มูลนิธิผู้หญิงจัดสัมมนาและเสนอรายงาน'นิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--มูลนิธิผู้หญิง โครงการสัมมนาและเสนอรายงาน นิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ องค์การ Anti – Slavery International และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2545 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถ.พญาไท ปทุมวัน ปัจจุบันการค้ามนุษย์กำลังเป็นปัญหาที่ได้รับความใส่ใจจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนความพยายามของรัฐในการตอบโต้การค้ามนุษย์โดยกำหนดนโยบายการอพยพเข้าเมืองที่เข้มงวด ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ย้ายถิ่นที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ย้ายถิ่นต้องพึ่งพากระบวนการค้ามนุษย์มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ค้ามนุษย์สามารถกระทำความผิดต่อผู้ย้ายถิ่นได้ง่ายขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้ย้ายถิ่นที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ต้องถูกส่งกลับไปยังประเทศของตนอย่างรวดเร็วในฐานะเป็นผู้กระทำผิดข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งๆ ที่รัฐควรจะต้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่นเหล่านั้นในฐานะผู้เสียหายจากการกระทำผิดทางอาญาของผู้ค้ามนุษย์ ซึ่งผู้ย้ายถิ่นที่ถูกส่งกลับต้องกลับไปเผชิญกับความยากลำบากเช่นที่ เคยจากมา ดังนั้นนโยบายการตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดของรัฐจึงเป็นการตัดโอกาสผู้เสียหายในการได้รับการช่วยเหลือ การชดใช้ความเสียหาย และยังริดรอนสิทธิของผู้เสียหายที่จะได้รับความยุติธรรมจากการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาหรือคดีแพ่งต่อผู้ค้ามนุษย์อีกด้วย ถึงแม้ว่า องค์การสหประชาชาติจะกำหนดให้มี พิธีสารว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าหญิงและเด็ก ซึ่งเป็นเอกสารผนวกกับอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ (พ.ศ. 2543) ซึ่งได้กำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตามภายใต้พิธีสารนี้ การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหาย ไม่ได้มีผลผูกพันต่อรัฐคู่สัญญาเหมือนกับมาตรการทางด้านอาญา แต่ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐในการดำเนินการตามความเหมาะสม การค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นอกจากผู้เสียหายจะถูกละเมิดจากการกระทำผิดทางอาญาของผู้ค้ามนุษย์แล้ว ผู้เสียหายซึ่งหนีรอดมาจากสถานการณ์ที่เลวร้ายจากกระบวนการค้ามนุษย์ มักจะพบว่าตนต้องตกเป็นผู้ถูกกระทำอีกครั้งหนึ่ง จากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐนั่นเอง ซึ่งเกิดจากการกำหนดนโยบายและวิธีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มุ่งใช้มาตรการทางกฎหมายที่กำหนดไว้เพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์แต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายจากการถูกค้า เพื่อรณรงค์ให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้ค้ามนุษย์ โดยมีการให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหาย องค์การ Anti – Slavery International ได้ร่วมมือกับ มูลนิธิผ้หญิงและองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ เบลเยี่ยม โคลอมเบีย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ไนจีเรีย โปแลนด์ ยูเครน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย จัดทำรายงาน เรื่อง การค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชน กับนิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหาย (Human Traffic Human rights: Redefining Victim Protection) เพื่อศึกษากระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ วิเคราะห์ข้อดี ข้ออ่อนของแนวทางปฏิบัติในประเทศต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการสอบสวน การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนักค้ามนุษย์ การให้สิทธิพำนักอาศัยแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การคุ้มครองจากการถูกทำร้ายจากนักค้ามนุษย์ การคุ้มครองในศาล การชดเชยและเรียกค่าเสียหายทางกฎหมาย การให้ความช่วยเหลือทางสังคม และการส่งกลับภูมิลำเนา เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนสากล มูลนิธิผู้หญิง จึงได้ร่วมกับองค์การ Anti – Slavery International และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดสัมมนาเพื่อนำเสนอรายงานการศึกษาดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย และข้อเสนอแนะ จากรายงานการศึกษา “การค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชน กับ นิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหาย” ต่อหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้อง 2. เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อรายงานและข้อเสนอแนะจากการศึกษา 3. เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางปฏิบัติในการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยนชนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ วัน เวลา สถานที่ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2545 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถ.พญาไท ปทุมวัน คณะผู้จัด 1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2. มูลนิธิผู้หญิง 3. องค์การ Anti Slavery International เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ Anti-Slavery International และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอเชิญร่วมการสัมมนาและเสนอรายงาน นิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 12 ธันวาคม 2545 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุม 101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถ.พญาไท กำหนดการ 13.30 – 13.45 กล่าวนำการสัมมนา โดย ศ. เสนห์ จามริก ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 13.45 – 14.45 นำเสนอรายงาน การค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชน กับนิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหาย Elaine Pearson Anti-Slavery International Bruno Moens Payoke, Belgium อุษา เลิศศรีสันทัด มูลนิธิผู้หญิง 14.45 - 15.30 วิจารณ์รายงานโดย คุณหญิงอัมพร มีศุข กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดร.วิฑิต มันตราภรณ์* คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย David A.Feingold องค์การยูเนสโก 15.30 – 16.30 อภิปรายแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ดำเนินรายการโดย ศิริพร สะโครบาเนค มูลนิธิผู้หญิง มูลนิธิผู้หญิง โทร 0-2433-5149, 0-2435-1246 โทรสาร 0-2434-6774 กรุณาจอดรถที่ อาคารยูนิคอร์ด แล้วนำบัตรจอดรถมาประทับตราที่ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ--จบ-- -สส-

