สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ยกย่องเชิดชู นายพงศธร เจียรศิริ เป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี เครื่องประดับ567 ประเภทเครื่องโลหะ ผู้สืบสานและส่งต่อมรดก ทางภูมิปัญญาในงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่า "งานคร่ำ งานถม" ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับที่มีความร่วมสมัย แต่ยังเติมเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความงดงาม และเสน่ห์แห่งงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่า
นายพงศธร เจียรศิริ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปี 2567 กล่าวว่า เกิดและเติบโตมาในครอบครัวของช่างหัตถศิลป์ที่ทำงานงานคร่ำ งานถม ซึ่งได้แก่ ครูอุทัย เจียรศิริ ครูศิลป์ของแผ่นดินปี 2562 และยังแวดล้อมไปด้วยช่างฝีมือมากมายรายล้อมรอบตัว เด็กบางคนตื่นมาได้ดูการ์ตูนก่อน ในขณะที่ลูกหลานช่างฝีมือ จะเห็นและได้สัมผัสกับการทำงานหัตถกรรมก่อน จึงทำให้เกิดความผูกพัน และชื่นชอบ จึงเริ่มทำงานหัตถกรรมตั้งแต่จบปริญญาตรี จากนั้นก็มุ่งมั่นตั้งใจว่าจะสานต่อมรดกทางภูมิปัญญาในด้านงานคร่ำ งานถม จากคุณพ่อเรื่อยมา จึงได้ศึกษาต่อปริญญาโท ด้านการออกแบบเครื่องประดับโดยนำความรู้ที่ได้มาพัฒนา ต่อยอดจากงานทักษะเชิงช่างอันทรงคุณค่าของคุณพ่อ สร้างสรรค์เป็นงานร่วมสมัยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า ได้มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของงานคร่ำ งานถม ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เพราะมีความตั้งใจว่า จะสร้างงานของตนเองให้เป็นรูปแบบที่ร่วมสมัยมากขึ้นที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการแต่งกายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้ผู้คนเกิดความชื่นชอบและหลงรักในงานหัตถศิลป์ไทย ที่สะท้อนถึงทักษะและภูมิปัญญาของช่างฝีมือที่รังสรรค์ชิ้นงานด้วยความประณีต ใช้เวลา และความตั้งใจจนชิ้นงานมีความสวยงาม ล้ำค่า
โดยมีเทคนิคที่โดดเด่น คือ การทำคร่ำเงิน และคร่ำทอง ซึ่งเป็นการนำเอาองค์ความรู้กรรมวิธีการทำงานคร่ำ งานหัตถกรรมชั้นสูงที่ใกล้สูญหายของไทย ที่เป็นการใช้ทองคำ หรือเงินลงลวดลายลงบนแผ่นโลหะ มาแต่งแต้มผสมผสานกับงานเครื่องถมขึ้นรูปเป็นชิ้นงานเครื่องประดับที่ได้นำเอางานหัตถศิลป์ชั้นสูงมาถ่ายทอดลงบนชิ้นงานที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ความแตกต่างของผลงานของคุณพงศธร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือการนำเทคนิคการออกแบบ Art Deco ของทางยุโรปที่เน้นความสง่า หรูหรา เริ่มตั้งแต่การร่างแบบสร้างโมเดลจำลองวางลวดลาย รวมไปถึงการเขียนลายบนชิ้นงาน และปรับประยุกต์เข้ากับงานจิวเวอรี่ ผสมผสานเทคนิคของงานคร่ำ และงานถม จนเกิดเป็นผลงานแนวใหม่ ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของงานเครื่องถม แต่เพิ่มเติมเสน่ห์ด้วยดีไซน์ และจิวเวอรี่ที่โดดเด่น สะดุดตามมากขึ้น และที่สำคัญคือ เป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ตั้งต้นที่อยากจะสืบทอดงานหัตถศิลป์ชั้นสูง และส่งต่อมรดกทางภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าไม่ให้สูญหายไป
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ยกย่องเชิดชู นายพงศธร เจียรศิริ เป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2567 ประเภทเครื่องโลหะ ผู้สืบสานและส่งต่อมรดก ทางภูมิปัญญาในงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่า "งานคร่ำ งานถม" ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับที่มีความร่วมสมัย แต่ยังเติมเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความงดงาม และเสน่ห์แห่งงานหัตถศิลป์ทรงคุณค่า นายพงศธร เจียรศิริ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปี 2567 กล่าวว่า เกิดและเติบโตมาในครอบครัวของช่างหัตถศิลป์ที่ทำงานงานคร่ำ งานถม ซึ่งได้แก่ ครูอุทัย
สานต่อคุณค่างานหัตถกรรมแห่งชาติพันธุ์ “มละบริ” สู่งานคราฟต์เอาใจคนรักธรรมชาติ
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. สืบสานและส่งต่อภูมิ...
SACIT Universal Craft Market เชิญชวนผู้จัดจำหน่ายเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน...
SACIT Universal Craft Market เชิญชวนผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค...
SACIT Concept 2023 เชิญชวนเหล่านักออกแบบร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ได้ดำเนินการจั...
SACIT Concept 2023 เชิญชวนเหล่าผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ไ...
"SACIT" เสริมจุดแข็งงานศิลปหัตถกรรมไทยโกอินเตอร์ ชูโครงการสำคัญ เชื่อมโยงตลาด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตั้งเป้าสร้างการยอมรับในระดับนานาชาติ
—
สถาบันส่งเสริม...
สศท. เชิดชูครูผู้สืบสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมแทงหยวกที่ใกล้สูญหาย
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ส่งต่อองค์ความรู้ งานศิลปหัตถกรรม...
สศท.ชวนสัมผัส "หัตถศิลป์ที่คิดถึง" สืบสานคุณค่างานหัตถกรรมใกล้สูญหาย ในงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15
—
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรื...