งานประชุม Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ กรุงเทพมหานคร6-กรุงเทพมหานคร7 เมษายน พ.ศ. กรุงเทพมหานคร565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมี Forum Global และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมเป็นเจ้าภาพ และหัวเว่ยเป็นผู้ร่วมจัดงานในฐานะพันธมิตรหลัก โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union หรือ ITU) และองค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APT) ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้คือกลยุทธ์และการพัฒนาคลื่นความถี่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหน่วยงานกำกับดูแลจากประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศเวียดนาม กลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำ China Mobile และ Axiata รวมถึงผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมชั้นนำ เช่น หัวเว่ย และองค์กรผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก (Global System for Mobile Communications) หรือ GSMA เข้าร่วมงาน
คลื่นความถี่ถือเป็นทรัพยากรพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับ 5G และ 5G ขั้นสูง กลยุทธ์การบริหารคลื่นความถี่และมาตรฐานการใช้งานจำเป็นต้องวางแผนให้สอดคล้องกันและมีข้อกำหนดชัดเจน
นายเสน่ห์ สายวงศ์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กสทช. ประเทศไทย กล่าวว่าไทยได้เปิดใช้งานเทคโนโลยี 5G ในเชิงพาณิชย์แล้วบนความถี่ 2.6GHz/700MHz และขณะเดียวกันมีการทดลองใช้งานความถี่ 3.5/28GHz และศึกษาการใช้งานความถี่ 6GHz ภายใต้วาระประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2023 (WRC-23)
ในอนาคต กสทช. กล่าวว่าความต้องการแบนด์วิดท์ในย่านความถี่กลางและต่ำจะสูงถึง 2051MHz เพื่อความเร็วในการดาวน์โหลดของเครือข่าย 5G ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที จากค่าเฉลี่ย 30 เมกะบิตต่อวินาทีของเครือข่าย 4G ในปัจจุบัน การกำหนดคลื่นความถี่ใหม่จะตอบสนองความต้องการจากการเติบโตด้านการใช้งานในอนาคต ซึ่งทำให้จำเป็นต้องมีการขยายเครือข่ายเพิ่มเติมในต่างจังหวัดเพื่อประสบการณ์การเข้าถึงเครือข่าย 5G ที่เท่าเทียม
ตามข้อกำหนดเครือข่ายของ กสทช. ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องขยายเครือข่าย 2600MHz ให้ครอบคลุมพื้นที่ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้ถึง 50% ภายใน 1 ปีและครอบคลุมในเมืองอัจฉริยะภายใน 4 ปี โดยข้อมูลนี้มาจากนางสาวธีร์ตานันท์ ผู้อำนวยการสำนักใบอนุญาตประกอบธุรกิจโทรคมนาคม กสทช. ปัจจุบันบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) มีเครือข่ายครอบคลุม 95.7% และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด มีเครือข่ายครอบคลุม ที่ 94.5% เปิดตัวเครือข่ายโทรคมนาคมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ในขณะที่อัตราครอบคลุมของประชากรผู้ใช้ 5G ทั่วประเทศมีถึง 77% พร้อมจำนวนสถานีฐานบนความถี่ 2600MHz เพิ่มเป็น 17,244 แห่ง ภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565
องค์กรผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก (GSMA) กล่าวว่าภายในปี พ.ศ. 2568-2573 ประเทศต่างๆ ต้องการคลื่นความถี่กลางที่ 2GHz เพื่อให้ได้ประสบการณ์การใช้งานตามมาตรฐาน IMT ซึ่งกำหนดค่าดาวน์ลิงก์ไว้ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที และอัปลิงก์ที่ 50 เมกะบิตต่อวินาที จึงจะบรรลุเป้าหมายของบริการเครือข่าย 5G ดังนั้น ย่านความถี่ 6GHz จึงเป็นตัวเลือกหลักอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดย GSMA เรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแล "พิจารณาการใช้งานย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz สำหรับการใช้งานตามมาตรฐาน IMT ในขณะที่ย่านความถี่ต่ำกว่า 6GHz ควรพิจารณาด้วยหลักการความเป็นกลางทางเทคโนโลยี"
นายตู้ เย่ชิง รองประธานบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G ของหัวเว่ย เน้นย้ำว่า อีก 5-10 ปีข้างหน้า แต่ละประเทศจะต้องการใช้งานย่านความถี่กลางที่ 2000MHz เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่จับต้องได้ ภายใต้สถานการณ์การใช้งาน 5G อย่างเต็มรูปแบบ คลื่นความถี่ 2.1/2.3/2.6/4.9 GHz จะมีอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์ และรองรับการพัฒนา 5G เช่นเดียวกับความถี่ระบบ C-band ซึ่งพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมต่างมุ่งทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอีโคซิสเต็ม 6 GHz ให้สมบูรณ์แบบเพื่อตอบสนองความต้องการเครือข่าย 5G ในระยะยาว
ดร.อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวปิดท้ายว่าคลื่นความถี่ที่ผสานกลมกลืนทั่วโลกถือเป็นกุญแจสำคัญของบริการไร้สาย ช่วยให้เทคโนโลยีและบริการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีราคาที่เหมาะสม มีความปลอดภัย และเข้าถึงการลงทุนที่จำเป็น ผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ทำให้การประชุมเต็มไปด้วยความน่าสนใจ และมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ปี ค.ศ. 2523 (WRC-23) ทั้งการอภิปรายเรื่องย่านความถี่ระบบ C-band เพื่อค้นหาสมดุลในคลื่นความถี่กลาง (mid band) และความสนใจที่เพิ่มขึ้นในคลื่นความถี่ 6GHz การอภิปรายในงานนี้ยังช่วยเตรียมตัวให้ผู้เข้าประชุมร่วมประชุม WRC-23 ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้นในด้านการเชื่อมต่อดิจิทัลของเครือข่าย 5G และด้านอื่น ๆ
หัวเว่ย ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยตลอดช่วงเวลา 23 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากพันธมิตร โดยภายใต้ภารกิจ "เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)" หัวเว่ยมุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายการเป็นพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยีและผู้นำด้านไอซีทีที่เชื่อถือได้ หัวเว่ยเป็นผู้ผลักดันด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและเป็นผู้ส่งเสริมด้านคุณค่าทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมที่จะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน โดยนำดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้านและทุกองค์กร เพื่อประเทศไทยที่เชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะโดยสมบูรณ์
กสทช. ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จัดงาน ITU Regional Office for Asia and the Pacific Opening Ceremony of New Premises ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จัดงาน ITU Regional Office for Asia and the Pacific Opening Ceremony of New Premises หรือพิธีเปิดสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union:
นายกรัฐมนตรีเปิดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 5 ชูบทบาทไทยขับเคลื่อนอาเซียนสู่อนาคตดิจิทัล
—
วันที่ 16 มกราคม 2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร น...
หัวเว่ยเปิดตัวโครงการให้ทุนสนับสนุนร่วมกับไอทียู ขับเคลื่อนการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล
—
หัวเว่ยเข้ามามีบทบาทในกลุ่มพันธมิตรดิจิทัล พาร์ทเนอร์ทูคอนเน็...
หัวเว่ยและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ร่วมลงนามในปฏิญญาความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาและสนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัล
—
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไท...
หัวเว่ย เร่งเพิ่มศักยภาพสตรีสู่ยุคดิจิทัล ภายใต้โครงการ "Girls in ICT" เดินหน้าสร้างความเท่าเทียมด้านไอซีทีแก่เยาวชนทั่วประเทศไทย
—
ในปัจจุบันนี้ การพัฒนา...
หัวเว่ยมุ่งมั่นลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เชื่อมต่อสู่ยุคดิจิทัล
—
หัวเว่ยร่วมลงนามในพันธสัญญาระดับโลกเพื่อเข้าร่วมพันธมิตรกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ...
หัวเว่ยลงนามร่วมพันธกิจระดับโลกของ ITU มุ่งช่วย 120 ล้านคนชนบทเชื่อมต่อโลกดิจิทัลได้
—
บริษัทหัวเว่ย (Huawei) ลงนามเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางดิจิทัลพาร์ทเนอร...
หัวเว่ยร่วมงานประชุมโทรคมนาคมระดับภูมิภาค Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8
—
งานประชุม Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8 จัดขึ้นในระห...
หัวเว่ยจับมือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จัดงาน "Walk into ICT Industry" ร่วมบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีที
—
หัวเว่ยร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (...