เปิดวงเสวนา ร่วมถอดบทเรียนความสำเร็จของการบริหารจัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมหนุนงานวิจัยสังคมสู่การใช้ประโยชน์จริง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมจัดงานเสวนา "การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านสังคมจากภาคนโยบายสู่การบริหารจัดการทุน การขยายผลและการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ : ถอดบทเรียนจากกองทุนส่งเสริม ววน. และกองทุน สสส." เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการกองทุนทั้งในส่วนของ กองทุน สสส. ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของคนไทย และกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กองทุนสำคัญที่เป็นกลไกสนับสนุนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของประเทศ รวมถึงการร่วมแลกเปลี่ยนกันในประเด็นการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านสังคมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีผู้มีบทบาทสำคัญในระบบ ววน. อย่างหน่วยบริหารจัดการทุน (พีเอ็มยู) ทั้งจาก วช. และ บพท. ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกุล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ปัจจุบัน สกสว. มีบทบาทในการจัดทำแผน ววน. การดำเนินการจัดสรรทุนวิจัยถือเป็นการดำเนินงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ งานวิจัยและนวัตกรรม เปรียบเสมือนตัวเร่งปฏิกิริยา ที่ช่วยเป็นแรงผลักและส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาในทุกมิติ และการขับเคลื่อนทิศทางงานด้านสังคมนั้น ต้องอาศัยการผลักดันและการขับเคลื่อนต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตลอดต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยหน่วยงานกลางน้ำ ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะต่อยอดงาน ววน. ให้พร้อมสู่การปฏิบัติเชิงนโยบายหรือให้เกิดผลลัพธ์สู่ผู้ใช้ประโยชน์ปลายน้ำอย่างเป็นรูปธรรม การจัดงานวันนี้จะได้เรียนรู้การทำงานของ สสส. ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อนำข้อมูลไปปรับใช้กับการบริหารจัดการกองทุนส่งเสริม ววน. ตลอดจนเรียนรู้ยุทธศาสตร์การทำงานจากนโยบายไปสู่การแก้โจทย์ทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โอกาสนี้ ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า สสส. จะคาดการณ์รายได้ของกองทุนภายใต้มุมมองหลาย ๆ สถานการณ์ เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับแต่ละปี ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการจัดเก็บภาษีสุราและยาสูบร้อยละ 2 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่เสถียร โดยจะมีคณะกรรมการจากภายนอก มาช่วยตรวจสอบและดูแลการบริหารจัดการกองทุน ปัจจุบัน สสส. ได้ใช้ทรัพยากรด้านงบประมาณที่มีส่วนหนึ่ง มาจัดตั้งกลุ่มธุรกิจ (Business Unit) ทั้งศูนย์กิจการสร้างสุข (SOOK Enterprise) ที่ทำหน้าที่ขยายผลองค์ความรู้ ข้อมูลวิชาการ สร้างเสริมประสบการณ์ด้านสุขภาวะให้เข้าถึงประชาชน ผ่านกิจกรรมและผลิตภัณฑ์สุขภาวะที่สร้างสรรค์ และ สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) เพื่อพัฒนาศักยภาพ และให้คำปรึกษาภาคีเครือข่าย ยกระดับนักสร้างเสริมสุขภาพมืออาชีพ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการทำงานที่ตอบโจทย์พันธกิจขององค์กรมากขึ้น
ในขณะที่เวทีเสวนาโต๊ะกลมการจัดงานครั้งนี้ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า หน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) เปรียบเสมือนผู้เร่งปฏิกิริยา (Catalyst for change) ส่งต่อความรู้จากงานวิจัยไปให้ผู้ใช้ประโยชน์ในกลุ่มต่าง ๆ ทั้ง ผู้ใช้ประโยชน์ปลายทาง (End User) ประชาชนในพื้นที่วิจัย รวมไปถึงการส่งมอบข้อมูลไปสู่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานด้านนั้นโดยตรง การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านสังคมเป็นสิ่งที่ต้องร่วมมือกันและส่งต่อไปให้ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพื้นที่
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโครงการศึกษาการแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ของอุตสาหกรรมสำคัญระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และนัยต่อเศรษฐกิจการค้าไทย ผลการศึกษาด้านการลงทุน พบว่า ไทยได้อานิสงค์ในส่วนของการขยายการลงทุนและการย้ายฐานการผลิตจากสงครามการค้า โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐฯ สิงคโปร์ และ
เชิญร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไทยได้หรือเสียประโยชน์"
—
เชิญเข้าร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไทยได้หรือเสียประโยชน์...
ธรรมศาสตร์ยกย่องนักวิจัยมธ. 73 ราย 7 สาขา 57 รางวัล ตอกย้ำความก้าวหน้าทางวิชาการ
—
ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรร...
เปิดเวที ถอดบทเรียน กองทุนส่งเสริม ววน. กองทุน สสส. สกสว. จับมือภาคี หนุนงานวิจัยสังคมสู่การใช้ประโยชน์จริง
—
เปิดวงเสวนา ร่วมถอดบทเรียนความสำเร็จของการบร...
สศอ.เสนอแผนปฏิรูปอุตสาหกรรมดันรายได้ประชากรเพิ่ม 2.25 เท่า
—
สศอ.เสนอแผนปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม จับมือ 3 ประเทศหุ้นส่วน ขับเคลื่อน 3 อุตสาหกรรมอนาคต ดันรายได้...
ขอเชิญเข้าร่วมฟัง “โอกาสร่วมธุรกิจกับการเคหะแห่งชาติ ภายใต้แผนพัฒนาใหม่”
—
การเคหะแห่งชาติและสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเรียนเชิ...