เปิดหลักสูตรสถาปัตย์อนุรักษ์พลังงาน สร้างบ้านแปงเมืองเพื่ออนาคต

กรุงเทพ--19 ม.ค.--สพช. เมื่อเร็วๆ นี้ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.)ได้สนับสนุนให้มีการสัมมนาคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก 13 สถาบัน รวม 45คน ในเรื่อง "เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน"เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ให้มีเนื้อหาด้านการอนุรักษ์พลังงานซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญของวงการ สถาปัตย์ โดยมีการร่วมระดมความคิดเห็นและเสนอแนะวิธีการในการพัฒนาหลักสูตรหลากหลายแง่มุมด้วยกัน เริ่มต้นเปิดประเด็นโดย ศ.ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรผู้มีผลงานด้านการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานมามากมายชี้ว่าการกำหนดให้หลักสูตรสถาปัตย์มีเรื่องการอนุรักษ์พลังงานถือเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญของวิชาชีพสถาปัตยกรรมในอนาคตซึ่งสถาปนิกจะต้องมีจิตสำนึก และมีความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานก็จะสามารถออกแบบอาคาร เลือกวัสดุในการก่อสร้าง วางผังทิศทางของบ้านและสามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อาทิ แสงแดด ลม ต้นไม้เพื่อให้เกิดผลด้านการอนุรักษ์พลังงานในระยะยาวได้อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ชี้อีกว่าการพัฒนาหลักสูตรต้องพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ โดยการทำวิจัยให้มากขึ้นสำหรับในเรื่องของเครื่องมือประกอบการสอนก็สามารถแบ่งกันใช้ระหว่างสถาบันได้ซึ่งหากการร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องการปรับหลักสูตรสถาปัตย์ในเบื้องต้นก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องอาศัยงบประมาณมากมายนัก ด้าน รศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอให้คำนึงถึงเรื่องการปรับแต่งสภาพแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยอันเนื่องมาจากการออกแบบอาคารบ้านเรือนที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขาดการนำประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้เพื่อลดการใช้พลังงานซึ่งหากสถาปนิกมีความเข้าใจในการนำปัจจัยทางธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในการประหยัดพลังงานก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เช่น การใช้ประโยชน์จากต้นไม้ใหญ่พืชคลุมดิน วัสดุปูผิวดิน ความเย็นจากดิน ทิศทางลม ความลาดเอียงของพื้นดินและแหล่งน้ำ เป็นต้น สำหรับ รศ.ดร.วีระ สัจกุล จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสนอแนะว่าบรรดาอาจารย์ผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์พลังงานและประสานกันเป็นทีมทั้งภายในสถาบันและระหว่างสถาบันรวมทั้งผนวกวิชาความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานเข้ากับหลายๆวิชาที่เกี่ยวข้องกัน อาทิ การออกแบบอาคาร การวางผังเมือง ภูมิสถาปัตย์เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องจัดทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างจริงจังและต่อเนื่องให้สัมพันธ์กับการเรียนการสอนและคาดว่าในอนาคตเรื่องการอนุรักษ์พลังงานจะถูกบรรจุเป็นหัวข้อหนึ่งในการสอบใบอนุญาตของสถาปนิก และการต่ออายุใบประกาศวิชาชีพสามัญด้วย ซึ่งนิสิต นักศึกษารวมทั้งสถาปนิกจะต้องมีการเตรียมการในเรื่องดังกล่าวโดยการเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ของตนเองในเรื่องดังกล่าวด้วย รศ. จรัญพัฒน์ ภูวนันท์ รองคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมีข้อเสนอต่อการปรับปรุงหลักสูตรสถาปัตยกรรมในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานว่าในระยะสั้น โครงสร้างของหลักสูตรนั้นสามารถทำได้โดยการเสริมเนื้อหาดังกล่าวเข้าไป โดยยังไม่ต้องเพิ่มเป็นวิชาใหม่สำหรับระยะยาว สามารถแยกออกมาเป็นวิชาเฉพาะได้ ซึ่งควรมุ่งไปที่ระดับปริญญาโทสำหรับปริญญาตรี อาจจะบรรจุอยู่ในวิชาพื้นฐานทั่วไปได้ สุดท้าย รศ.ยุพยง เหมะศิลปิน อาจารย์จากภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสนอว่าในการนำเรื่องการอนุรักษ์พลังงานไปสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียนนั้นควรร่วมมือกันและทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างหลักสูตรและชี้ว่าสถาบันการศึกษาบางแห่งมีการเตรียมความพร้อมไว้บางส่วนแล้วส่วนสถาบันที่เพิ่งจะเริ่มเปิดสอนวิชาสถาปัตย์คิดว่าสถาบันที่มีความพร้อมน่าจะเป็นพี่เลี้ยงให้ได้นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างบุคลากรรองรับ เพื่อเป็นการเสริมกำลังโดยการพัฒนาการเรียนการสอน การทำวิจัยหรือการคิดค้นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงในการอนุรักษ์พลังงานซึ่งในเรื่องดังกล่าวจะต้องมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ได้ดำเนินการปรับหลักสูตรมาแล้ว 5 ปีซึ่งได้รับการผนวกเข้าไปในหลักสูตรใหม่ซึ่งเพิ่งจะได้รับการปรับปรุงไปแล้ว 7 วิชา ภายหลังการสัมมนา คณาจารย์ทั้งหลายจะได้นำข้อเสนอและวิธีการต่างๆในการปรับปรุงหลักสูตร กลับไปประชุมในแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างหลักสูตร"สถาปัตย์-อนุรักษ์พลังงาน" ในอนาคต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ "รวมพลังหาร 2" โทรศัพท์ 280-5820 280 - 0951 - 7 628-7745-53 ต่อ 142, 144 โทรสาร280 - 5821 ข้อมูลผ่านโทรสารอัตโนมัติ 280 - 5823--จบ--

ข่าวกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน+กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติวันนี้

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาวาระที่สำคัญด้านพลังงาน ดังนี้ - การปรับลดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการผ่อนภาระประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการต่างๆ ในเรื่องต้นทุนรายจ่ายที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจปรับตัวสูงขึ้น และด้วยฐานะการเงินของกองทุนฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560

กระทรวงพลังงาน ประกาศปรับเพิ่มการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

กระทรวงพลังงาน ประกาศปรับเพิ่มการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 โดยมีผลบังคับใช้วันนี้เป็นต้นไป ระบุ ราคาขายปลีกน้ำมัน...

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หนุน ก.พ. นำร่องโอนย้ายข้าราชการไปทำงานใกล้บ้านหวังแก้ปัญหาจราจรและประหยัดน้ำมัน 26.8 ล้านบาท/ปี

กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--สพช. กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หนุน ก.พ. จัดทำโครงการนำร่องโอนย้าย ข้าราชไปทำงานใกล้บ้าน ตั้งเป้า 3 ปี จะมีการโอนย้ายไม่น้อยกว่า 20,000...

สพช. เดินหน้าโครงการ "น้ำหาร 2" เริ่มที่กลุ่มเป้าหมายเยาวชน กับการประกวดวาดภาพ "ผู้พิทักษ์รักน้ำ ของฉัน"

กรุงเทพฯ--2 ต.ค.-เจเอสแอล สพช. เดินหน้าโครงการ "น้ำหาร 2" เริ่มที่กลุ่มเป้าหมายเยาวชน กับการประกวดวาดภาพ "ผู้พิทักษ์รักน้ำ ของฉัน" ในกลุ่มเด็กประถมฯ "ค่ายอนุรักษ์น้ำและพลังงาน"ในกลุ่มเด็กมัธยมฯ ...

"พิทักษ์"หนุน สพช. ให้แก้ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วและน้ำมันพืชใช้แล้ว เป็นพลังงานทดแทนปีละ 300 ล้านลิตร ลดการนำเข้าน้ำมัน 1,500 ล้านบาท

กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--สพช. นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมหนุน สพช. แก้ปัญหาน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมและน้ำมันหล่อลื่นคุณภาพต่ำ ให้...

สพช. คัด 37 โครงการเด่นด้านอนุรักษ์พลังงานโชว์ศักยภาพงานวิจัยไทย

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--สพช. สพช. จัดเวทีโชว์ศักยภาพงานวิจัยจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 37 โครงการ วันที่ 17-19 กันยายนนี้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน...

สพช. ร่วมกับ กฟผ. รับสมัครติดโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้าน 50 หลัง

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--สพช. สพช. ร่วมกับ กฟผ. เปิดโครงการติดโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้าน 50 หลังผลิตไฟฟ้าใช้เองในบ้าน 4,000 หน่วยต่อปี ประหยัดเงินปีละ 12,880 บาทต่อหลัง นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน...

สพช. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คัดเลือกโรงงานนำร่อง 10 แห่ง ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--สพช. สพช. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คัดเลือกโรงงานนำร่อง 10 แห่ง ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ใช้งบประมาณแห่งละ 1 ล้าน 1 แสนบาท ทางการออกให้ร้อยละ 60 หวังลดกำลังการผลิต...

สพช. จับมือ สภาอุตสาหกรรมฯ คัดเลือก 10 โรงงานนำร่อง ติดโซลาร์เซลล์

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--สพช. สพช. จับมือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คัดเลือกโรงงานนำร่อง 10 แห่ง ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ตั้งเป้าลดการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 63,000 กิโลวัตต์ต่อปี นายเมตตา บันเทิงสุข รองเลขาธิการ คณะกรรมการน...

สพช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันรักษ์พลังงานฯ ขยายศูนย์รีไซเคิล 40 แห่ง ใน จ.นนทบุรี

กรุงเทพฯ--11 มิ.ย.--สพช. สพช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ขยายโครงการ"ขยะเพิ่มทรัพย์" เปิดศูนย์รีไซเคิลในโรงเรียนระดับประถมศึกษา จ.นนทบุรี 40 แห่ง หวังปลูกฝังเยาวชนช่วยแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน นายวีระพล...