ดร.ธรรมนูญ เสนอให้ลดภาษีบุคคลลงมา ชี้ให้ผลดีกว่าลดภาษีนิติบุคคล

กรุงเทพ--25 ก.ค.--ศรีมิตร ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ ศรีมิตร จำกัด (มหาชน) กล่าวแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่รัฐบาลจะประกาศ ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 27% ของผลกำไรว่า ในทางปฏิบัติทางรัฐบาลสมควรลด ภาษีบุคคลแทนการลดภาษีนิติบุคคล เนื่องจากในข้อเท็จจริงภาษี คือ รายรับของรัฐบาล แต่ เป็นรายจ่ายของภาคเอกชน ซึ่งภาคเอกชนนั้นประกอบด้วยธุรกิจ (BUSINESS) ทั้งใน ลักษณะบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด และนิติบุคคลต่าง ๆ กับผู้อุปโภคและบริโภค คือ บุคคล ที่เป็นประชาชนต่าง ๆ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ธุรกิจนั้นไม่ได้เป็นผู้จ่ายภาษีจริง ๆ เพราะ เงินที่จ่ายจากภาคธุรกิจให้กับรัฐบาลในรูปแบบภาษี (โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคล) นั้นถือเป็น ค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่งทางธุรกิจที่จะต้องบวกเข้าไปในต้นทุน แล้วผู้ที่ต้องรับภาระในค่าใช้ จ่ายภาษีจริง ๆ ก็คือ ประชาชนประเภทบุคคล ที่เป็นผู้อุปโภคและผู้บริโภค ดังนั้น การที่ รัฐบาลจะลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% ลงมาที่ 27% นั้นเป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น เนื่อง จากไม่มีผล ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลง นอกจากนี้ เมื่อนิติบุคคลมีผลกำไรมากขึ้นต้องมีภาระในการจ่ายเงินปันผล และ ต้องเสียภาษีในรูปแบบเงินปันผลอีก 10% นับเป็นการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน และไม่เป็นแรงกระตุ้น ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาษีลดลงไปเพียง 3% เท่านั้น หากจะส่งเสริมหรือสร้างแรงกระตุ้นให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น ต้อง ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% ลงไปที่ 15% (หรือต่ำกว่า 15%) ซึ่งจะเท่ากับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของไทย แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถกระทำได้เพราะทุก ๆ 3% ที่รัฐบาลไทย ลดภาษีนิติบุคคลจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้เกือบ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะไปสร้างปัญหา ให้กับนโยบายการคลัง ในรูปแบบของการจัดเก็บภาษีและจัดทำงบประมาณรายจ่ายของภาค รัฐ นอกจากจะออกพระราชกำหนดเอาเงินคงคลังที่มีอยู่ประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท ออกมาใช้เพื่อชดเชยกัน ซึ่งในทางการเมืองแล้วรัฐบาลก็ไม่กล้ากระทำเช่นนั้น เพราะถ้า ทำไปแล้ว ถ้าสภาผู้แทนฯ ไม่ผ่านเป็นพระราชบัญญัติแล้วรัฐบาลต้องลาออกทันที รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บงล.ศรีมิตรได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า รัฐบาลสมควรลดภาษีบุคคล (ไม่ใช่ลดภาษีนิติบุคคล) เพราะนอกจากจะทำให้รายรับสุทธิของ ประชาชนบุคคลต่าง ๆ สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้เม็ดเงินดังกล่าวจะถูกเก็บเป็นเงินออมในระยะ ยาวต่อไป ซึ่งรัฐบาลจะต้องส่งเสริมนโยบายการคลัง (ทางภาษี) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน ได้ออมเงินในระยะยาว เพราะขณะนี้ปัญหาของประเทศ คือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ ประมาณการณ์ว่าเกินกว่า 8% ของผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ซึ่งตัวเลขดังกล่าว คือ ตัวเลขตัวเดียวกันในทางเศรษฐกิจระดับมหภาคของช่องว่างระหว่างเงินออม (SAVINGS) กับเงินลงทุน (INVESTMENT) และหากรัฐบาลไทยสามารถเร่งระดมเงินออม ในระยะยาว โดยใช้การลดภาษีบุคคล เป็นตัวนำร่องแล้วตามด้วยมาตรการส่งเสริมการออม เช่นกองทุนประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญ ทุกรูปแบบ ทั้งภาค เอกชนและรัฐบาล โดยใช้การลดภาษีบุคคลเป็นตัวจุดพลุ นอกจากจะมีเงินออมสูงมากขึ้นแล้ว เงินรับสุทธิเพิ่มขึ้นบางส่วนสามารถนำไปใช้จ่ายในการอุปโภคและบริโภคได้มากขึ้น ก็จะช่วย ทำให้เงินสภาพคล่องในทางธุรกิจสูงขึ้น แต่ต้องใช้นโยบายการเงินจากแบงก์ชาติ กำกับดูแล ไม่ให้เงินเฟ้อสูงเกินไปจนเกิดผลเสียหาย เพราะถ้ามีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่รองรับได้จริง ๆ ตามเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าภาวะเงินเฟ้อ นั้น เป็นเรื่องที่ดี และยอมรับได้ทุกฝ่ายนั่นเอง นอกจากนี้ ดร.ธรรมนูญยังให้ความเห็นอีกว่า ถ้ารัฐบาลลดภาษีบุคคล (ไม่ใช่ ภาษีนิติบุคคล) แล้วจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ในรูปภาษีบุคคลธรรมดา แต่มีทางแก้โดย การอาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายการคลังของประเทศนั้น จะเสริมด้วยภาษีทางอ้อม ซึ่ง ประเทศที่เจริญแล้วนโยบายทางภาษีนั้นพยายามหลีกเลี่ยงเก็บภาษีทางตรง หรือหากต้องจัด เก็บก็พยายามจัดเก็บให้มีอัตราต่ำสุด แต่หลายประเทศได้หันไปใช้หลักการเก็บภาษีทางอ้อม มากที่สุดในอัตราสูงเท่าที่จะเก็บได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันไทยจัดเก็บที่ 7% ซึ่งถ้า เทียบกับกำลังซื้อและเงินออมและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างประเทศไทยใน ขณะนี้แล้ว อัตรา 7% นับว่าต่ำมาก ซึ่งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็เคยแสดงความคิดเห็นมาแล้ว แต่ด้วยกระแสต่อต้านและความไม่เข้าใจของประชาชนส่วนใหญ่จึงคงต้องใช้อัตรา 7% ซึ่งต่ำไป (ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์เขาเก็บถึงเกือบ 20%) พร้อมกับมีเงื่อนไขเป็นทางเลือกให้กับผู้ไม่ต้องการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในทางกลับกันนั้นจะต้องพยายามสร้างเงื่อนไขทั้งทางกฏหมายและในทางปฏิบัติ เพื่อบังคับให้ทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มให้มากที่สุด เนื่องจากเพื่อความยุติธรรมเพราะถ้าผู้ใดอุปโภคและบริโภคมากก็จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นตามลำดับ โดยที่ไม่สนใจว่าจะมี รายได้มาก การปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น นอกจากจะสร้างความยุติธรรมต่อสังคมไทยแล้ว ยังสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับรัฐบาล เนื่องจากประมาณการณ์ว่า ทุก ๆ 1.0% ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น จะมีเงินเข้ารัฐบาลประมาณ 22,000-24,000 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวก็จะมาชดเชยกับเงินภาษี บุคคลที่รัฐจะประกาศลดลงไป เพราะจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า โดยเฉพาะเงินรับ สุทธิในมือประชาชนจะสูงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเงินออม (SAVINGS) ให้สูงมากขึ้น ส่งผล ให้ลดช่องว่างระหว่างเงินออมและเงินลงทุนเท่ากับลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั่นเอง ดังนั้น รัฐบาลน่าจะลดภาษีทางตรงโดยเฉพาะภาษีบุคคล (ไม่ใช่ภาษีนิติบุคคล) และไปเพิ่ม ภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่า--จบ--

