รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีสถานีสีลม

กรุงเทพ--10 ต.ค.--องค์การรถไฟฟ้ามหานคร ตามที่ประธานกรรมการและกรรมการบริหารโรงแรมดุสิตธานี จำกัด (คุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย) และคณะร่วมกันแถลงข่าว เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 โดยมี ประเด็นหลัก คือ รฟม.มีการเปลี่ยนแบบก่อสร้างที่สถานีสีลมกลับไปกลับมาโดยจะก่อสร้างให้เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 5 ชั้น มีพื้นที่รวมถึง 2.5 หมื่นตารางเมตร และการที่ รฟม.จะเข้าไปขุดเจาะสำรวจดินบริเวณหน้าโรงแรม 15 จุด ทั้ง ๆ ที่ทางโรงแรมมีแบบแสดงที่ตั้งระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมจะให้กับรฟม.อยู่แล้ว รวมทั้งหากเกิดอุบัติเหตุจากการขุดเจาะกับผู้มาพักและใช้บริการ จะทำให้โรงแรมดุสิตธานี ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ นั้น องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชนดังนี้ การพิจารณาข้อร้องเรียนกรณีสถานสีลม 1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและผู้ถือหุ้นบริษัท โรงแรมดุสิตธานี จำกัด ได้มีหนังสือที่ ทก 0012/0738 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2539 นำเรียนฯพณฯรองนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นแจ้งให้ทราบ ว่าประธานกรรมการโรงแรมดุสิตธานี (คุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย) ได้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทราบเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโรงแรมดุสิตธานี อันเนื่องมาจากองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) จะก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณด้านหน้าโรงแรมดุสิตธานี (สถานีสีลม) จึงขอให้รฟม.พิจารณาทบทวนพิจารณาให้ความเป็นธรรมตามความเหมาะสม 2. รฟม.ได้นำเรื่องให้คณะกรรมการ รฟม. พิจารณา ในการประชุมครั้งที่ 15/2539 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2539 ซึ่งคณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติให้ รฟม.พิจารณาศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งว่า จะสามารถก่อสร้างสถานีสีลมในบริเวณอื่นนอกเหนือจากด้านหน้าโรงแรมดุสิตธานีได้หรือไม่ โดยให้เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียและความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ และให้เสนอคณะกรรมการ รฟม.พิจารณาต่อไป 3. รฟม.ที่ปรึกษาบริหารโครงการ และกลุ่มบริษัท Joint Venture BCKT ซึ่งเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ได้ร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้สำหรับทางเลือกในการย้ายที่ตั้งสถานีสีลมในบริเวณใกล้เคียงอื่น ๆ ที่คาดว่าจะมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค นอกเหนือไปจากบริเวณด้านหน้าโรงแรม รวมทั้งพิจารณาการเปลี่ยนแนวอุโมงค์รถไฟฟ้าเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบในการเวนคืนที่ดิน และผลกระทบอันเนื่องจากการก่อสร้างต่อประชาชนผู้อยู่อาศัยข้างเคียง โดยได้นำเสนอคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาต่อเนื่องกันมาหลายครั้งจนถึงการประชุมครั้งที่ 5/2540 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2540 คณะกรรมการ รฟม. จึงได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม.ดำเนินการก่อสร้างสถานีสีลมที่ตำแหน่งเดิม ซึ่งการเป็นก่อสร้างสถานีโดยใช้พื้นที่ถนนพระราม 4 ด้านฝั่งทิศใต้ และพื้นที่บางส่วนของลานจอดรถยนต์โรงแรมดุสิตธานี ประมาณ 10 เมตร จากแนวรั้วของโรงแรม เหตุผลการเลือกที่ตั้งสถานี 4. รฟม.ขอเรียนว่าการกำหนดพื้นที่ก่อสร้างที่สถานีสีลมได้คำนึงด้วยเหตุและผลมาโดยตลอด และจนเมื่อโรงแรมดุสิตธานีเรียกร้องให้ รฟม. พิจารณาทบทวน ก็ได้นำทางเลือกต่าง ๆ มาพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ทั้งในพื้นที่ใกล้เคียง บริเวณใต้สะพานไทย-ญี่ปุ่น และในที่สุดเห็นว่าจำเป็นต้องก่อสร้างที่หน้าโรงแรมดุสิตธานี ด้วยเหตุผลเพราะเป็นจุดตัดกับโครงการรถไฟฟ้าธนายง เป็นจุดเชื่อมต่อถนนสายหลัก เป็นย่านสัญจรของประชาชน ยังมีความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงโครงสร้างและฐานรากของสะพานไทย-ญี่ปุ่น และอุโมงค์ส่งน้ำขนาดใหญ่ของการประปานครหลวง อีกทั้งการกำหนดจุดก่อสร้างสถานีสีลมที่หน้าโรงแรมดุสิตธานี ยังจะมีผลกระทบตต่อประชาชนทั่วไปและการจราจรน้อยกว่าการก่อสร้างที่บริเวณอื่น การกำหนดรูปแบบสถานี 5. สถานีสีลมที่ รฟม.ได้กำหนดไว้ตั้งแต่การออกแบบเบื้องต้นโดยบริษัท Halcrow Asia นั้นจะประกอบด้วยโถงผู้โดยสาร ชั้นขายตั๋วโดยสาร และชานชาลา ส่วนที่ได้เคยกำหนดให้มีชั้นลานจอดรถใต้ดินที่สถานีนี้ ก็เพื่อประโยชน์ของผู้มาใช้บริการของโรงแรมดุสิตธานีเป็นหลัก อย่างไรก็ตามภายหลังจากการร้องเรียนของโรงแรมดุสิตธานี รฟม.จึงได้ตัดส่วนที่เป็นลานจอดรถออกไป และด้วยเหตุที่จะต้องกำหนดความกว้างของสถานีให้แคบลง จึงจำเป็นจะต้องขยายความยาวไปตามแนวถนนพระราม 4 เพิ่มขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดวาง เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้สถานีสีลม จะมีขนาดเล็กที่สุดในทุกสถานีของโครงการนี้ โดยมีความกว้างภายในสถานี 18 เมตร ความยาวสถานี 154 เมตร เป็นพื้นที่รวมไม่เกิน 12,000 ตารางเมตรเท่านั้น ไม่ใช่จะมีพื้นที่มากถึง 25,000 ตารางเมตร ตามที่โรงแรมดุสิตธานีกล่าวอ้างแต่อย่างใด การลดผลกระทบการก่อสร้าง 6. เพื่อที่จะลดผลกระทบจากการก่อสร้าง รฟม.ที่ปรึกษาบริหารโครงการและผู้รับจ้างก่อสร้างได้พิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับแผนการก่อสร้าง ซึ่งจะให้มีการแบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ในแต่ละขั้นตอนจะมีการใช้พื้นที่ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และทั้งนี้ในทุกขั้นตอนการก่อสร้างจะต้องจัดให้โรงแรมดุสิตธานีมีทางรถยนต์เข้าออกได้ตลอดเวลาด้วย การขุดเจาะสำรวจดิน 7. การขุดเจาะสำรวจดินและระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน จำนวน 15 หลุม บริเวณพื้นที่ลานจอดรถของโรงแรมดุสิตธานีในเขตพื้นที่ลึกเข้าไปจากแนวรั้วประมาณ 10 เมตร นั้น โดยแต่ละหลุมจะมีความกว้างประมาณ 1.2 เมตร ยาว 5 เมตร เป็นความจำเป็นที่ผู้รับจ้างก่อสร้างจะต้องเก็บข้อมูลเพื่อเตรียมการก่อสร้าง โดยเฉพาะเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อโรงแรมดุสิตธานีได้ และนับเป็นความกรุณาที่โรงแรมดุสิตธานีได้กรุณามอบแบบแปลนสาธารณูปโภคและผลการสำรวจดินที่โรงแรมได้เคยกระทำมาก่อนหน้านี้ ให้กับ รฟม. ซึ่งหากมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอ จะสามารถลดจำนวนหลุมที่จะขุดเจาะสำรวจลงไปจากเดิมได้ 8. อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นจะต้องมีการขุดเจาะสำรวจดินและระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน รฟม. ขอเรียนว่า ตามแผนที่กำหนดไว้ผู้รับจ้างก่อสร้างจะใช้เวลาในการขุดเจาะสำรวจในช่วงเวลา 8.00-18.00 น. ขุดวันละประมาณ 2 หลุม และจะมีการกลบกลับหลุมที่ขุดให้แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยภายในวันเดียวกัน และจะใช้เวลาในการดำเนินการขุดเจาะสำรวจหลุมทั้งสิ้นเพียงประมาณ 10 วันเท่านั้น ความรับผิดต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง 9. รฟม.ขอเรียนให้ทราบว่า ตามสัญญาที่ รฟม.กระทำไว้กับผู้รับจ้างก่อสร้าง หากเกิดความเสียหายใด ๆ ต่อบุคคลอื่น ต่ออาคาร หรือความเสียหายต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ผู้รับจ้างก่อสร้างจะต้องรับผิดชอบชดใช้ ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทได้แจ้งให้ รฟม.ทราบว่าได้มีการทำประกันภัยตามขอบเขตดังกล่าวกับบริษัททิพยประกันภัยไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท้ายที่สุดนี้ขอเรียนว่าที่ผ่านมาในกรณีสถานีสีลมนี้ รฟม.ได้มีการประสานกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโรงแรมดุสิตธานีอย่างต่อเนื่องตลอดมา รวมไปถึงการนำเสนอในรายละเอียดและการจัดทำรูปแบบจำลองของสถานีสีลมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย อีกทั้งพร้อมที่จะควบคุมกำกับผู้รับจ้างก่อสร้างให้ดำเนินการเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้บังเกิดผลกระทบต่อโรงแรมดุสิตธานีน้อยที่สุด โดยมุ่งหวังว่าเมื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรก (หัวลำโพง-ศูนย์ประชุมฯสิริกิติ์-บางซื่อ) นี้ก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถอำนวยประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนมากที่สุด--จบ--

ข่าวองค์การรถไฟฟ้ามหานคร+ศูนย์การค้าขนาดใหญ่วันนี้

รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีสถานีสีลม

กรุงเทพ--10 ต.ค.--องค์การรถไฟฟ้ามหานคร ตามที่ประธานกรรมการและกรรมการบริหารโรงแรมดุสิตธานี จำกัด (คุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย) และคณะร่วมกันแถลงข่าว เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 โดยมี ประเด็นหลัก คือ รฟม.มีการเปลี่ยนแบบก่อสร้างที่สถานีสีลมกลับไปกลับมาโดยจะก่อสร้างให้เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ 5 ชั้น มีพื้นที่รวมถึง 2.5 หมื่นตารางเมตร และการที่ รฟม.จะเข้าไปขุดเจาะสำรวจดินบริเวณหน้าโรงแรม 15 จุด ทั้ง ๆ ที่ทางโรงแรมมีแบบแสดงที่ตั้งระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมจะให้กับรฟม.อยู่แล้ว รวมทั้งหากเกิดอุบัติเหตุจากการขุด

กฟน.ชี้แจงข่าวกรณีนำเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไปลงทุน

กรุงเทพฯ--20 ธ.ค.--กฟน. นาย ชลิต เรืองวิเศษ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยว่า ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวในเรื่องการนำเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไปลงทุนในบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (บีเอ็มซีแอล) ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ขององค์การรถ...

กทม.เสนอโครงการปรับปรุงที่ดิน รฟม. 153 ไร่ เป็นศูนย์แสดงสินค้า75 จังหวัด และตลาดนัดไนท์ บาซาร์

กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--กทม. นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ได้ตกลงจะให้กรุงเทพมหานครเช่าที่ดินของ รฟม. พื้นที่ 153 ไร่ บริเวณข้างที่ทำการรถไฟฟ้ามหานคร...

รฟม. เปลี่ยนชื่อเป็น “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย”

กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พ.ร.บ. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ...

องค์การรถไฟฟ้ามหานครประกาศลดช่องจราจรระหว่างซอยลาดพร้าว

กรุงเทพฯ--10 ส.ค. รฟม. นายประภัสร์ จงสงวน ผู้อำนวยการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร หรือ รฟม. เปิดเผยว่า กิจการร่วมค้าไอโอเอ็น ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงห้วยขวาง-บางซื่อ จะทำการยกหัวขุดเจาะอุโมงค์และอุปกรณ์สนับสนุนการขุด...

ร.ฟ.ม.จ้างสวนดุสิตโพลทำสำรวจ "ความพอใจของประชาชนต่อรถไฟฟ้ามหานคร"

กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--ร.ฟ.ม. นายประภัสร์ จงสงวน ผู้อำนวยการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (ร.ฟ.ม.) เปิดเผยว่า การที่ ร.ฟ.ม.จ้างสถาบันราชภัฎสวนดุสิต สำรวจความพอใจของประชาชนต่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยจะสุ่มตัวอย่างประชากร 2,100 คน ...

องค์การรถไฟฟ้ามหานคร รื้อย้ายสะพานลอยคนเดินข้ามบริเวณแยกลาดพร้าว-พหลโยธิน

กรุงเทพ--9 มิ.ย.--รฟม. นายประภัสร์ จงสงวน ผู้อำนวยการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร หรือ รฟม. เปิดเผยว่ากิจการร่วมค้า ไอโอเอ็น. ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนเหนือ ช่วงห้วยขวาง-บางซื่อ จะรื้อย้ายสะพานลอยคน...

องค์การรถไฟฟ้ามหานครลดช่องจราจรเพื่อประกอบหัวขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน

กรุงเทพ--6 มิ.ย.--รฟม. องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) จะลดช่องจราจร 2 ช่องทาง เพื่อประกอบหัวขุดเจาะอุโมงค์จำนวน 2 หัว ที่สถานีเทียมร่วมมิตร ระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2543 และวันที่ 19-21 มิถุนายน 2543 เวลา 22.30-04.30 น....

SCIB9: แบงก์ชฏา คว้าประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฯ วงเงิน 2,000 ล้านบาท

กรุงเทพ--30 ก.ย.--บมจ.ธนาคารนครหลวงไทย แบงก์ชฏาสภาพคล่องสูง ลงทุนหารายได้ ล่าสุดชนะการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 11 และ 12 รวมวงเงินสูงถึง 2,000 ล้านบาท หลังจากเคยคว้าประมูลพันธบัตรขององค์การรถ...

รฟม.เตรียมจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก

กรุงเทพ--1 มิ.ย.--รฟม. คณะกรรมการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) เห็นชอบให้ รฟม.ดำเนินการเพื่อว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษา เพื่อจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งอื่นๆ ในวงเงินค่าจ้าง 241 ล้านเยน ภายในระยะเวลา 18 ...