ม.มหิดล ส่งเสริมแนวคิดผู้ประกอบการโภชนาการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชาติ

โลกในยุคปัจจุบัน มี "นวัตกรรม" หรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่สู่สิ่งที่ดีกว่า เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกวงการ ซึ่งรวมถึงแวดวงอาหารและโภชนาการ (Nutrition) โดยการศึกษาทางด้านอาหารและโภชนาการในปัจจุบันเป็นไปตามวิถีชีวิตที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และความเชื่อเดิมๆถูกเปลี่ยนแปลง หรือ disruption ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจในเรื่องอาหารและสุขภาพกันมากขึ้น

ม.มหิดล ส่งเสริมแนวคิดผู้ประกอบการโภชนาการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชาติ

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณาผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงแนวทางการจัดหลักสูตรโภชนาการของสถาบันฯว่าได้ออกแบบตามนโยบาย"Entrepreneurial University" หรือมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมุ่งสู่ 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมพร้อมบัณฑิตสู่โลกของการเป็นผู้ประกอบการที่พร้อมสร้างสรรค์อาหารที่มีคุณภาพ และดีต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเรื่องของโภชนาการไม่อาจแยกออกจากภาพรวมของเศรษฐกิจและสังคม

ด้วยความเข้มแข็งด้านการจัดการเรียนการสอนและวิจัยด้านอาหารและโภชนาการมาอย่างยาวนานของสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล จึงเชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถเป็นกำลังสำคัญให้กับอุตสาหกรรมอาหารตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้พัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้บรรยากาศของการส่งเสริมการต่อยอดธุรกิจ หรือการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง (Startup) ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาและวางแผนอย่างรอบด้าน

ตัวอย่างเช่น ในชั้นเรียนจะมีการมอบทุนตั้งต้นจำนวนหนึ่งให้นักศึกษาไปแบ่งกลุ่มวางแผนทำธุรกิจสร้างผลิตภัณฑ์อาหารขึ้นด้วยตัวเอง ตั้งแต่การวางแนวคิด การจัดหาวัตถุดิบ การคิดสูตรของผลิตภัณฑ์ การคำนวณสารอาหาร การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการวางแผนการตลาดฯลฯ โดยใช้ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดอย่างรอบด้าน สมมุติว่า นักศึกษาจะทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ผลไม้ตามฤดูกาล จะต้องวางแผนด้วยว่า จะจัดหาวัตถุดิบอย่างไรให้สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องและคงคุณภาพเดิม และจะต้องดูแนวโน้มผู้บริโภค รวมทั้งเรื่องของการตลาดเพื่อให้ผลิตภัณฑ์อยู่รอดได้ด้วย ซึ่งก่อนจบหลักสูตรจะให้นักศึกษาได้ pitching หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึง feedback จากทีมผู้สอน และเพื่อนๆ ในชั้นเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปได้อีกด้วย

"หลักสูตรทางด้านโภชนาการที่สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลทั้งหมดเป็นหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา และมีหลักสูตรนานาชาติที่เปิดรับนักศึกษาจากทุกวิชาชีพ และทุกเชื้อชาติ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องจบปริญญาตรีทางด้านโภชนาการมาก่อน ซึ่งการประกอบการด้านอาหารและโภชนาการจำเป็นต้องอาศัยหลายศาสตร์มาบูรณาการกันจึงจะทำให้ได้นวัตกรรมทางอาหารที่มีคุณภาพ และตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด และจะยิ่งมีความยั่งยืนหากมีการสร้างสรรค์งานวิจัยมารองรับเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เสมอ" รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัทศานติวรางคณา กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามหลักสูตรโภชนาการที่น่าสนใจได้ที่ www.inmu.mahidol.ac.th


ข่าวชลัท ศานติวรางคณา+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

สถาบันโภชนาการ และ วิทยาเขตกาญจนบุรี สองส่วนงานจากมหิดล ร่วมผนึกกำลังลงนามความร่วมมือมุ่งพัฒนางานวิจัยและการสอนการร่วมกัน

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 สถาบันโภชนาการ และ วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านบุคลากร (Co-faculty) ระหว่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี และรศ. ดร. ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ เจรีรีตน์ ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจบุรีด้านวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนาม

"อาหาร" นอกจากให้ "พลังงานชีวิต" ยังนับเป... ม.มหิดลสร้างความมั่นคงอาหารโลกผ่านงานวิจัยใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ — "อาหาร" นอกจากให้ "พลังงานชีวิต" ยังนับเป็นหนึ่งในความมั่นคงสำคัญของโลก ที่ผ่...

โลกจะบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งย... ม.มหิดล-ไบโอเทค ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร วิจัยเชื่อมโยงเกษตร-อาหาร-สุขภาพ — โลกจะบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ต่อสู้กับความหิวโหย (Zero H...

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 รศ. ดร. ชลัท ศ... การลงนามความร่วมมือ ระหว่าง เพื่อพัฒนาระบบประเมินปริมาณสารอาหารสำหรับเมนูอาหารไทย (NPS-M) — เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 รศ. ดร. ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยก...

โลกในยุคปัจจุบัน มี "นวัตกรรม" หรือการสร้... ม.มหิดล ส่งเสริมแนวคิดผู้ประกอบการโภชนาการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชาติ — โลกในยุคปัจจุบัน มี "นวัตกรรม" หรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่สู่สิ่งที่ดีกว่า เข้ามาเกี่ยวข...