นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) และโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนอ.ร่วมกับสำนักงานเขตพัฒนาปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง อาทิ การจัดการสุขาภิบาลในชุมชนแออัด การจัดการแหล่งน้ำขังอย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ตามมาตรการ 5ป 1ข คือ ปิด หรือคว่ำภาชนะ เพื่อป้องกันยุงวางไข่ เปลี่ยนน้ำในภาชนะให้สะอาดอยู่เสมอทุก 7 วัน ตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง ปล่อยปลาลงในอ่าง เพื่อกินลูกน้ำยุงลาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด ปลอดโปร่ง ลดขยะและแหล่งน้ำขัง
ควรปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และขัดล้างไข่ยุงลาย โดยขัดล้างภาชนะใส่น้ำก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ พร้อมทั้ง "3 เก็บป้องกัน 3 โรค" คือ เก็บบ้าน ไม่ให้รก เก็บขยะไปทิ้งอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด ทำลายแหล่งน้ำขัง ทั้งในบ้าน ชุมชน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ขณะเดียวกันได้ประสานความร่วมมือและจัดทำแผนดำเนินกิจกรรมจัดการสิ่งแวดล้อม (Big cleaning) ในชุมชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงทุกสัปดาห์ ทั้งบริเวณบ้านพักอาศัย ภายในชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ ได้แก่ การสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ใส่ทรายทีมีฟอส คว่ำภาชนะ เก็บขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยผนวกกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการดูแลสุขลักษณะและจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยทุกครั้ง
นอกจากนั้น สำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข สนอ.ยังได้แจ้งเตือนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกให้หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเขต และศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.สัปดาห์ละครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาด รวมทั้งจัดอบรมพัฒนาความรู้และซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้บุคลากรเจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถ และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้ทันท่วงที อีกทั้งรณรงค์ส่งเสริมความรู้และสร้างความตระหนักถึงวิธีป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด ตลอดจนประชาสัมพันธ์วิธีสังเกตอาการของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) และโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ให้เพิ่มความระมัดระวังตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสซิกา ซึ่งสามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) และโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนอ.ร่วมกับสำนักงานเขตพัฒนาปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง อาทิ การจัดการสุขาภิบาลในชุมชนแออัด การจัดการแหล่งน้ำขังอย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ตามมาตรการ 5ป 1ข คือ ปิด หรือคว่ำภาชนะ เพื่อป้องกันยุงวางไข่ เปลี่ยนน้ำในภาชนะให้สะอาดอยู่เสมอทุก 7
กทม.พัฒนาปรับปรุงระบบจัดการด้านสาธารณสุขเขตเมือง พร้อมเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
—
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.)...
กทม.รุกป้องกันควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แนะปฏิบัติตามมาตรการ 5 ป.
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล่าวถึงมาตรการเชิงร...
สคร. 12 สงขลา เตือนหน้าฝน เสี่ยงป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เน้นย้ำ หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันอย่าให้ยุงลายกัด
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร....
สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด แล้วมีอาการปวดท้องข้างขวา คลื่นไส้ เบื่ออาหาร มีผื่นขึ้นใต้ผิวหนัง ให้รีบพบแพทย์ทันที
—
สถานการณ์โร...
สคร. 12 สงขลา เตือนหน้าฝน ระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
—
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ห่วงหน้าฝน มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลาย เช่น โรคไข้...
สคร.10 อุบลฯ แนะกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
—
นางศุภศรัย สง่าวงศ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานป้อ...
สคร. 12 สงขลา แนะทำความเข้าใจโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
—
ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ช่วงหน้...
กรมควบคุมโรคแนะ ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัดป้องกันไข้ซิกา ชี้ไทยยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากการสัมผัส
—
นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปร...
สคร.10 อุบลฯ แนะวิธีป้องกันไวรัสซิกา ย้ำไม่ให้ยุงเกิด ไม่ให้ยุงกัด ป้องกันซิก้าได้ 100 %
—
นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1...