"Hear to Heal" คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ให้คำปรึกษาทางออนไลน์ คลายปัญหาสุขภาพจิตฝ่าวิกฤตโควิด-19

ปัญหาสุขภาพจิตสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 ระบาดอย่างหนักทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเรามีเพื่อนคิด เพื่อนคุยที่ช่วยให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นก็น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับหลายๆ คนที่กำลังขาดที่พึ่งทางใจ

"Hear to Heal" คณะจิตวิทยา จุฬาฯ  ให้คำปรึกษาทางออนไลน์ คลายปัญหาสุขภาพจิตฝ่าวิกฤตโควิด-19

ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาฯ เปิดเผยว่าศูนย์สุขภาวะทางจิตให้บริการคำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นแก่ประชาชนทั่วไปผ่านทางออนไลน์ ผ่านทางเพจ Hear to Heal โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เพื่อขยายระบบการให้บริการวิชาการเชิงจิตวิทยาให้เข้าถึงประชาชนทั่วไปได้มากขึ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

"คณะจิตวิทยามีความพร้อมในการให้บริการ มีนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มากประสบการณ์และความชำนาญในด้านต่างๆ เทียบได้กับมาตรฐานระดับนานาชาติ มีทีมสนับสนุน (supervision) ซึ่งรวบรวมปัญหาของผู้ที่เข้ามารับคำปรึกษาว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำมาทำเป็นข้อมูลสนับสนุนในการให้ความรู้และให้ข้อมูลเชิงป้องกัน ยิ่งมีผู้เข้ามารับบริการมากเท่าใดก็ยิ่งช่วยพัฒนาระบบและช่วยส่งเสริมคุณภาพจิตของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังรับปรึกษาปัญหาในระดับลึกกับผู้เชี่ยวชาญในระดับเฉพาะเจาะจง อีกด้วย" ผศ.ดร.ณัฐสุดากล่าว

ขั้นตอนการขอรับคำปรึกษากับ Hear to Heal เพียงสแกน QR Code หรือเพิ่มเพื่อนทาง line จะมีเจ้าหน้าที่ซักถามประเด็นปัญหาและนัดหมาย หรืออีกวิธีหนึ่งสามารถติดต่อผ่านทางFacebook: Hear to Heal แล้วสแกน QR Code ก็สามารถเข้ามารับบริการได้เช่นกัน ในอนาคตจะมีช่องทางใหม่ ในการให้บริการผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย

หลังจากเปิดให้บริการมาเป็นเวลา 1 เดือน มีผู้มารับบริการ 30 - 50 คนต่อวัน ช่วงเวลาที่มีผู้มาใช้บริการมากที่สุดจะเป็นช่วงเย็น กลุ่มที่มารับบริการจะเป็นนิสิต นักศึกษา คนวัยทำงาน ส่วนใหญ่จะมาขอคำปรึกษาปัญหาทางจิตใจ ความไม่สบายใจ และปัญหาซึมเศร้า

ทั้งนี้ในช่วงที่จุฬาฯ เปิดให้บริการโรงพยาบาลสนาม คณะจิตวิทยาได้ให้บริการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแก่ผู้ป่วยผ่านทางออนไลน์ สำหรับนิสิตจุฬาฯ พูดคุยกับนักจิตวิทยาผ่านทาง Mild Talk โทร. 085-042-2626 และบุคลากรจุฬาฯ ผ่านสายด่วนเยียวยาจิตใจ Chula Care Hotline โทร.098-401-9161

ผศ.ดร.ณัฐสุดา ฝากคำแนะนำในการลดความเครียด ความวิตกกังวลจากสถานการณ์โควิด-19 ว่า "สถานการณ์การระบาดของโควิดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ดูเหมือนจะหนักหนาในความรู้สึกของทุกคน ทำให้เกิดความเครียดความรู้สึกอ่อนล้า หมดความหวังกำลังใจ อยากให้ผู้ที่กำลังเผชิญกับภาวะเช่นนี้มีกำลังใจที่จะสู้ แม้จะยังกลับมาอยู่ที่เดิมไม่ได้ ก็อยากให้มองว่าสิ่งที่เราได้ทำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมาย ควรปลอบโยนตัวเอง รวมถึงคนรอบข้าง อย่ามองแต่สิ่งที่หายไปซึ่งจะยิ่งทำให้หดหู่ ลองหายใจลึกๆ กลับมามองสิ่งดีๆ ที่ยังอยู่ในปัจจุบันจะทำให้มีกำลังใจมากขึ้น อย่างน้อยสิ่งที่เรายังมีอยู่ก็คือความสัมพันธ์ของคนใกล้ตัว ขอให้ทุกคนอดทนและสู้ต่อไปด้วยกันก็จะสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ด้วยดี"

"ขอเชิญชวนผู้ที่ประสบปัญหาทางด้านจิตใจมาพูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นกับ Hear to Heal บริการนี่เหมือนเครื่องช่วยพยุงจิตใจ เป็นเพื่อนช่วยคุย ช่วยคิด ช่วยประคองให้เราผ่านภาวะพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ ควรหันมาดูแลตัวเอง หาแนวทางในการจัดการกับปัญหาทางอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพใจ ดีกว่าที่ปล่อยให้เกิดความไม่สบายใจ คับอกคับใจ จนกระทั่งเกิดปัญหาทางจิตใจแล้วถึงมาแก้ไข ควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้" ผศ.ดร.ณัฐสุดา กล่าวในที่สุด


ข่าวณัฐสุดา เต้พันธ์+สุขภาพจิตวันนี้

"Hear to Heal" คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ให้คำปรึกษาทางออนไลน์ คลายปัญหาสุขภาพจิตฝ่าวิกฤตโควิด-19

ปัญหาสุขภาพจิตสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 ระบาดอย่างหนักทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเรามีเพื่อนคิด เพื่อนคุยที่ช่วยให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นก็น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับหลายๆ คนที่กำลังขาดที่พึ่งทางใจ ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาฯ เปิดเผยว่าศูนย์สุขภาวะทางจิตให้บริการคำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นแก่ประชาชนทั่วไปผ่านทางออนไลน์ ผ่านทางเพจ Hear to Heal โดย

ความสวยไม่ใช่แค่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่ทุ... รวม 5 วิธีทำให้ตัวเองสวยขึ้น แบบง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้ — ความสวยไม่ใช่แค่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนพัฒนาได้ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดู...

ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "ว... ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา — ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "วิตกกังวล" ถูกพูดถึงกันมากขึ้น แต่หลายคนยังแยกไม่ออก...

สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ไทยพีบีเอส เตรียม... สภาผู้ชมฯ ไทยพีบีเอส เตรียมเปิดเวทีกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นปี 2568 — สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ไทยพีบีเอส เตรียมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ตลอดปี 2568 ทั้งรู...

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย... Tech Addiction เสพติดโซเชียลจนใจพัง ระวังเสี่ยงเป็นซึมเศร้า — ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การใช้โซเชียลเน็ต...

ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญ... ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ — ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตใ...

สุขภาพดีไม่มีขาย! พาราไดซ์ เพลส ศูนย์การค... กลับมาอีกครั้ง กับ "คาราวาน ตรวจสุขภาพฟรี 1 ล้านคน" 16-17 ก.พ. ที่พาราไดซ์ เพลส — สุขภาพดีไม่มีขาย! พาราไดซ์ เพลส ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมกับ กรุ...

นายจรัสพงศ์ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร... แอล ซอฟท์โปร จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ — นายจรัสพงศ์ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล ซอฟท์โปร จำกัด และ ผู้ช่วยศาส...