ปรส. ชี้แจงข้อเท็จจริงจากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร

กรุงเทพ--5 ก.พ.--ปรส. องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นที่อาจยังมีความไม่ชัดเจนจากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2542 ประเด็นดังกล่าวประกอบด้วย การที่ ปรส. อนุญาตให้สถาบันการเงิน 13 แห่ง จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท หลักทรัพย์ เอกธำรง จำกัด (มหาชน) การเจรจาต่อรองเพื่อเพิ่มราคาประมูลสินเชื่อธุรกิจและทำสัญญาแบ่งปันผลกำไร (Profit Sharing) และการอนุญาติให้บริษัท เลแมน บราเดอร์ส ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เข้าร่วมประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. การอนุญาตให้สถาบันการเงินในความดูแลของ ปรส. จำนวน 13 แห่ง จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง จำกัด (มหาชน) (S-ONE) ในช่วงเดือนมีนาคม 2541 เป็นการดำเนินการภายใต้กรอบพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 8 (7) ซึ่งระบุให้ ปรส. มีอำนาจในการกระทำกิจกรรมทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งคือการรักษามูลค่าสินทรัพย์ให้อยู่ในระดับสูงสุด เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ โดยในกรณีหุ้น S-ONE ดังกล่าว หาก ปรส. ไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะก่อให้เกิดผลเสียในแง่ที่ทำให้หุ้น S-ONE ที่สถาบันการเงินถือครองอยู่ซึ่งครบกำหนดการใช้สิทธิจองหุ้นเพิ่มทุนกลับมีมูลค่าลดลง คณะกรรมการ ปรส. จึงมีมติให้สถาบันการเงินที่ถือหุ้น S-ONE ต่ำกว่า 100,000 หุ้น ขายหุ้น S-ONE ทั้งหมดผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนถึงกำหนดวันหมดสิทธิจองหุ้นเพิ่มทุน ส่วนสถาบันการเงินที่ถือหุ้น S-ONE เกิน 100,000 หุ้น ให้ขายหุ้นบางส่วนก่อนและนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าวมาใช้ในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น และรักษามูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์ไว้เพื่อจำหน่ายในเวลาถัดมา ในส่วนของการเจรจาต่อรองกับผู้ประมูลเพื่อเพิ่มราคาประมูลสินทรัพย์และการทำสัญญาแบ่งปันผลกำไร (Profit Sharing) ในการจำหน่ายสินเชื่อธุรกิจบางกลุ่มนั้น หาก ปรส. ไม่ดำเนินการและเก็บสินทรัพย์เหล่านั้นไว้เพื่อประมูลในครั้งต่อไป ก็จะมีผลให้สินทรัพย์นั้นเสื่อมค่าลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาประมูลที่จะได้รับในอนาคตอาจตกต่ำลงไปอีก ดังนั้น เมื่อ ปรส. จำหน่านสินทรัพย์ออกไป และผู้ชนะการประมูลนำสินทรัพย์ไปบริหารจะช่วยให้สินทรัพย์นั้นกลับมีคุณภาพดีขึ้นได้ เพิ่มโอกาสที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืนในจำนวนมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น ผลกำไรที่เกิดขึ้นก็จะนำมาแบ่งปันตามโครงสร้างแบ่งปันผลกำไรในอนาคตตามที่กำหนดไว้ สำหรับกรณีที่มีการอนุญาตให้ บริษัท เลแมน บราเดอร์ส ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของ ปรส. เข้าร่วมประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ได้นั้น เนื่องจากปรส. มั่นใจว่าที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวไม่มีโอกาสจะรับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการประมูลสินทรัพย์มากกว่าผู้ประมูลรายอื่นได้เลย ตามหลักเกณฑ์ซึ่ง ปรส. กำหนดขึ้น ผู้เข้าร่วมประมูลต้องขอรับแฟ้มข้อมูลการจำหน่ายในรูปของ ซีดีรอม และเข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูล โดยข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการประเมินราคาสินทรัพย์ที่ประมูลล้วนอยู่ในห้องเก็บข้อมูลทั้งสิ้น เช่น รายละเอียดสัญญาเงินกู้ รายละเอียดเกี่ยวกับลูกหนี้ ข้อมูลการวิเคราะห์สินเชื่อและฐานะการเงินของลูกหนี้ ข้อมูลผู้ค้ำประกัน และข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันเงินกู้เป็นต้น ห้องเก็บข้อมูลนี้มีระบบควบคุมที่รัดกุมเข้มงวด อนุญาตให้เช้าได้เฉพาะพนักงาน ปรส. ที่ต้องปฏิบัติงานในห้องเก็บข้อมูลโดยตรง และผู้แทนของผู้เข้าร่วมประมูลที่มีหนังสือมอบหมายจากผู้เข้าร่วมประมูลอย่างชัดเจนว่าเป็นผู้ที่มีหน้าที่เข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งต้องผ่านการตรวจเอกสารหลักฐานประจำตัวก่อนเข้าห้องเก็บข้อมูลทุกครั้ง ที่ปรึกษาทางการเงิน แม้จะได้รับทราบข้อมูลที่ปรากฎในซีดีรอม แต่จะไม่มีโอกาสได้เข้าศึกษาข้อมูลในห้องเก็บข้อมูลอย่างเด็ดขาด ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับราคาอ้างอิง (Benchmark Price) ที่เป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งของ ปรส. ซึ่งมีการคำนวนเป็นการภายในนั้น ผู้ดำเนินการคำนวนเป็นพนักงานของ ปรส. ที่ได้รับมอบหมาย ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการคำนวนจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับแม้แต่คณะกรรมการ ปรส.เลขาธิการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา หรือพนักงาน ปรส. ในหน่วยงานอื่นๆก็ไม่สามารถล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าวได้ คณะกรรมการ ปรส. จะได้ทราบข้อมูลราคาอ้างอิงเฉพาะในช่วงเวลาการพิจารณาประเมินผลการประมูลเท่านั้นนอกจากนั้น ปรส. ยังมีการใช้ระบบป้องกัน หลายขั้นตอนเพื่อป้องกันข้อมูลราคาอ้างอิงรั่วไหลหรือการจงใจทำลายข้อมูลด้วย องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 เป็นองค์กรอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 58 แห่งที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริต ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ดร. มนตรี เจนวิทย์การ (ปรส.) โทร. 263-3345-9 ต่อ 102 หรือ บริษัท เพรสโก้ แซนด์วิค (ประเทศไทย) จำกัดโทร. 273-8800 โทรสาร. 273-8800--จบ--