ข่าวสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ+มูลนิธิผู้หญิงวันนี้

มูลนิธิผู้หญิงจัดสัมมนาและเสนอรายงาน'นิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--มูลนิธิผู้หญิง โครงการสัมมนาและเสนอรายงาน นิยามใหม่ของการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ องค์การ Anti – Slavery International และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2545 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถ.พญาไท ปทุมวัน ปัจจุบันการค้ามนุษย์กำลังเป็นปัญหาที่ได้รับความใส่ใจจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนความพยายามของรัฐในการตอบโต้การค้ามนุษย์โดยกำหนดนโยบายการอพยพเข้าเมืองที่เข้มงวด

กทม. แจงเจ้าหน้าที่สายด่วน 1555 บริการด้วยใจ พร้อมรับแจ้งเรื่องร้องเรียน

นายศุภฤกษ์ หูไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร (สลป.) กทม. กล่าวกรณีผู้ร้องเรียนระบุเจ้าหน้าที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กทม. มีพฤติกรรมข่มขู่จากการแจ้งเรื่องร้องเรียนว่า จากการตรวจสอบผู้ร้องได้แจ้ง...

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ... GCNT ผนึกกำลังพันธมิตร ตั้ง "สถาบันธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน" — สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT : Global Compact Network Thailand) ลงนามความร่ว...

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผุด... สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผุดแคมเปญส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผ่านสื่อออนไลน์ — สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผุดแคมเปญส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผ่...

เรื่อง Cyberbullying ทุกวันนี้ปัญหา Cyber... เรื่อง Cyberbullying จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีใครสักคนโดน Bully! — เรื่อง Cyberbullying ทุกวันนี้ปัญหา Cyberbullying เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความสำคัญ เพราะไ...

นายชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตชั้นปีที่... นิสิตจุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน โต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2563 — นายชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แ...

ก.ล.ต. และ กสม. เตรียมจัดสัมมนาส่งเสริม บจ. ไทยขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืนตามหลักสิทธิมนุษยชน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมหารือเตรียมจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง สิทธิมนุษยชน: ปัจจัยขับเคลื่อนความสามารถในการ...

ดร.ธันยรัศม์ (จี้กี๋) อัจฉริยะฉาย รองประธ... รองประธานฯในเครือกะตะกรุ๊ปรับรางวัลโรงแรมต้นแบบ เรื่อง “สิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจ” — ดร.ธันยรัศม์ (จี้กี๋) อัจฉริยะฉาย รองประธานฯโรงแรมในเครือกะตะกรุ๊ป อดี...