ลดแป้งลงอีกนิดชีวิตก็เปลี่ยน

พรหนึ่งประการที่สาวๆ ปรารถนามากที่สุดนอกจากแก้วแหวนเงินทอง และเจ้าชายรูปงามแล้ว สาวๆ ส่วนใหญ่ลงมติกันมาว่าอยากได้พรข้อนี้มากที่สุดค่ะ ข้อที่ว่า ขอให้ "ทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน"

ก็ในเมื่อเมนูอาหารแสนอร่อย หน้าตาเย้ายวนใจช่างถูกครีเอทออกมามากมายเหลือเกิน ใครจะไปห้ามใจไหว สุดท้าย ขอแบบทานแล้วย่อยทันใจ ทานเยอะเท่าไรก็ไม่อ้วนนี่ล่ะดีที่สุด

เอาล่ะค่ะ ไหนๆ ก็เปิดประเด็นมาแล้วด้วยเรื่องของอาหาร และความอ้วน ไลฟ์เซ็นเตอร์บล็อกจะพากันไปทำความรู้จักกับ Low Carb หรือชื่อเต็มๆ ว่า Low Carbohydrate Diet กับการควบคุมโภชนาการแบบถูกวิธี และช่วยให้น้ำหนักลดอย่างได้ผลกันดีกว่าค่ะ

การลดน้ำหนักแบบ Low Carb ที่มีชื่อเต็มว่า Low Carbohydrate Diet นั้นเป็นการลดปริมาณการรับประทานอาหารประเภทแป้งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง มันฝรั่ง ข้าว พาสต้า เค้ก และขนมหวานต่างๆที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเมื่อทานเข้าไปแล้ว ร่างกายจะย่อยเป็นน้ำตาล เมื่อร่างกายใช้น้ำตาลเหล่านี้ไม่หมด ก็จะเปลี่ยนเป็นไขมันเพื่อเก็บสะสม เป็นที่มาของความอ้วน การลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต จะเป็นการบังคับให้ร่างกายดึงไขมันที่สะสมอยู่ออกมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้เกิดการลดน้ำหนักจากการเผาผลาญไขมันในร่างกายโดยตรง

การควบคุมโภชนาการในแนวทางดังกล่าว สามารถรับประทานโปรตีนได้ไม่จำกัด เนื่องจากส่วนของโปรตีน ร่างกายจะไม่นำมาใช้เป็นพลังงาน แต่จะใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเพื่อการเจริญเติบโตเท่านั้น การลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้จึงมีข้อดีที่ไม่ทำให้เกิดภาวะเครียดจากการอดอาหาร เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ลดน้ำหนัก

อย่างไรก็ตาม สาวๆ หลายคนบ่นกันว่าทานแต่ผลไม้ ทั้งมะม่วง สับปะรด บางทีก็มีทุเรียนปนมาบ้าง ทำไมน้ำหนักไม่ลด …. ก็จะลดได้อย่างไรล่ะคะ ก็ในเมื่อผลไม้แต่ละอย่างต่างมีแป้งและน้ำตาลสูงๆ ทั้งนั้นเลย เพราะ "คาร์โบไฮเดรต" ไม่ใช่แค่ "ข้าว" อย่างเดียว แต่ในผลไม้ก็มีคาร์โบไฮเดรตเหมือนกัน ยิ่งทานเยอะก็มีโอกาสอ้วนได้แน่นอนเลยล่ะค่ะ

สำหรับผู้ที่อยากจะเริ่มจัดการด้านโภชนาการ อยากทาน Low Carb ในแบบที่ไม่ให้อ้วน ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันทีละส่วนเลยค่ะ

  1. คาร์โบไฮเดรตคืออาหารจำพวกแป้ง ข้าว ผัก ผลไม้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Simple Carbohydrate คือ คาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย เปลี่ยนเป็นน้ำตาลในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เช่น ขนมเค้ก ของหวาน ครัวซองต์ ข้าว ข้าวเหนียว Complex carbohydrate คือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เมื่อรับประทาน ร่างกายจะค่อยๆดูดซึม ไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว เช่น พืชผัก ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ธัญพืชดังนั้นการรับประทานคาร์โบไฮเดรตแบบ Complex carbohydrate จึงดีกว่า Simple carbohydrate
  2. การรับประทานอาหารแบบ Low Carbohydrate Diet เป็นเวลานาน จะส่งผลต่อระดับเกลือแร่ในเลือดได้ เช่น ทำให้ระดับโปรแตสเซียมในเลือดต่ำ สารคีโตนสูง หรือทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด เป็นอันตรายกับร่างกายได้ จึงควรทำการตรวจวัดระดับในเลือดเป็นระยะๆ
  3. การรับประทานอาหารแบบ Low Carbohydrate Diet ในระยะยาว ร่างกายอาจจะขาดเส้นใยอาหาร ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขับถ่าย การเสริมอาหารจำพวกไฟเบอร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งยังอาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินบางตัวที่มีในอาหารประเภทแป้ง ผัก และผลไม้ได้ จึงควรเสริมด้วยวิตามิน และเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสม
  4. ผู้ที่มีภาวะอ้วนแต่ละคนจะมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป ควรทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตนเองว่าเป็นอย่างไร มีระบบการย่อยหรือการเผาผลาญ หรือที่เรียกว่า Metabolism ที่ดีหรือไม่ บางคนรับประทานน้อยก็ยังมีน้ำหนักเกินได้ เนื่องจากระบบการเผาผลาญไม่ดี อาจเกิดจากฮอร์โมนที่ช่วยในเรื่องการเผาผลาญ เป็นต้น การลดน้ำหนักที่ดี จึงควรวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปรับแก้ไขให้เหมาะสม
  5. ผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้
  6. ถ้าต้องการใช้วิธี Low Carbohydrate Diet ลดน้ำหนักในระยะยาว นานเกินกว่า 1 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และนักโภชนาการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ทั้งยังป้องกันภาวะที่อาจเกิดเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้

