคโครมีเดีย, ไมโครซอฟท์, เน็ทเวิร์ค แอสโซซิเอทส์, ไซแมนเทค และยูนิกราฟฟิคส์ โซลูชั่นเป็นต้น สมาชิกภูมิภาคของบีเอสเอในเอเชีย ได้แก่ โรเบิร์ต แมคนีล แอนด์ แอสโซซิเอทส์, และโซลิท เวิร์ค
นอกจากนี้ บีเอสเอยังมีสมาชิกและได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาคมซอฟต์แวร์และบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้วย สำหรับในประเทศไทยบีเอสเอได้ร่วมมือกับสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณปราณี เฉลิมธนศักดิ์
บริษัทพีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทรศัพท์: 0 2971 3711 โทรสาร: 0 2521 9030
อีเมล์:
[email protected]
เยี่ยมชม Website BSA ได้ที่ www.bsa.org--จบ--
-พห-