นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แนะนำการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม อาทิ จัดให้มีจุดทิ้งและจุดรวบรวมเฉพาะสำหรับหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชาสัมพันธ์การเก็บขน การรวบรวมขยะ และการกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกต้องว่า ที่ผ่านมาสำนักสิ่งแวดล้อมได้จัดหาถังรองรับหน้ากากอนามัย (สีส้ม) พร้อมถุงขยะสีแดงสำหรับใส่หน้ากากอนามัย เพื่ออำนวยความสะดวกในการทิ้งให้แก่ประชาชน โดยตั้งวางที่สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลสังกัด กทม. ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) และศาลาว่าการ กทม. (ดินแดง) โรงเรียนสังกัด กทม. ศูนย์กีฬา กทม. ศูนย์เยาวชน กทม. สถานีดับเพลิง สวนสาธารณะ และสถานที่สาธารณะที่เหมาะสม โดยมีจุดให้บริการกว่า สำนักสิ่งแวดล้อม,วิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์วิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์วิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ จุด พร้อมควบคุมดูแลไม่ให้ทิ้งมูลฝอยประเภทอื่น ๆ มาปะปน สำหรับหน้ากากอนามัยที่จัดเก็บได้ รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาล สถานที่กักตัวของรัฐ และโรงแรมทางเลือกสำหรับผู้กักตัว จะนำไปกำจัดด้วยวิธีการเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม ขณะเดียวกันได้กำชับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทุกครั้งที่ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดเก็บหน้ากากอนามัยให้ใช้คีมคีบขยะแทนการใช้มือหยิบจับ เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสเชื้อโรคและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-สำนักสิ่งแวดล้อม9
นางป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวถึงการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วว่า สำนักอนามัยได้รณรงค์สร้างความเข้าใจและเน้นย้ำการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธีแก่ประชาชนผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ การสัมภาษณ์รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงการให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว เพื่อขอความร่วมมือไม่ทิ้งหน้ากากอนามัยปะปนกับมูลฝอยทั่วไปในครัวเรือน โดยทิ้งหน้ากากอนามัยใส่ถุงที่ปิดสนิท มัดปากถุงให้แน่น เขียนหรือติดหน้าถุงว่า "หน้ากากอนามัย" แยกทิ้งให้กับรถเก็บขนมูลฝอยของสำนักงานเขต หรือทิ้งในถังรองรับหน้ากากอนามัยเฉพาะ (สีส้ม) ในจุดที่ กทม. กำหนด เช่น สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง โรงพยาบาลในสังกัด กทม. และแหล่งชุมชุนชนที่ กทม.นำถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วไปตั้งวางไว้ เพื่อให้รถขยะของ กทม. จัดเก็บรวบรวมและนำไปกำจัดให้ถูกต้องตามขั้นตอนการกำจัดขยะติดเชื้อ โดยการเผาในเตาเผาขยะติดเชื้อที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม หรือศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชต่อไป
นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ในกรุงเทพฯ มีถังขยะที่รองรับขยะติดเชื้อให้บริการประชาชนเพียง 1,000 แห่ง ซึ่งอาจไม่เพียงพอว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระหว่างวันที่ 1 16 ส.ค.64 ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ 1,923 ตัน หรือเฉลี่ย 120 ตัน/วัน แบ่งเป็นขยะติดเชื้อทั่วไปจากสถานบริการการสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิก ปริมาณทั้งสิ้น 1,035 ตัน หรือเฉลี่ย 65 ตัน/วัน
เข้มงวดป้องกันโควิด-19 ในสวนสาธารณะทุกแห่ง - ขอความร่วมมือผู้ใช้บริการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
—
นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อ...
กทม.ขอความร่วมมือประชาชนแยกทิ้งขยะหน้ากากอนามัย - เพิ่มถังรองรับในที่สาธารณะ
—
นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีในสื่อออน...
ภาพข่าว: นิตยสารอะเดย์ ก้าวสู่ปีที่ 17 ฉลองฉบับที่ 200
—
#aday200 The Magazine Exhibition สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย (กลาง) กรรมการ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด จั...