ข่าวเงินทุน หลักทรัพย์ ศรีมิตร+ธรรมนูญ อานันโทไทยวันนี้

ดร.ธรรมนูญ เสนอให้ลดภาษีบุคคลลงมา ชี้ให้ผลดีกว่าลดภาษีนิติบุคคล

กรุงเทพ--25 ก.ค.--ศรีมิตร ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ ศรีมิตร จำกัด (มหาชน) กล่าวแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่รัฐบาลจะประกาศ ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 27% ของผลกำไรว่า ในทางปฏิบัติทางรัฐบาลสมควรลด ภาษีบุคคลแทนการลดภาษีนิติบุคคล เนื่องจากในข้อเท็จจริงภาษี คือ รายรับของรัฐบาล แต่ เป็นรายจ่ายของภาคเอกชน ซึ่งภาคเอกชนนั้นประกอบด้วยธุรกิจ (BUSINESS) ทั้งใน ลักษณะบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด และนิติบุคคลต่าง ๆ กับผู้อุปโภคและบริโภค คือ บุคคล ที่

ภาพข่าว: BWG จัดประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554

คุณวิชาญ วิทยาศัย (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จํากัด (มหาชน) หรือ BWG พร้อมด้วย คุณธรรมนูญ อานันโทไทย (กลาง) กรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ และคุณสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ (ที่ 4 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ นำคณะกรรมการบริษัทฯ...

ภาพข่าว: EXIM BANK ส.อ.ท. และ BOI จัดสัมมนารับมือค่าเงินบาทผันผวน

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ...

ปฏิทินธุรกิจวันเสาร์ที่ 15 และวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2543

กรุงเทพ--14 ม.ค.--รอยเตอร์ วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2543 17.30 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารปฏิบัติการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2543 09.00 น. ดร...

CMIC9: ศรีมิตร ดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บ.ไม้อัดไทย

กรุงเทพ--20 มี.ค.--บงล.ศรีมิตร บริษัทไม้อัดไทย ตั้ง บงล.ศรีมิตร บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ระบุ ปี 2540 จะมีกองทุนภายใต้การบริหารเป็นมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท วันที่ 21 มีนาคม ศกนี้ บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตร...

ASIANET: ดร.ธรรมนูญ ชี้มาตรการแก้ไขการขาดดุลเน้นออมเงินระยะยาว

กรุงเทพ--21 พ.ค.--ศรีมิตร ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ บริษัทเงิน ทุนหลักทรัพย์ ศรีมิตร จำกัด (มหาชน) กล่าวแสดงความคิดเห็นของมาตรการเพื่อ ลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และนโยบายต่อสถาบันการเงินไทยของทางการนั้น จะ ช่วยได้...