วันที่ ประเทศสมาชิกอาเซียน6 มกราคม โรงแรมอนันตรา568 - นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The 5th ASEAN Digital Ministers' Meeting: ADGMIN) ณ โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจาก ประเทศสมาชิกอาเซียนสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมคู่เจรจาสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) รวมถึงผู้แทนติมอร์-เลสเต เข้าร่วมกว่า 3สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ คน
สำหรับการประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาดิจิทัลอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมั่นคง โดยประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ มีความยินดีที่ได้ร่วมขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก พร้อมเน้นหัวข้อสำคัญ "Secure, Innovative, Inclusive: Shaping ASEAN's Digital Future" ซึ่งมุ่งสร้างระบบดิจิทัลที่ปลอดภัย ส่งเสริมนวัตกรรม และสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ และได้หยิบยกประเด็นสำคัญสามด้านสำหรับความร่วมมือด้านดิจิทัลในอาเซียน คือ (1) การจัดการปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศและจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลให้มั่นคงปลอดภัย และมีมาตรฐานในการรับมือและต่อสู้กับภัยหลอกลวงออนไลน์ (2) การแก้ไขปัญหาข้อมูลบิดเบือนซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในโลกไซเบอร์ โดยเสนอแนะอาเซียนในเรื่องกลไกการติดตามและตรวจสอบเนื้อหาออนไลน์ ส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัลแก่ประชาชน และ (3) ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นในปัจจุบัน และนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ตระหนักถึง ความเสี่ยง และจริยธรรมในการใช้ AI ทั้งนี้ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงในการเป็นผู้นำและกำหนดมาตรฐาน AI ให้ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน Global Forum on the Ethics of AI ของยูเนสโกในปีนี้
การประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลอาเซียนครั้งที่ 5 นี้ มีเป้าหมายสร้างอนาคตดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ครอบคลุม และนำสมัย พร้อมก้าวข้ามความท้าทายสู่โอกาสใหม่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประเทศไทยในการแสดงศักยภาพในฐานะศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถของประเทศในหลายมิติ
"ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ในหลายด้านจากการประชุมครั้งนี้ ทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านดิจิทัลกับประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจา ซึ่งจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยี รวมถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาทักษะดิจิทัลของคนไทย นอกจากนี้การยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต" นายประเสริฐ กล่าว
การประชุมครั้งนี้ยังมีการหารือและรับรองเอกสารในประเด็นสำคัญ อาทิ มาตรฐานการไหลเวียนข้อมูลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การพัฒนาเทคโนโลยีอุบัติใหม่โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ การเสริมสร้างความมั่นคงไซเบอร์ และข้อแนะนำอาเซียนในการต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ ตอกย้ำบทบาทของไทยในฐานะผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาค พร้อมจัดพิธีมอบรางวัล ASEAN Digital Awards 2025 เพื่อเชิดชูความสำเร็จด้านนวัตกรรมดิจิทัลในภูมิภาค
อย่างไรก็ตามการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาดิจิทัลของอาเซียน และเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยจะยกระดับความสามารถทางดิจิทัลในระดับสากล พร้อมสร้างความร่วมมือเพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนในภูมิภาคนี้
วันที่ 16 มกราคม 2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The 5th ASEAN Digital Ministers' Meeting: ADGMIN) ณ โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมคู่เจรจาสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) รวมถึงผู้แทนติมอร์-เลสเต เข้าร่วมกว่า 300 คน สำหรับการประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาดิจิทัลอย่างทั่วถึง เท่า
ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ดีอีเอส ร่วมเวทีรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ ๑ กับคู่เจรจา หนุนความร่วมมือพัฒนาด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนต่อเนื่อง
—
เมื่อวันพฤหั...
หัวเว่ยเปิดตัวโครงการให้ทุนสนับสนุนร่วมกับไอทียู ขับเคลื่อนการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล
—
หัวเว่ยเข้ามามีบทบาทในกลุ่มพันธมิตรดิจิทัล พาร์ทเนอร์ทูคอนเน็...
หัวเว่ยและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ร่วมลงนามในปฏิญญาความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาและสนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัล
—
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไท...
หัวเว่ย เร่งเพิ่มศักยภาพสตรีสู่ยุคดิจิทัล ภายใต้โครงการ "Girls in ICT" เดินหน้าสร้างความเท่าเทียมด้านไอซีทีแก่เยาวชนทั่วประเทศไทย
—
ในปัจจุบันนี้ การพัฒนา...
หัวเว่ยมุ่งมั่นลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เชื่อมต่อสู่ยุคดิจิทัล
—
หัวเว่ยร่วมลงนามในพันธสัญญาระดับโลกเพื่อเข้าร่วมพันธมิตรกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ...
หัวเว่ยลงนามร่วมพันธกิจระดับโลกของ ITU มุ่งช่วย 120 ล้านคนชนบทเชื่อมต่อโลกดิจิทัลได้
—
บริษัทหัวเว่ย (Huawei) ลงนามเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางดิจิทัลพาร์ทเนอร...
หัวเว่ยร่วมงานประชุมโทรคมนาคมระดับภูมิภาค Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8
—
งานประชุม Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8 จัดขึ้นในระห...