กทม.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่-เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคไข้เลือดออก

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังและมาตรการเชิงรุก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนอ.ได้เตรียมพร้อมมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยจัดทำสื่อทั้งแผ่นพับและสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ โดยโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อจากฝอยละอองจากการไอ หรือจามรดกัน หรืออาจติดต่อจากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย

กทม.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่-เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคไข้เลือดออก

วิธีการป้องกัน ได้แก่ การดูแลสุขภาพ และ "ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด" เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปิด - ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปในที่ชุมชน ล้าง - ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ เลี่ยง - หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หยุด - หยุดเมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด และหากมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดให้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หากพบว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ต้องรับประทานยา พักผ่อนมาก ๆ เช็ดตัวลดไข้ ดื่มน้ำสะอาด ประมาณ 5-7 วัน หรือจนอาการดีขึ้น

โดยเฉพาะประชาชน 7 กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิต ได้แก่ (1) หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป (2) เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี (3) ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน (4) ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป (5) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ (6) โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งรวมผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการด้วย และ (7) ผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ควรไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง

ส่วนแนวโน้มและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2566 มีการแพร่ระบาดมากกว่าปี 2565 มาก จำนวนผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 28 ต.ค.66 จำนวน 9,431 ราย มีผู้เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5 - 14 ปี รองลงมาอายุ 15 - 34 ปี และ 0 - 4 ปี ตามลำดับ มีอัตราผู้ป่วยสะสม 3 อันดับแรกในเขตจตุจักร เขตสะพานสูง และเขตหนองจอก ตามลำดับ โดยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเขตประเวศ เขตบางกะปิ และเขตจตุจักร ตามลำดับ

ทั้งนี้ สนอ. ร่วมกับ สำนักงานเขตพัฒนาปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง อาทิ การจัดการสุขาภิบาลในชุมชนแออัด การจัดการแหล่งน้ำขังอย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งในบ้าน ชุมชน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือและจัดทำแผนจัดกิจกรรมจัดการสิ่งแวดล้อม Big Cleaning ในชุมชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงทุกสัปดาห์ ทั้งบริเวณบ้านพักอาศัย สถานศึกษา ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ โดยสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ใส่ทรายทีมีฟอส คว่ำภาชนะ เก็บขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยผนวกกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการดูแลสุขลักษณะและจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยทุกครั้ง

นอกจากนั้น สนอ.ยังร่วมกับภาคเอกชนจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการโรงเรียนติด Guard ห่างไกลไข้เลือดออก ผ่านโรงเรียนนำร่องที่อยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงสูง เพื่อให้ครูและนักเรียนตัวแทนได้เรียนรู้และรู้จักวิธีป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพและนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ เพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่สามารถป้องกันได้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่ประชาชนสามารถลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของไข้เลือดออกด้วยการเฝ้าระวังยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรค เช่น มาตรการ 5 ป. 1ข. คือ

ปิด - ปิด หรือคว่ำภาชนะ เพื่อป้องกันยุงไข่ เปลี่ยน - เปลี่ยนน้ำในภาชนะให้สะอาดอยู่เสมอ ปล่อย - ปล่อยปลาลงในอ่างเพื่อกินลูกน้ำยุงลาย ปรับ - ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ลดขยะและแหล่งน้ำขัง ปฏิบัติ - ควรปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ขัด - ควรขัดขอบภาชนะเป็นประจำเพราะยุงลายชอบวางไข่ตามขอบภาชนะ หรือมาตรการ 3 เก็บ คือ เก็บบ้านไม่ให้รก เก็บขยะไปทิ้งอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เก็บน้ำปิดฝาภาชนะให้มิดชิด ทำลายแหล่งน้ำขัง เป็นต้น

ขณะเดียวกันได้ประชาสัมพันธ์ความรู้และคำแนะนำแก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองและการสังเกตอาการของโรคไข้เลือดออกในทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง เช่น สื่อมัลติมีเดีย แอปพลิเคชัน หากมีไข้สูงเกิน 2 วัน รับประทานยาแล้วไข้ไม่ลด หรือลดแล้วไข้กลับมาสูงอีก ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา หรือมีอาการเลือดออกส่วนใหญ่พบที่ผิวหนัง ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยให้รับประทานยาพาราเชตามอล (Paracetamol) และให้หลีกเลี่ยงยาประเภท NSAIDs เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน

ทั้งนี้ สนอ.ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีการประชุมทุกสัปดาห์และแจ้งเตือนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกให้กับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเขตและศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาด รวมทั้งอบรมพัฒนาความรู้และจัดการอบรมซ้อมแผนการดำเนินงานการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้บุคลากรเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถ และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้ทันท่วงที


ข่าวสุนทร สุนทรชาติ+โรคไข้เลือดออกวันนี้

"วิว" กุลวุฒิ ชวนฉีดวัคซีน ป้องกันตนเองและครอบครัว ให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก

"วิว" กุลวุฒิ ชวนฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก หลังคว้าแชมป์แบดมินตัน ชายเดี่ยว Indonesia Masters 2025 ที่อินโดฯ ลั่นไล่ล่าฝัน "ออล อิงแลนด์" ช่วงมีนาคมนี้ โรงพยาบาลวิภาวดี ได้จัดแถลงข่าวกิจกรรม "Dengue Zero" ภายใต้ Concept "ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องป้องกัน" โดยมี นายแพทย์สุนทร สุนทรชาติ รองปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด มหาชน ร่วมด้วย นางญาดา พัฑฒฆายน กรรมการบริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด มหาชน , นายแพทย์ชัยสิทธิ์ คุปต์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการ

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม.ปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิ...

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่-เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคไข้เลือดออก — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึง...

กทม.เฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ใช้กลไ... กทม.เฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ใช้กลไก อสส.ช่วยกำจัดแหล่งเพาะยุงลายในชุมชน — กทม.เฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ใช้กลไก อสส.ช่วยกำจัดแหล่งเพาะยุงลายใน...

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม. ตรวจสอบร้านยาดองในพื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออก เตือนประชาชนหลีกเลี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณ...

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม. เน้นย้ำมาตรการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงในกรุงเทพฯ — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสถา...

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม. เดินหน้ามาตรการเชิงรุกป้องกันแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา-สถานประกอบการ-ชุมชน — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงแนวทางกา...

นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย... กทม.เน้นย้ำมาตรการป้องกันส่วนบุคคล - รับวัคซีนโควิด 19 ประจำปี ป้องกันติดเชื้อโควิด 19 — นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงสถาน...