คอลเลคเชียส (Collectius) พันธมิตรชั้นนำด้านการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินในเอเชีย ทำข้อตกลงเข้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ในประเทศไทยเพิ่มอีก 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.48 พันล้านบาท) ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล นับเป็นการเดินหน้าซื้อพอร์ตสินเชื่อที่แข็งแกร่งของคอลเลคเชียส ตั้งแต่บริษัทได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2559
จนถึงปัจจุบัน คอลเลคเชียสได้เข้าซื้อ NPL ในประเทศไทยเป็นมูลค่ารวมแล้วทั้งสิ้น 581 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้บริการลูกค้ามากกว่า 700,000 รายในประเทศ ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 91% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แต่สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้น และรัฐบาลกำลังตอบสนองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วยแผนการปรับเพิ่มอัตราจ่ายขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิต จาก 5% เป็น 8% ในปี 2567 และกลับสู่เกณฑ์ปกติที่ 10% ในปี 2568 ขณะที่คอลเลคเทียสเตรียมให้การสนับสนุนลูกค้าชาวไทยมากขึ้นบนเส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน ด้วยการคว้าพอร์ตสินเชื่อเพิ่มเติมในอีก 12 เดือนข้างหน้า
เคียน โฟห์ เทิน (Kian Foh Then) ซีอีโอกลุ่มบริษัทคอลเลคเชียส กล่าวถึงการทำข้อตกลงล่าสุดว่า "การเข้าซื้อสินเชื่อครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการสนับสนุนระบบนิเวศทางการเงินของไทย และมอบอำนาจให้ลูกค้าอีก 47,000 รายได้ปลอดหนี้ แนวทางของเราซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรและความสามารถด้านดิจิทัล ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะสามารถให้บริการ NPL ได้อย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน"
ในฐานะบริษัทฟินเทคชั้นนำจากสิงคโปร์ที่บุกเบิกการซื้อหนี้เข้ามาบริหาร คอลเลคเชียสได้ร่วมมือกับ IFC ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ในปี 2563 เพื่อเปิดตัวแพลตฟอร์มการลงทุนมูลค่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้โครงการฟื้นฟูสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Distressed Asset Recovery Program: DARP) โดยมุ่งเน้นไปที่การเข้าซื้อและแก้ไขหนี้เสียในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ด้วยความพยายามร่วมกันของผู้เข้าร่วมโครงการ DARP ธนาคารต่าง ๆ จึงสามารถปลดหนี้ NPL มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และช่วยเหลือครัวเรือนและ SME มากกว่า 18 ล้านรายในการปลดเปลื้องภาระหนี้สิน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ คอลเลคเชียสเพิ่งทำข้อตกลงเข้าซื้อ NPL มูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐกับผู้บุกเบิกธนาคารดิจิทัลในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการขยายการดำเนินงานของบริษัทในระดับภูมิภาค โดยคอลเลคเชียส ในฐานะพันธมิตรนับตั้งแต่ก่อตั้ง ได้บริหารการติดตามหนี้ของธนาคารรายนี้แบบครบวงจร นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือ คอลเลคเชียสยังเตรียมเปิดตัวโครงการนำร่องที่จะช่วยให้ธนาคารพันธมิตรสามารถโอนลูกค้า NPL ในอนาคตเพื่อการแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างราบรื่น
คอลเลคเชียสยังคงเดินหน้าส่งเสริมบทบาทการเป็นพันธมิตรรับซื้อ NPL ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ ทั้งนี้ ในปี 2565 บริษัทมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้นเป็น 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้บริการลูกค้ามากกว่า 6.3 ล้านรายทั่วสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย อินเดีย และเวียดนาม
เกี่ยวกับคอลเลคเชียส
คอลเลคเชียส (Collectius) ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 เป็นบริษัทฟินเทคชั้นนำของเอเชียที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการหนี้ โดยมีการดำเนินงานในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และอินเดีย พร้อมด้วยฐานลูกค้าที่เติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่า 6 ล้านราย บริษัทบริหารพอร์ตสินเชื่อผู้บริโภคและ SME มูลค่ากว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ซื้อโดยคอลเลคเชียส หรือที่ถือครองโดยหน่วยงานอิสระ
ในตลาดที่ผู้คนราว 100 ล้านคนได้รับผลกระทบจากแนวปฏิบัติในการจัดการหนี้เสีย คอลเลคเชียสถือเป็นผู้นำตลาด โดยบริษัทได้กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับอุตสาหกรรมด้วยความร่วมมือกับบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) 'วิธีการติดตามหนี้แบบคอลเลคเชียส' (Collectius way of Collection) เป็นแนวทางการบริหารจัดการหนี้ที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และสนับสนุนโดยแพลตฟอร์มการติดตามหนี้ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล แมชชีนเลิร์นนิงและการสื่อสารแบบ Digital-First คอลเลคเชียสมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของระบบการเงินในเอเชีย ด้วยการเปิดโอกาสให้ธนาคารและสถาบันการเงินปลดเปลื้องภาระสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อันจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับงบดุลของธนาคาร และช่วยให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ต่อไป
ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ของคอลเลคเชียส ได้แก่ กุสตอฟ เอ. อีริคส์สัน (Gustav A. Eriksson) และอิวาร์ บีเยิร์กลุนด์ (Ivar Bjoerklund) ส่วนหุ้นที่เหลือถือโดยบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC), สเตนา เอบี (Stena AB) และฟอร์มิกา แคปิตอล (Formica Capital)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit