กรุงเทพฯ--9 ก.ค.--คาร์ล บายร์
อินเทลเริ่มส่งไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ออกสู่ตลาด บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีชั้นนำกำลังพัฒนาโซลูชั่นที่สามารถประมวลผลข้อมูลธุรกิจที่สำคัญ ในระดับปริมาณมากและทำงานด้านเทคนิคได้
วันนี้ อินเทล คอร์เปอเรชั่นได้ประกาศว่าบริษัทได้เริ่ม ส่งมอบ อินเทล ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ (Intel Itanium 2 Processor) ให้กับผู้ผลิตโซลูชั่นในระยะแรก ซึ่งคาดว่าจะมีระบบและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้กับโปรเซสเซอร์ใหม่นี้ออกสู่ท้องตลาดได้ในราวต้นไตรมาสนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ คาดว่าคู่ค้าโออีเอ็มของอินเทล (original equipment manufacturers - OEMs) จะสามารถนำเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นรุ่นต่างๆ ออกสู่ตลาดได้ในปีหน้า โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการชั้นนำรายใหญ่ๆ
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "การพัฒนาโซลูชั่นธุรกิจต่างๆ สำหรับไอเทเนียม ทู ของอินเทลและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกำลังก้าวหน้าไปมาก ด้วยประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมของไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ความสามารถด้านการทำงานในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ รวมถึงการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในปี พ.ศ. 2545 นี้ จะเป็นปีที่หน่วยประมวลผลในตระกูลไอเทเนียมเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังในการเป็นแพล็ตฟอร์มที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการประมวลผลของระบบศูนย์ข้อมูลระดับสูง"
อินเทล ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ เป็นหน่วยประมวลผลรุ่นที่สองในตระกูลไอเทเนียม ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์รุ่นต่างๆ สำหรับโซลูชั่นในระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์จากอินเทล ซึ่งมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก สืบเนื่องจากสถาปัตยกรรมการผลิตของอินเทลที่ทำให้ผลิตได้ในปริมาณสูง สามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นที่มีการจัดการข้อมูลที่สำคัญเป็นจำนวนมากๆ หรือแอพพลิเคชั่นด้านเทคนิคได้ ผลิตภัณฑ์ในตระกูลไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ ได้รับการ ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับระบบธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และแอพพลิเคชั่นที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับระบบธุรกิจอัจฉริยะต่างๆ ระบบฐานข้อมูล ระบบวางแผนทรัพยากรสำหรับธุรกิจ ระบบซัพพลายเชน ระบบคำนวณชั้นสูง ระบบคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ผลิตภัณฑ์ในตระกูล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ เปิดโอกาสให้สามารถใช้งานกับแพลตฟอร์ม และซอฟต์แวร์ที่วางใจได้สำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นระดับสูงด้วยต้นทุนที่ต่ำแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ที่สามารถเชื่อมต่อกับ โปรเซสเซอร์ตัวอื่นๆ เพื่อทำให้ระบบที่ใช้อยู่กลายเป็นระบบที่สามารถใช้โปรเซสเซอร์พร้อมกันได้ หลายตัว รวมถึงการขยายขีดความสามารถของระบบในอนาคตได้ ทำให้ผู้ผลิตชั้นนำหลายรายต่าง วางแผนที่จะเปิดตัวระบบขนาดใหญ่ที่ทำงานด้วยไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ จำนวน 8 ถึง 64 ตัว ออกสู่ตลาดในปีหน้า
ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ใช้ซ็อกเก็ตที่สามารถใช้กับไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่ๆ ที่จะมีออกมาอีกสองรุ่นในอนาคตได้เพื่อทำให้โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ทั้งสองดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนกลับมาใช้กับระบบที่ใช้ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ รุ่นที่มีอยู่เดิมได้ง่าย ซึ่งจะเป็นเพิ่มความคุ้มค่าและ อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเดิมให้กับทั้งอุตสาหกรรมผู้ผลิตและลูกค้าที่ลงทุนติดตั้งแพล็ตฟอร์มที่ใช้ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ นอกจากนี้ อินเทลยังได้มีการพัฒนาโปรเซสเซอร์ในตระกูลไอเทเนียม อยู่อีกห้ารุ่น ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้
ขณะนี้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ชั้นนำของโลกต่างพากันผลิตแอพพลิเคชั่นสำหรับวงการธุรกิจที่จะใช้กับระบบที่มีไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ เป็นตัวประมวลผล แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ ได้แก่ BEA Weblogic*, i2 Supply Chain* และ Factory Planner*, IBM DB2* และ Websphere, Microsoft SQL Server 2000*, Oracle9i* Database และ Oracle9i Application Server, แพล็ตฟอร์มระบบบริการการเงินของ Reuters, SAP R/3* และ APO ที่มี LiveCache*, และ SAS v9.0*
ปัจจุบันโปรเซสเซอร์ในตระกูลไอเทเนียมของอินเทลสามารถใช้กับระบบปฏิบัติการต่างๆ มากกว่าแพล็ตฟอร์มธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงอื่นๆ ระบบปฏิบัติการที่ทำงานร่วมกับไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ในปัจจุบัน ได้แก่ Windows* Advanced Server, Limited Edition และ Windows XP 64-Bit Edition ของไมโครซอฟท์, HP-UX* ของ Hewlett-Packard, และ Linux จาก Caldera, MSC.Software, Red Hat, SuSE และ TurboLinux. นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังได้วางแผนที่จะ แนะนำ Windows.NET* Datacenter and Enterprise Server เวอร์ชั่นต่างๆ สำหรับไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ในขณะที่ HP กำลังวางแผนที่จะแนะนำระบบปฏิบัติการ OpenVMS* และ Non Stop Kernel* เพื่อใช้กับโปรเซสเซอร์ในตระกูลไอเทเนียม ในอนาคต
ขณะนี้ มีบริษัทหลายร้อยแห่งทั่วโลกกำลังปรับปรุงระบบเพื่อนำโปรเซสเซอร์ในตระกูลไอเทเนียมไปใช้กับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ในองค์กรของตน อาทิ National Center for Supercomputing Applications (NCSA), แผนกพลังงานของ Pacific Northwest National Laboratory (PNNL), องค์กรวิจัยนิวเคลียร์ของยุโรป (European Organization for Nuclear Research - CERN) และสถาบันวิจัย Bio-Informatics Institute in the high-performance computing arena ของสิงคโปร์, โดยที่ National Crash Analysis Center (NCAC) และ DaimlerChrysler กำลังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม และแอพพลิเคชั่นคอมพิวเตอร์ที่จัดทำ ขึ้นโดยเฉพาะอีกหลายแอพพลิเคชั่น, VTG-Lehnkering กำลังใช้ระบบสำหรับจัดการทรัพยากรชั้นสูง, Liberty Medical และ VeriSign กำลังใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานและฐานข้อมูล, และมหาวิทยาลัย คอร์เนลล์ และ Wells Fargo กำลังใช้โซลูชั่นธุรกิจอัจฉริยะต่าง ๆ
เมื่อรวมกับแรงสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การออกแบบที่ล้ำหน้าของไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ จะทำให้ผู้ใช้ระบบธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายจากสถาปัตยกรรม RISC อาทิ ประสิทธิภาพระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ ความไว้วางใจได้ และการขยายขีดความสามารถของระบบได้ในอนาคต ตลอดจนการมีระบบ ปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้มากขึ้นในขณะที่ราคาของระบบอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้ เซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นที่ใช้ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ จะมีประสิทธิภาพดีกว่าระบบที่ใช้ ไอเทเนียมรุ่นเดิมถึงสองเท่า และสามารถประมวลผลข้อมูลรายการต่างๆ ได้ดีกว่าซันถึงร้อยละ 50 ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า**
ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ สามารถรองรับการประมวลผลรายการจำนวนมากๆ งานคำนวณที่ซับซ้อน ตลอดจนข้อมูลและผู้ใช้จำนวนมากๆ ได้ ทั้งนี้ การออกแบบด้วย Explicity Parallel Instruction Computing - EPIC และการเพิ่มแคช L3 ขนาด 3 MB ภายในตัวโปรเซสเซอร์ ยังช่วยให้ระบบสามารถประมวลรายการออนไลน์ต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูล และจำลองข้อมูล และการเรนเดอร์ ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นด้วย นอกจากนี้ ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ยังให้ผลที่มีความแน่นอนน่าเชื่อถือได้มากกว่า ด้วยคุณสมบัติในการตรวจสอบความผิดพลาดของโครงสร้างข้อมูลสำคัญๆ ของโปรเซสเซอร์และทำการแก้ไขได้ ตลอดจนการมีสถาปัตยกรรมอัจฉริยะ Machine Check ที่จะเข้ามาช่วยจัดการและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแพล็ตฟอร์มที่ซับซ้อนต่างๆ เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล และปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ระบบล้มเหลวไม่สามารถทำงานได้
ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ สามารถใช้ร่วมกับชิปเซ็ต อินเทล E8870 ที่จะออกสู่ตลาดใน ไตรมาสที่สามนี้ ซึ่งชิปเซ็ตดังกล่าวจะสามารถใช้กับระบบต่างๆ ที่มีโปรเซสเซอร์ตั้งแต่ 2 ถึง 16 ตัว หรือมากกว่านั้นในหนึ่งระบบโดยใช้สวิตช์แบบเดิมของโออีเอ็ม (OEM custom switches) ชิปเซ็ต อินเทล E8870 นี้สามารถไว้วางใจได้สูง พร้อมต่อการทำงาน และสามารถขยายขีดความสามารถได้ในอนาคต รวมทั้งความล้ำหน้าอื่นๆ อาทิ พอร์ตที่ปรับขีดความสามารถได้ บัสชนิด bi-directional point to point ความเร็วสูงที่มีแบนด์วิธขนาด 6.4 GB/s นอกจากนี้คู่ค้าแบบโออีเอ็มของอินเทลยังได้มีการวางแผนที่จะพัฒนาชิปเซ็ตของตนเองเพื่อใช้กับไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ด้วย ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำออกสู่ตลาดได้ในไตรมาสที่สามของปีนี้ และจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ อินเทลยังมีแพล็ตฟอร์มพื้นฐานที่ใช้ ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ เป็นตัวประมวลผลเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบเครื่องอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แก่ แพล็ตฟอร์มรุ่น SR870BN4 ซึ่งมีจำหน่ายในครึ่งหลังของปีนี้ เป็นแพล็ตฟอร์มสำหรับเซิร์ฟเวอร์แบบ 4 ทาง 4U (4-way, 4U) ที่มีการออกแบบในลักษณะโมดุลในบรรจุภัณฑ์ที่ แน่นหนาสำหรับตลาด เอ็นเตอร์ไพรซ์ และองค์กรที่ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพสูง
ไอเทเนียม ทู โปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยแคช L3 ที่มีให้เลือกทั้งขนาด 3 MB และ 1 MB บรรจุอยู่ในตัวโปรเซสเซอร์ มีรุ่นความเร็วสองรุ่นคือ 1 GHz และ 900 MHz จำหน่ายในราคาประมาณตัวละ 1,339 - 4,226 เหรียญสหรัฐ
อินเทลเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำในการผลิตคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล ระบบเครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่ เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom
* ชื่อหรือตราผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เอ่ยถึงในเอกสารฉบับนี้เป็นสมบัติของผู้เป็นเจ้าของชื่อและตราผลิตภัณฑ์นั้นๆ Intel และ Itanium เป็นเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ของอินเทล คอร์ปอร์เรชั่น หรือบริษัทสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
** การทดสอบประมวลผลรายการต่างๆ ซึ่งเป็นการประเมินสำหรับระบบที่ใช้ Sun UltraSPARC III 1050 MHz และไอเทียม 2 โปรเซสเซอร์ ในการประมวลผล คาดการณ์ผลการทำงานโดยใช้เครื่องต้นแบบที่ใช้ ไอเทเนียม 2 โปรเซสเซอร์ จำนวน 4 ตัว ความเร็ว 1GHz และ แคช L3 ในตัว ขนาด 3MB, 32GB DDRAM, Microsoft.NET* Beta OS หรือ Windows*2000 64-bit Beta OS โดยใช้การประมวลผลรายการแบบออนไลน์ (OLTP) ทั้งหมดทำการทดสอบที่อินเทล
ติดต่อ:
คุณเพชราภรณ์ เจริญนิพนธ์วานิช คุณอัปษร เพชรชาติ
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์
โทรศัพท์: (66 2) 654-0654 โทรศัพท์: (66 2 ) 627 3501
e-Mail:
[email protected] e-Mail:
[email protected] จบ--
-นห-