ข่าวองค์การเพื่อการปฏิรูประบบ+หลักทรัพย์ เอกธำรงวันนี้

ปรส. ชี้แจงข้อเท็จจริงจากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร

กรุงเทพ--5 ก.พ.--ปรส. องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นที่อาจยังมีความไม่ชัดเจนจากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2542 ประเด็นดังกล่าวประกอบด้วย การที่ ปรส. อนุญาตให้สถาบันการเงิน 13 แห่ง จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท หลักทรัพย์ เอกธำรง จำกัด (มหาชน) การเจรจาต่อรองเพื่อเพิ่มราคาประมูลสินเชื่อธุรกิจและทำสัญญาแบ่งปันผลกำไร (Profit Sharing) และการอนุญาติให้บริษัท เลแมน บราเดอร์ส ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เข้าร่วมประมูลสินทรัพย์ของ ปรส

แถลงผลการดำเนินคดี ปรส. เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557

สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเรียนเพิ่มเติมว่า เรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) มีการร้องเรียนกล่าวหาคณะกรรมการ ปรส. และผู้บริหาร ปรส. รวม 10 คน ประกอบด้วย นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ นายอมเรศ ศิลาอ่อน นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์...

ปปช ชี้แจงกรณีนายพร้อมพงศ์ขอทราบผลการพิจารณาคดี ปรส

วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2557) เวลา 10.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้มาติดตามและขอทราบผลการพิจารณาคดี ปรส. ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ช. ขอเรียนว่าเรื่องกล่าวหาเกี่ยวกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)...

นางวิวรรณ ลาออกจากธนาคารกสิกรไทย

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการได้สั่งฟ้องคดีการขายทอดตลาดสินทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา...

เลห์แมน บราเดอร์ส ชี้แจงเรื่องการสอบสวนคดีปรส.ของดีเอสไอ

เลห์แมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ใคร่ขอชี้แจงรายละเอียดและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสอบสวนของกรมสืบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอใน คดีการขายสินทรัพย์ที่อยู่อาศัยขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ตามที่...

บทบาทที่แตกต่างของ บสท. และ ปรส.

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--บสท. ประเด็นหนึ่งที่อาจสร้างความสับสนให้กับทุกคนในขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการ ดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กับ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น...

เอกพัฒน์ แจ็คพอต ได้จัดสรรเงินคืนเจ้าแรก

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--ปรส. ปรส. แจง บงล.เอกพัฒน์ เป็นรายแรกที่ได้จัดประชุมเจ้าหนี้ กลุ่มแรกยังเหลืออีก 6 บริษัท พร้อมเร่งสถาบันการเงินทั้ง 51 แห่ง เตรียมเอกสารเพื่อเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลายในปีหน้าดร.มนตรี เจนวิทย์การ เลขาธิการองค์การ...

บอร์ด ปรส.สั่งอำนวยความสะดวกให้ สตง.เข้ามาตรวจสอบเต็มที่

กรุงเทพ--2 มิ.ย.--ปรส. คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.43 โดยมีนายกมล จันทิมา ประธานกรรมการ ปรส. เป็นประธาน ได้รับแจ้งเรื่องที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะส่งเจ้าหน้าที่...

ปรส.ประมูลขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดฯ ครั้งที่ 26

กรุงเทพ--30 พ.ค.--ปรส. องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยหน่วยประสานงาน ด้านการจำหน่ายทรัพย์สินที่มิใช่ทรัพย์สินหลัก (Asset Disposition Coordination Unit : ADCU) จะดำเนินการประมูลขายทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน...

"บงล.ธนไทย" มอบหมาย "คริสตี้ส์" จัดประมูลภาพศิลปะชั้นเยี่ยม และธนบัตรหายาก 18 มี.ค.นี้

กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--ปรส. (อาคารสินธร 9 มีนาคม 2543) ดร.มนตรี เจนวิทย์การ เลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) แถลงต่อสื่อมวลชนว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นสถาบันการ...