เมื่อเร็วๆ นี้ Elsevier สำนักพิมพ์วารสารวิชาการด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ระดับโลกแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีอายุกว่า มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ปีและมียอดดาวน์โหลดปัจจุบันถึงหลัก มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ล้านครั้งต่อปี ได้มอบประกาศนียบัตรแก่อาจารย์นักวิจัย ความเท่าเทียม ท่านจากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ โดยศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ อดีตผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานที่ตรงกับ SDGs ข้อที่ 5 เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Inequity) จำนวน ความเท่าเทียม6 เรื่อง และSDGs ข้อที่ มหาวิทยาลัยมหิดล6 เพื่อความสงบสุขและยุติธรรม (Peace And Justice) จำนวน เนเธอร์แลนด์5 เรื่อง และ ศาสตราจารย์ดร.ฟรังซัวส์ เฮนรี่ นอสเทน(Prof.Dr.Francois Henri Nosten) อาจารย์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานวิจัยที่ตรงกับ SDGs ข้อที่ เนเธอร์แลนด์ เพื่อสุขภาวะที่ดี (Good Health) จำนวนความเท่าเทียมมหาวิทยาลัยมหิดล8 เรื่อง
ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 7 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีศักยภาพสูงด้านการสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยได้ทำการวิจัยมาแล้วทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอาเซียนด้านการศึกษาวิจัยพฤติกรรมทางสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิตของประชากร เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะ รวมทั้งเป็นผู้สร้างโปรแกรมทางสุขภาวะที่สามารถนำไปต่อยอดใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้นำเอาประสบการณ์จากการบริหารงานวิจัยในระดับนานาชาติที่ผ่านมา มาทำให้งานวิจัยสาธารณสุขมูลฐานของ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในระดับนานาชาติ
จากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติทั้งหมดกว่า 400 เรื่องของ ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ นั้น มีผลงานวิจัยที่ตรงกับ SDGs ข้อที่ 5 จำนวน 26 เรื่อง โดยเป็นงานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ และผลงานวิจัยที่ตรงกับ SDGs ข้อที่ 16 จำนวน 35 เรื่อง ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวข้องกับการลดอัตราการตายจากความรุนแรงและการละเมิด
ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ ได้กล่าวถึงงานวิจัยที่ทำแล้วได้รับผลกระทบสูงและตอบโจทย์ทั้ง SDGs ข้อที่ 5 และSDGs ข้อที่ 16 คืองานวิจัยที่พบว่าผู้หญิงไทยที่โดนสามีหรือคนรักทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่จะอายไม่กล้าขอความช่วยเหลือ และไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษายังไม่มีความรู้ความเข้าใจต่อปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างเพียงพอ หากแต่เพียงสามารถให้คำแนะนำแบบทั่วไปได้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถให้การช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำได้เท่าที่ควร จึงเป็นที่มาของการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพยาบาลและนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจนสามารถช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถขยายผลไปช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกทำร้ายโดยสามีและคนรักในช่วงวิกฤติ COVID-19 ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและสังคมต่อไปได้อีกด้วย
ศาสตราจารย์ ดร.ฟรังซัวส์ เฮนรี่ นอสเทน อาจารย์แพทย์นักวิจัยชาวฝรั่งเศสประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คร่ำหวอดทำงานวิจัยด้านโรคมาลาเรียวัณโรค และโรคติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งสุขภาวะแม่และเด็ก ณ บริเวณชายแดนของไทยมาตลอดเวลา 30 ปีโดยเป็นผลงานวิจัยที่ตรงกับ SDGs ข้อที่ 3 กล่าวว่า ปัญหาสุขภาวะประชาชนชายแดนไทย นอกจากปัญหาโรคมาลาเรียซึ่งปัจจุบันถูกกำจัดออกไปจากประเทศไทยแล้วแต่ก็ยังมีประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ การเสียชีวิตของมารดาขณะตั้งครรภ์ ด้วยเหตุไม่ได้รับการทำคลอดที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องอุบัติการณ์โรคอ้วน รวมทั้งการติดเชื้อไวรัส COVID-19
หลักในการทำงานวิจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับปัญหาสุขภาวะประชาชนชายแดนไทย คือ จะต้องทำจากโจทย์ปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ซึ่งจากจำนวนผลงานวิจัยทั้งหมดกว่า800 เรื่อง ของ ศาสตราจารย์ ดร.ฟรังซัวส์ เฮนรี่ นอสเทน มีจำนวน 218 เรื่องที่สามารถตอบโจทย์ SDGs ข้อที่ 3 เพื่อสุขภาวะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้กิจกรรมจิตอาสาขับเคลื่อนด้วยงานวิจัย โดยสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็ก การกำจัดโรคมาลาเรีย รวมทั้งพัฒนาวิธีใหม่ในการรักษาโรคมาลาเรีย ตลอดจนลดอัตราการเกิดของวัณโรคได้
"ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญจากการทำงานวิจัยเพื่อสุขภาวะประชาชนชายแดนไทย คือ เรื่องของทุน นอกจากนั้นเป็นเรื่องของการเมือง และความขัดแย้ง แต่ก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก มหาวิทยาลัยมหิดล โดยตั้งใจจะมุ่งมั่นทำงานวิจัย เพื่อประชาชนชายแดนไทยในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป" ศาสตราจารย์ ดร.ฟรังซัวส์ เฮนรี่ นอสเทน กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สิ่งที่นับว่าเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อสุขภาพมากที่สุด ไม่ใช่การมีโรคประจำตัว แต่คือการขาด “การเฝ้าระวัง” ดูแลตัวเองจนต้องกลายเป็นอีกโรคหนึ่งโดยไม่คาดคิด เพราะโรคบางโรคมีความเกี่ยวเนื่องกับอีกโรคด้วยตัวเอง ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ การ “ตัดท่อน้ำเลี้ยงแห่งรังโรค” เพื่อหยุดการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่อีกโรค รองศาสตราจารย์ ดร.มธุรส ทิพยมงคลกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิชาการ และอาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาพัฒนาสุขภาพ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล โดย
Group-IB ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย
—
กรุ๊ป-ไอบี (Group-IB) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีความปลอดภัยไ...
ม.มหิดล เผย 2 อาจารย์ได้รับยกย่องจาก Elsevier ผลงานวิจัยตอบโจทย์SDGs
—
เมื่อเร็วๆ นี้ Elsevier สำนักพิมพ์วารสารวิชาการด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ระดับโลกแห...
ม.มหิดล ระดมสมองผลักดันนโยบายสูงวัยอย่างมีพลัง
—
38 ปีที่ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการก่อตั้งเพื่อส่งเสริมและพัฒนางานสาธารณสุข...
ม.มหิดล เผยความคืบหน้าผลักดันระบบชี้วัด ASEAN Rating on Healthy University สู่ประชาคมโลก
—
ประเด็นสุขภาพของประชาชนเป็นเรื่องที่รัฐบาลทุกประเทศให้ความใส่ใจ...
รับสมัครนักศึกษาปริญญาโท
—
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เปิดรับสมัครนักศึกษาหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) สอบถามรายละเอียด...
อบรมหลักสูตรสถิติขั้นสูงและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพ
—
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญเข้าร่วมอบรมระยะสั้นหลักสูตรสถิติขั้นส...
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Writing Academic Paper for International Publication
—
ด้วยสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาว...