กรุงเทพ--24 ก.พ.--กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2540 นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เดินทางไปตรวจเยี่ยม โครงการ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านท่าสวรรค์ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ของศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาและส่งเสริม พลังงาน พร้อมพบปะประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ โดยมี นายประเทศ สูตะบุตร อธิบดีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน คอยต้อนรับและชี้แจงในรายละเอียด
โดยที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมักจะประสบกับภาวะ ความแห้งแล้งอันเกิดจากการขาดแคลนน้ำและฝนทิ้งช่วง เป็นผลให้ได้ผลผลิตไม่มาก เท่าที่ควร กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยกรมพัฒนาและส่ง เสริมพลังงาน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการเร่งรัดขจัดปัญหา ความแห้งแล้งแก่พื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตโครงการชลประทาน โดยการจัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขึ้นที่บริเวณริมฝั่งของแหล่งน้ำ ที่มีน้ำบริบูรณ์ตลอด ทั้งปีทั่วประเทศ ซึ่งสามารถส่งน้ำให้เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ใน พื้นที่สถานีละปรมาณ 500-3,000 ไร่ ทั้งนี้ราษฎรที่อยู่ในบริเวณเพาะปลูกของ โครงการ จะต้องยินดีมอบที่ดินบริเวณแนวคลองที่ส่งน้ำผ่าน ให้ให้แก่กรมพัฒนา และ ส่งเสริมพลังงานโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องยอมรับภาระ ค่าไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการสูบน้ำเข้าพื้นที่ของตน ในอัตราหน่วยละ 0.60 บาท ด้วย และกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน จะรับภาระจ่ายค่าไฟฟ้าสมทบอีกหน่วยละ 0.57 บาท
ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จังหวัดขอนแก่น รับผิดชอบงาน บริการสูบน้ำ งานบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำและอาคารชลประทาน งานบริหารการใช้ น้ำงานขยายคลองซอย (พื้นที่ส่งน้ำ) ปัจจุบันรับผิดชอบสถานีสูบน้ำจำนวน 94 สถานี รวมพื้นที่โครงการ 225,820 ไร่ ในท้องที่ 15 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ ในเขตจังหวัด ขอนแก่น โดยสูบน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่สำคัญ ๆได้แก่ ลำน้ำพอง ลำน้ำซี ลำน้ำเชิญ และอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ทำการสูบน้ำให้กับราษฎรในเขตโครงการได้แล้ว จำนวน 69 สถานี พื้นที่ส่งน้ำ 134,474 ไร่ และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 25 สถานี สำหรับอำเภอมัญจาคีรีรับผิดชอบสถานีสูบน้ำฯ รวม 10 สถานี โดยสถานีสูบน้ำบ้านท่าสวรรค์ เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างใน ปี 2538 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 3,650,000 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในปี 2539 ให้ประโยชน์แก่เกษตรกร ในพื้นที่โครงการ ในการใช้น้ำสำหรับอุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม รวมพื้นที่ประมาณ 1,479 ไร่
นอกจากนี้ การพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ยังมีความประสงค์ให้ราษฎร ในเขตโครงการต่างๆ ที่ได้ทำการก่อสร้างเสร็จแล้วได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำ ในรูปนิติบุคคลเพื่อที่จะสามารถดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น การบริหารการ ใช้น้ำ การดูแลรักษาระบบส่งน้ำ การจัดเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าตลอดจนการวางแผน การผลิตและการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการแบ่งเบาภาระของกรมพัฒนาและ ส่งเสริมพลังงาน ในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายสมบูรณ์ของโครงการ ในการ เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่ราษฎร ในเขตพื้นที่โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ดังนั้น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน จึงได้ติดต่อขอความร่วมมือจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ผู้ใช้น้ำในเขตโครงการสูบน้ำ ด้วยไฟฟ้า โดยเปลี่ยนจากกลุ่มผู้ใช้น้ำเดิม ซึ่งได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งแต่ปีงบประมาณ 2530 เป็นต้นมา ปีละประมาณ 50 แห่ง จนครบตามจำนวนโครงการที่มีอยู่ทั้งหมด
จะเห็นได้ว่าโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เป็นโครงการที่มีลักษณะพิเศษที่ราษฎรได้ให้ความร่วมมือ โดยยินยอมสละที่ดินให้ทำการ ก่อสร้างคลองส่งน้ำ โดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่อย่างใดทำให้การ ก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จสามารถส่งน้ำให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ในระยะแรกได้ภายในระยะเวลา 1/2 - 2 ปี อีกทั้งยินดีจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้ ในการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตามอัตรา ที่กำหนดและจะรับงานของโครงการไปบริหารงาน กันเอง ในรูปของสหกรณ์ต่อไปเป็นการแบ่งเบาภาระ ของรัฐบาลได้เป็นอย่างมาก อีกด้วย--จบ--