สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเปิดเผยสถานการณ์การขนส่งสินค้าเกษตรทางอากาศ

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--สศก. สศก.เปิดเผยสถานการณ์การขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันในหลายประเทศ เพราะสะดวก รวดเร็ว และมีเวลาที่แน่นอน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังประสบกับปัญหาการดำเนินงานหลายขั้นตอน พื้นที่ระวางไม่เพียงพอ และค่าระวางเครื่องบินสูง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการขนส่งสินค้าเกษตรทางอากาศว่า ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ โดยมีการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้ทันสมัยและเพียงพอกับความต้องการ มีการขยายและปรับปรุงบริเวณคลังสินค้าที่ท่าอากาศยานให้กว้างขวางทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อให้การขนส่งสินค้าสะดวก รวดเร็ว และมีเวลาที่แน่นอน ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรทางอากาศผ่านท่าอากาศยาน 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานหาดใหญ่ สินค้าเกษตรที่มีการส่งออกทางอากาศมีทั้งหมด 87 สินค้า และแบ่งเป็นหมวดใหญ่ ๆ 4 หมวดสินค้า ดังนี้ 1. ปลามีชีวิต ได้แก่ ปลาสวยงาม ปลาไหล ปลาคาร์ป ปลาบู่ พันธุ์ปลา และปลามีชีวิตอื่น ๆ 2. ดอกไม้ ได้แก่ ดอกไม้สดและแห้ง ต้นกล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้ ต้นไม้อื่น ๆ ดอกไม้สดอื่น ๆ ดอกไม้แห้ง ใบไม้ กิ่งไม้ 3. ผักสดหรือแช่เย็น ได้แก่ มันฝรั่ง มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ หอมหัวเล็ก กระเทียม กะหล่ำดอก บร๊อคโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำปม ผักกาดหอมหัว ผักกาดหอม ชิโครี่ แครอท หัวผักกาด แตงร้าน แตงกวา ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือพวง คื่นไช่ เห็ด พริก หน่อไม้ ข้าวโพดฝักอ่อน กระเจี๊ยบเขียว ผักอื่น ๆ 4. ผลไม้สดหรือแห้งหรือแช่แข็ง ได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ อินทผลัม สับปะรด อะโวคาโด ฝรั่ง มะม่วง มังคุด ส้มเกลี้ยง ส้มเปลือกบาง ส้มเขียวหวาน ส้มแมนดาริน มะนาวฝรั่ง เกรปฟรุ๊ต ส้มโอ ธีทรัส องุ่น แตงโม แคนตาลูป มะละกอ แอปเปิล แพร์ เชอรี่ พลับ สตอเบอรี่ ลำไย เงาะ ทุเรียน น้อยหน่า ลิ้นจี่ และผลไม้อื่น ๆ จากข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตรทางอากาศ ของกรมศุลกากร สินค้าเกษตรทางอากาศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งมูลค่าและน้ำหนัก มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.60 และ 17.82 ต่อปี ตามลำดับ โดยสามารถรองรับสินค้ารวมปีละ 900,830 ตัน และสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกมาก คือ ผักสดแช่แข็ง ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในระหว่างปี 2542 - 2544 ร้อยละ 50.95 ต่อปี รองลงมาดอกไม้สดและแห้ง ผลไม้สดหรือแห้งหรือแช่แข็ง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการส่งออกสินค้าเกษตรทางอากาศกำลังได้รับความนิยม แต่ก็มีข้อจำกัด คือ ความล่าช้าในการดำเนินการต้องผ่านหลายขั้นตอน พื้นที่ระวางไม่เพียงพอ ค่าระวางเครื่องบินสูงขึ้นเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เช่น ค่าขนส่งจากไทยไปยุโรปที่น้ำหนัก 45 กิโลกรัม ของไทยมีอัตราค่าขนส่งกิโลกรัมละ 124 บาท ขณะที่มาเลเซียมีค่าขนส่งกิโลกรัมละ 105 บาทเท่านั้น และคลังสินค้าไม่เพียงพอ สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรเตรียมการจัดหาพื้นที่ระวางให้เพียงพอ โดยให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ประสานงานกับสายการบินต่างประเทศ ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมกัน และจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้ส่งออกที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนี้ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าจะมีการขยายคลังสินค้าให้มากกว่าเดิม 2 เท่าและควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบการจัดการที่ดีและระยะเวลาในการบริการ พร้อมทั้งควบคุมค่าระวางขนส่งไม่ให้สูงมากเกินไป จนทำให้ต้นทุนสินค้าส่งออกไม่สามารถขายแข่งขันในต่างประเทศได้--จบ-- -ศน-

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+เศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.

"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าในปี 2565 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซัง และฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้นเพื่อ

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกร... ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร — ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...