กรุงเทพฯ--24 เม.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือบีเอสเอแนะผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระวังความปลอดภัยจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สศก. เอทีซีไอ และเอทีเอสไอให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมมือ 4 หน่วยงาน - กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย และกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ จัดงานสัมมนาให้ความรู้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งระดับองค์กรและส่วนบุคคล มุ่งเน้นให้ทุกหน่วยงานได้ตระหนักถึงอันตรายของการทำงานผ่านระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันเนื่องมาจากความเสี่ยงของการรับข้อมูลที่ติดไวรัสหรือจากการแฮ็กระบบคอมพิวเตอร์และการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน
ภายในงานสัมมนาดังกล่าวจะประกอบไปด้วยหัวข้อต่างๆ ตั้งแต่ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และการบังคับใช้กฎหมาย ไปจนถึงการสร้างสภาพแวดล้อมด้านไอทีที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย จากวิทยากรทั้งจากภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและตัวแทนเจ้าของสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ พร้อมกันนี้ยังมีนิทรรศการผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของชาวไทยและต่างประเทศ, การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารทรัพย์สินซอฟต์แวร์ภายในองค์กรกับตัวแทนเจ้าของสิทธิและผู้มีความชำนาญในการบริหารทรัพย์สินซอฟต์แวร์
"เนื่องจากในรอบปีที่ผ่านมาผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งในระบบธุรกิจ, องค์กร หรือผู้ใช้ส่วนบุคคลได้ประสบปัญหาจากการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ รวมไปถึงการหยุดให้บริการของเว็บไซต์ที่ถูกโจมตี ซึ่งความเสี่ยงของผู้ใช้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาถ้าไม่มีการเตรียมการป้องกันที่ถูกต้องหรืออาจแก้ไขได้ไม่ทันท่วงทีที่เกิดปัญหา" นางปัจฉิมา ธนสันติ, ผู้อำนวยการสำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าวและเสริมว่า "บทบาทของกรมทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะผู้กำกับดูแลและให้ความคุ้มครองทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ครอบคลุมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบต่างๆ และพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานเพื่อสร้างสรรค์สังคมของการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง งานสัมมนาครั้งนี้เป็นการสนับสนุนในรูปแบบหนึ่งที่ภาครัฐฯ ประสานงานกับหน่วยงานภาคเอกชนเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์"
มร.โรเบิร์ต ครูเกอร์ รองประธาน ฝ่ายป้องปรามด้านกิจกรรมต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประจำภูมิภาคอเมริกาเหนือ, กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ กล่าวว่า "บีเอสเอขอขอบคุณกรมทรัพย์สินทางปัญญา กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ เอทีซีไอและเอทีเอสไอ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และให้การสนับสนุนกิจกรรมของบีเอสเอทั้งทางด้านการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ความเข้าใจและการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นบทบาทของภาครัฐ โดยเอกชนก็ต้องให้การสนับสนุน ทั้งนี้บีเอสเอตระหนักดีว่าความช่วยเหลือที่บีเอสเอได้รับจากทุกหน่วยงานเสมอมานั้นประกอบไปด้วยความปรารถนาดีต่อผู้ใช้โดยรวม โดยที่ข้อมูลที่นำเสนอโดยวิทยากรจากหลายๆ องค์กรนั้นสามารถนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เพียงแต่แต่ละองค์กรมีความเข้าใจในการจัดการและบริหารซอฟต์แวร์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่าอย่างหนึ่งขององค์กร ไม่ต่างไปจากทรัพย์สินประเภทอื่นๆ"
"การสัมมนาดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2545 ตั้งแต่เวลา 08:00 น. ถึง 17:00 น. ณ ห้องบอลล์รูม โรงแรมแชงกรี-ล่า กรุงเทพฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายเนวิน ชิดชอบ) มาเป็นประธานเปิดการสัมมนา และได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารทรัพย์สินประเภทซอฟต์แวร์ การสร้างระบบสารสนเทศที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของใบอนุญาตใช้สิทธิของเจ้าของสิทธิ์ อาทิ แมคโครมีเดีย ไมโครซอฟท์ อะโดบี ออโต้เดสก์ และไซแมนเทค และในส่วนของการออกร้านนั้น สศก. กรมทรัพย์สินทางปัญญา เอทีซีไอและเอทีเอสไอก็ได้นำผลงานต่างๆ มานำเสนอด้วยเช่นกัน" นางปัจฉิมา ธนสันติกล่าวเสริม
ข้อมูลเกี่ยวกับบีเอสเอ
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) (www.bsa.org) เป็นองค์กรชั้นนำที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการสร้างระบบออนไลน์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอินเทอร์เน็ตระดับโลกในการกระตุ้นการดำเนินการของภาครัฐและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคทั่วโลก สมาชิกของบีเอสเอได้แก่บริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด บีเอสเอได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และความปลอดภัยของระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งยังสนับสนุนนโยบายของภาครัฐที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและขยายโอกาสทาง
การค้า รวมถึงดำเนินการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ บีเอสเอมีสมาชิกอยู่ทั่วโลก ได้แก่ อะโดบี, แอปเปิล คอมพิวเตอร์, ออโต้เดสก์, เบนท์เลย์ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอมแพค, เดลล์, เอ็นทรัสต์, ไอบีเอ็ม, อินเทล, อินทิวต์, มาโครมีเดีย, ไมโครซอฟท์, เน็ตเวิร์ก แอสโซซิเอท, โนเวลล์, ไซเบส, ไซแมนเท็ค และและยูนิกราฟฟิคส์ โซลูชั่น เป็นต้น
นอกจากนี้ บีเอสเอยังมีสมาชิกและได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาคมซอฟต์แวร์และบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้วย สำหรับในประเทศไทยบีเอสเอได้ร่วมมือกับสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณปราณี เฉลิมธนศักดิ์
บริษัทพีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทรศัพท์: 0 2971 3711 โทรสาร: 0 2521 9030
อีเมล์:
[email protected]
เยี่ยมชม Website BSA ได้ที่ www.bsa.org-- จบ--
-อน-