ได้ทราบกันไปแล้ว ก้บเรื่องของ Low Carb … ลองดูนะคะ ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน โดยเฉพาะสำหรับใครที่อยากสวยหุ่นดีมีกล้ามนิดๆ วิธีนี้เหมาะสมแน่นอนค่ะ และ สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินก็น่าจะได้รู้จัก Low Carb กันมากขึ้น อาจจะพอเป็นข้อมูลดีๆไว้แนะนำคนรอบๆตัวได้บ้าง

สุดท้ายนี้ ดูแลเรื่องโภชนาการกันแล้ว อย่าลืมแบ่งเวลาให้กับการออกกำลังกายกันด้วยนะคะ ขอให้แข็งแรง หุ่นดี ฟิต แอนด์เฟิร์ม กันทุกคนค่ะ


ข่าวไลฟ์เซ็นเตอร์+เซ็นเตอร์วันนี้

โรคเบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลสูง แต่อันตรายกว่านั้น

โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นโรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ (60-110 mg/dL) แบบเรื้อรัง โดยปกติอินซูลิน (Insulin) จะเป็นตัวนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แต่ถ้ามีความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินได้น้อยลง หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)j ได้อธิบายเพิ่มเติม

ใครบ้างคะ...ที่ช่วงนี้กำลังอินกับพระเอกหน... คู่มือดูแลตัวเองในวัย 40 — ใครบ้างคะ...ที่ช่วงนี้กำลังอินกับพระเอกหนุ่มใหญ่ซีรีส์เกาหลี แม้อายุจะเข้าเลข 4 แต่ก็ยังหล่อโอปป้า ทำสาวไทยใจละลาย...

ใครเป็นบ้างคะ ช่วงมีงานสังสรรค์จัดเต็มมาก... พุงของคุณเป็นแบบไหน — ใครเป็นบ้างคะ ช่วงมีงานสังสรรค์จัดเต็มมากทั้งอาหาร แอลกอฮอล์ น้ำหนักขึ้นมาหลายกิโล ลงพุง หน้าท้องเริ่มออก พุงเริ่มเป็นชั้นๆ ลองสัง...

เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจก... อาหารที่ดีต่อหัวใจ — เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจกันหน่อยค่า หัวใจแข็งแรงดีอยู่ไหม? เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ การรักษาสุขภาพหัวใจเป็น...

เริ่มต้นปีใหม่มาดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ต้นปี... ตรวจสุขภาพเชิงป้องกันสำหรับผู้สูงวัยสำคัญอย่างไร? — เริ่มต้นปีใหม่มาดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ต้นปีด้วยการตรวจสุขภาพกันนะคะ ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งจำเป็นเพ...

อยากมีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก ยุคนี้มีตัว... เปิดลิสต์ 7 อาหารช่วยชะลอวัย — อยากมีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก ยุคนี้มีตัวช่วยมากมายทั้งวิตามินเทคโนโลยี แต่ถ้าอยากชะลอวัยแบบง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง สามารถ...

ในร่างกายของมนุษย์เรามีจุลินทรีย์และแบคที... แบคทีเรียในลำไส้กับการเกิดโรค — ในร่างกายของมนุษย์เรามีจุลินทรีย์และแบคทีเรียในลำไส้มากถึง 100 ล้านล้านตัว มีทั้งที่เป็นตัวดีและตัวไม่ดี แล้วรู้ไหมคะว่า...

สาวๆ อาจจะเคยคิดว่าเครื่องสำอางทั้งหลายบน... เครื่องสำอางหมดอายุ — สาวๆ อาจจะเคยคิดว่าเครื่องสำอางทั้งหลายบนโต๊ะเครื่องแป้งนั้นมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 2-3 ปี แต่รู้หรือไม่คะว่าเรากำลังเข้า...

คงปฎิเสธไม่ได้ว่า "ความอ่อนเพลียระหว่างวั... เคล็ดไม่ลับแก้อาการอ่อนเพลียระหว่างวัน — คงปฎิเสธไม่ได้ว่า "ความอ่อนเพลียระหว่างวัน" คือศัตรูตัวร้ายของวัยทำงานโดยเฉพาะ ในช่วงเวลาหลังพักเที...

เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือช่วงอายุตั้งแต่ 50 ... อาหารสำหรับวัยทอง — เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ร่างกายก็เริ่มผลิตฮอร์โมนทางเพศได้ไม่เหมือนเดิม นำมาซึ่งอาการผิดปกติมากมาย ไม่ว่าจะ...