นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำของ กทม. เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า กทม. ได้จัดทำแผนเฝ้าระวังจุดฟันหลอและเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกรณีปริมาณน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุนสูง โดยได้ออกคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักงานเขตที่มีชุมชนอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ หรือชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง ดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าและปลั๊กไฟ ตรวจสอบการเรียงกระสอบทรายให้มีความสูงเพียงพอและมีความแข็งแรงสามารถป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้ามาในพื้นที่ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ เช่น จัดทำคันกั้นน้ำชั่วคราวด้วยกระสอบทราย ทำสะพานทางเดินชั่วคราว พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือประชาชนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง แจกจ่ายยารักษาโรค ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำท่วมรับทราบสถานการณ์น้ำขึ้นลงเป็นระยะ ๆ ตามตารางน้ำขึ้นน้ำลงของกรมอุทกศาสตร์ ขณะเดียวกันได้เตรียมความพร้อมสถานีสูบน้ำตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งและคลองสนามชัย (พื้นที่ธนบุรีตอนล่าง) ตามโครงการแก้มลิงมหาชัย-สนามชัย แล้วระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและคลองชายทะเลบางขุนเทียน รวม แม่น้ำเจ้าพระยา,ประชาสัมพันธ์79.ประชาสัมพันธ์5 ลูกบาตรเมตร/วินาที จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตามจุดอ่อน หรือจุดเสี่ยงน้ำท่วม เตรียมความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ทันที อีกทั้งจัดเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่หากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการแก้ไขและช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีตลอด ประชาสัมพันธ์4 ชั่วโมง รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำและเข้าตรวจสอบแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ และคลองพระโขนงในช่วงที่มีน้ำขึ้น
สำหรับแนวป้องกันตนเองบางแห่งที่มีระดับคันกั้นน้ำต่ำและไม่มีความมั่นคงแข็งแรง หรือแนวฟันหลอ กทม. ได้จัดเรียงกระสอบทราย เพื่อเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมชั่วคราว โดยบริเวณที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างปิดแนวฟันหลอและอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณ รวมถึงช่องเปิดท่าเรือต่าง ๆ ได้จัดเรียงกระสอบทราย ความสูง +2.40 ถึง +2.70 ม.รทก. (เมตร.ระดับทะเลปานกลาง) ความยาว 4.35 กิโลเมตร (กม.) โดยใช้กระสอบทราย 248,300 ใบ
ส่วนแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ ความยาวรวม 88 กม. แบ่งเป็น แนวป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ความยาว 80 กม. โดยความยาวรวม 8.0 กม. แบ่งเป็น แนวป้องกันตนเองที่มีความสามารถในการป้องกันน้ำท่วมได้ ความยาว 3.65 กม. และจุดแนวฟันหลอ ความยาวรวม 4.35 กม. ซึ่งจะต้องเร่งก่อสร้างทั้งหมด 32 แห่ง ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ 14 แห่ง ความยาว 1.43 กม. อาทิ ท่าเรือเทเวศร์ องค์การสะพานปลา และชุมชนวังหลัง เป็นต้น คงเหลือจุดแนวฟันหลออีก 18 แห่ง ความยาว 2.92 กม. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 11 แห่ง ความยาว 1.75 กม. เช่น พระรามที่ 3 ซอย 24 แยกเจริญราษฎร์ และองค์การสะพานปลา เป็นต้น และอยู่ระหว่างดำเนินการของบประมาณ 7 แห่ง ความยาว 1.17 กม. เช่น วัดจันทร์สโมสร ชุมชนโรงสี และคลังเก็บเอกสารกรุงไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ กทม. มีแผนเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2567 โดยลดระดับน้ำตามคูคลองให้อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงลดระดับน้ำในแก้มลิงอีก 35 แห่ง และบ่อสูบน้ำ 376 แห่ง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำชั่วคราวในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม โดยเฉพาะบริเวณถนนสายหลัก พื้นที่ชุมชน และพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมในถนนซอย เตรียมความพร้อมอุโมงค์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ประตูระบายน้ำ 248 แห่ง และสถานีสูบน้ำ 195 แห่ง จัดเตรียมความพร้อมอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าถาวร 2 จุด รถเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 17 คัน รถโมบายยูนิต 9 คัน เครื่องสูบน้ำไฮดรอลิก 99 เครื่อง เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ดีเซล 80 เครื่อง เครื่องสูบน้ำหางอ่อน 17 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง และหน่วยบริการเร่งด่วน (หน่วย BEST) เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ขณะเดียวกันได้จัดเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะตะแกรงท่อระบายน้ำ ขยะหน้าตะแกรงสถานีสูบน้ำและบ่อสูบน้ำในขณะที่มีฝนตก เพื่อเร่งระบายน้ำให้ไหลเข้าระบบได้สะดวกรวดเร็ว ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ตู้เมนไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำ ได้แก่ การล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำความยาว 4,309.6 กม. ขุดลอกคูคลอง 184 คลอง เปิดทางน้ำไหล 1,330 คลอง จัดเก็บขยะวัชพืช รวมถึงแก้ไขสิ่งกีดขวาง ทางน้ำบริเวณใต้สะพานและท่อลอดต่าง ๆ ตลอดจนจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน เฝ้าระวังจุดเสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ โดยจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่เกิดเหตุน้ำท่วม หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง 50 เขต ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 67 นอกจากนี้ ปลัด กทม. ยังได้สั่งการให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขตสำรวจชุมชนที่มีปัญหาน้ำท่วมให้เร่งเข้าแก้ไขปัญหาทันที
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงแม่น้ำเจ้าพระยาว่า สนน. ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่เขตประเวศ เขตบางนา เขตพระโขนงและพื้นที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยบึงหนองบอนเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำ (แก้มลิง) รองรับน้ำรอบบึงหนองบอนผ่านคลองต่าง ๆ และเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางอ้อ โดยปัจจุบันผลงานรวมมีความคืบหน้าร้อยละ 96 ทั้งนี้
กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังรับมือสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...
กทม. เตรียมพร้อมสถานีสูบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยารองรับสถานการณ์น้ำ จัดหน่วย BEST ช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชม.
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้...
กทม. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเหนือ เร่งเสริมความสูงแนวคันกั้นน้ำ
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการติดตามเฝ้าระวั...
กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังน้ำเหนือ-น้ำหนุน ตรวจสอบความแข็งแรงแผงคันกั้นน้ำริมเจ้าพระยา
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. ก...
กทม.พร้อมรับมือน้ำเหนือ เฝ้าระวังจุดเสี่ยงน้ำท่วม - เสริมกระสอบทรายแนวฟันหลอ
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการ...
กทม.บูรณาการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังน้ำเหนือพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
—
นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม.กล่าวถึงการ...
กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กล่าวถึงการเ...
กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
—
นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการเตรียมความ...