มช.ทำแผนที่ไบโอก๊าซ พบศักยภาพมูลสุกรและโคนม ผลิตก๊าซชีวภาพ ได้ปีละ 151 ล้าน ลบ.ม.

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--สพช. กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หนุน มช. ทำแผนที่ไบโอก๊าซจัดระเบียบฟาร์มสุกรและโคนมทั่วประเทศ พบศักยภาพมูลสุกรและโคนม สามารถผลิตก๊าซชีวภาพ ได้ประมาณปีละ 151 ล้าน ลบ.ม. นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การส่งเสริมเกษตรกรก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ ในฟาร์มสุกรและโคนม จำนวน 1,700 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้แทนก๊าซหุงต้ม (LPG) และ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านน้ำเสียได้ ดังนั้นกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จึงได้ให้การสนับสนุนสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดทำแผนที่ไบโอก๊าซของฟาร์มสุกรและโคนมทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ในการวางแผนสนับสนุนให้เกิดการผลิตการใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพอย่างมี ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาสภาวะแวดล้อมจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ด้วย จากผลการศึกษาของ มช.ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2542-กุมภาพันธ์ 2543 จำนวน 19,239 ฟาร์ม แบ่งเป็นฟาร์มโคนม 13,261 ฟาร์ม และฟาร์มสุกร 5,978 ฟาร์ม พบว่า ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีฟาร์มมากที่สุด คือ 6,730 ฟาร์ม รองลงมาคือภาคกลาง 4,544 ฟาร์ม ภาคเหนือ 2,598 ฟาร์ม ภาคตะวันออก 2,427 ฟาร์ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,152 ฟาร์ม และภาคที่มีฟาร์มตั้งน้อยที่สุดคือภาคใต้ 788 ฟาร์ม ส่วนจังหวัดที่มีฟาร์มสุกรตั้งอยู่มากที่สุดคือ จ.นครปฐม จำนวน 1,059 ฟาร์ม รองลงมาคือ จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 549 ฟาร์ม และจังหวัดที่มีฟาร์มโคนมมากที่สุดคือ จ.ราชบุรี 2,112 ฟาร์ม รองลงมาคือ จ.สระบุรี 2,086 ฟาร์ม ทั้งนี้จากการสำรวจทำให้ทราบว่า ฟาร์มสุกรและโคนมที่สำรวจเกือบ 2 หมื่นฟาร์ม มีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ปีละประมาณ 151 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับ ก๊าซหุงต้ม (LPG)ได้ 69 ล้านกิโลกรัม หรือคิดเป็นเงิน 904 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นฟาร์มสุกรสามารถผลิต ก๊าซชีวภาพได้ปีละ 135 ล้านลูกบาศก์เมตร และฟาร์มโคนมสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ปีละประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ผู้ที่สนใจต้องการทราบข้อมูลการก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ ปัญหาสภาวะแวดล้อมจากฟาร์มสุกรและโคนม แนวทางการแก้ไขปัญหา ระบบก๊าซชีวภาพที่ใช้แก้ปัญหาและควบคุมมลภาวะในฟาร์ม และพื้นที่การตั้งกลุ่มฟาร์มต่างๆ ในประเทศไทย สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ หน่วยบริการก๊าซชีวภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5394-8196-8 โทรสาร 0-5394-8195 หรือดูข้อมูลแผนที่ไบโอก๊าซได้ที่ www.animal.agri.cmu.ac.th/biogasmap/html/ "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เปลี่ยนชื่อและสังกัดเป็น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน"--จบ-- -ศน-

ข่าวกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน+สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานวันนี้

กระทรวงพลังงานสนับสนุนการพัฒนาระบบเชื่อมต่อการใช้งานของสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Consortium) ในแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกัน หวังเร่งขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

กระทรวงพลังงาน โดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ให้การสนับสนุนการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Consortium) ในแต่ละเครือข่ายกับค่ายรถยนต์ต่างๆกว่า 17 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันเดินหน้าพัฒนาระบบเชื่อมต่อการใช้งานของแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้มอบหมาย

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย... เชิญร่วมงานสัมมนาและชมนิทรรศการผลงานวิจัย “พลังงานไทย เพื่อก้าวที่ยั่งยืน” 14-15 มีนาคมนี้ — กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผน...

กองทุนอนุรักษ์ฯ หนุนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ประหยัดพลังงาน

พลังงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ในปัจจุบัน เพราะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคน มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากน้ำมัน พลังงานน้ำ พลังงานไฟฟ้า ในปัจจุบันความต้องการในการใช้พลังงาน ยิ่งมีการ...

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ลงพื้น... สนพ. ลงพื้นที่ติดตามและโชว์ผลงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จังหวัดเชียงใหม่ — สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ลงพื้นที่ติดตามผลการสนับสนุนโค...

กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพล... สรุปผล โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) — กระทรวงพลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พล...