แนวทาง/มาตรการสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจ

กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--สศก. ดร.อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยถึงแนวทาง/มาตรการในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังจากการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจว่า เพื่อให้การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในแต่ละสินค้า จึงได้มีการกำหนดมาตรการดำเนินงานที่แตกต่างกันไป โดยเน้นมาตรการจูงใจให้ผลิตสินค้าให้ตรงตามเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำหนด และกำหนดเป็นมาตรการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ มาตรการสำหรับพื้นที่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจ ด้านการผลิต จดทะเบียนเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าภายในเขตเกษตรเศรษฐกิจของแต่ละสินค้า ฝึกอบรมให้เกษตรกรเข้าใจถึงการบริหารจัดการการผลิตในเชิงการค้า สนับสนุนปัจจัยการผลิต สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยเหมาะสมแก่เกษตรกรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ปรับโครงสร้างการผลิต และสนับสนุนการประกันภัยพืชผล ปศุสัตว์และสัตว์น้ำสำหรับผู้ที่ปลูกในเขต โดยให้เฉพาะสินค้าที่มีความเสี่ยง ด้านการแปรรูป สนับสนุนเงินทุนสินเชื่อดอกเบี้ยเหมาะสมในการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยี เพื่อการแปรรูปวัตถุดิบสินค้าเกษตรเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปแก่เกษตรกรในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรภายในเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำหนด โดยให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีด้านการตลาด ในกรณีที่มีปัญหา รัฐจะดำเนินมาตรการแทรกแซงราคาและรับซื้อผลผลิต และรัฐจะให้ความช่วยเหลือในการจัดการผลผลิตและสินค้าคงเหลือ สนับสนุนระบบตลาดข้อตกลงและตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่มีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างเกษตรกรและเอกชน/โรงงานผู้รับซื้อผลผลิต จดทะเบียนเอกชนผู้แปรรูปและหรือผู้ค้าสินค้าเกษตรในเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำหนด สนับสนุนการจัดตั้งตลาดกลางและศูนย์ส่งออกสินค้าเกษตรในเขตเกษตรเศรษฐกิจ จัดสร้างเครือข่ายข้อมูลของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร เชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานคุณภาพหรือเครื่องหมายการค้าของสินค้าเกษตรที่ผลิตและแปรรูปโดยกลุ่มเกษตรกรและเอกชนในเขตเกษตรเศรษฐกิจให้เป็นที่รู้จักทั้งตลาดภายในและต่างประเทศด้านวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดระบบการผลิต โดยจะเน้นการดำเนินการให้สอดคล้องกับแต่ละเขตเกษตร และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการผลิตทั้งก่อนและหลัง เก็บเกี่ยวตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงผู้บริโภคปลายทางที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในเขตเกษตรเศรษฐกิจ ด้านการบริหารการจัดการ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินงานตามมาตรการพัฒนาในเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดให้โครงการแทรกแซงการผลิตและตลาดของรัฐ และให้มีการจัดตั้งกองทุนเขตเกษตรเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนและจูงใจให้มีการปลูกพืชในเขตเกษตรเศรษฐกิจ โดยรัฐให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งกองทุนฯ มาตรการสำหรับพื้นที่นอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ มาตรการสำหรับสินค้าที่มีการทำการเกษตรไม่ตรงตามเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำหนด หรือการทำการเกษตรนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจของสินค้านั้น หรือการทำการเกษตรอยู่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจของอีกสินค้าหนึ่ง โดยสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรของสินค้าให้ตรงตามเขตเกษตรเศรษฐกิจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตฝึกอบรมวิชาชีพให้แก่เกษตรกรในการเปลี่ยนสินค้าทดแทน และในกรณีที่เกษตรกรปลูกไม้ยืนต้นที่อยู่นอกเขตเกษตรเศรษฐกิจของสินค้านั้น ให้มีระยะเวลาผ่อนปรนในการปรับเปลี่ยนสินค้า 3-5 ปี นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดมาตรการสำหรับสินค้าเกษตรรายสินค้า ซึ่งจะเป็นมาตรการเฉพาะสำหรับดำเนินการในรายสินค้าให้ครอบคลุมทั้งในด้านการผลิต การตลาด การแปรรูป การวิจัยและพัฒนา และการบริหารการจัดการ ในสินค้าเกษตรหลักทั้ง 12 สินค้า ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ถั่วเหลือง ยางพารา ทุเรียน ลำไย กาแฟ ปาล์มน้ำมัน และอ้อยโรงงาน--จบ-- -ศน-

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจวันนี้

วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.

"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าในปี 2565 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซัง และฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้นเพื่อ

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกร... ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร — ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...