สศก.ยืนยันโซนนิ่งเกษตรกรได้รับประโยชน์แน่นอน

กรุงเทพฯ--26 มิ.ย.--ศูนย์สารสนเทศการเกษตรฯ กระทรวงเกษตรฯ ประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจฯ เกษตรกรได้รับประโยชน์แน่นอน เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยงด้านการตลาด ดร.อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร (zoning) ซึ่งขณะนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรแล้ว เหลือเพียงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและพิจารณามาตรการดำเนินงานในเขตฯ ต่าง ๆ คาดว่าจะประกาศเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจได้ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งเมื่อประกาศเป็นเขตฯแล้วเกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างแน่นอนเพราะมีหลักในการกำหนดเขตฯว่าต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรทางการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อนำมาสู่การอยู่ดีกินดีของเกษตรกรอย่างยั่งยืน สำหรับเขตฯที่จะประกาศนี้ จะเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจและสังคม กล่าวคือ มีที่ดินเหมาะสม มีน้ำที่เพียงพอและมีการคมนาคมที่สะดวกเป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรจะสามารถทราบถึง ศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน ว่าสามารถปลูกพืชอะไรได้บ้างที่เหมาะสม ทำให้ตัดสินใจเลือกปลูกพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเอง โดยทางภาครัฐจะช่วยให้ข้อมูลในด้านต้นทุนการผลิต ผลตอบแทน สถานการณ์การตลาด เพราะการผลิตสินค้าเกษตรแต่ละชนิดในพื้นที่เดียวกันอาจจะได้ผลตอบแทนต่างกัน ซึ่งแล้วแต่เกษตรกรจะเลือกผลิต นอกจากนี้การกำหนดเขตฯจะช่วยให้ภาครัฐวางแผนและสามารถส่งเสริมการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สำหรับเกษตรกรที่ทำการผลิตอยู่ก่อนแล้วเมื่อประกาศเป็นเขตฯแล้วพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในเขตฯ ทางภาครัฐจะแนะนำให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรที่มีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่เกษตรกรทำการผลิตอยู่ โดยจะกำหนดมาตรการออกมาให้ความช่วยเหลือไม่ให้เกษตรกรเดือดร้อน ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับกฏหมายว่าด้วยเสรีภาพของประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ--จบ-- -สส-

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจวันนี้

วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.

"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าในปี 2565 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซัง และฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้นเพื่อ

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกร... ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร — ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...