เดินหน้าจัดการขยะพลาสติก - บูรณาการความร่วมมือลดและคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีมีการตั้งข้อสังเกตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-สำนักสิ่งแวดล้อม9 ระลอกใหม่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work From Home) ส่งผลให้ขยะพลาสติกจากฟู้ดเดลิเวอรีเพิ่มขึ้น เห็นควรดำเนินการแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจังว่า ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินมาตรการคัดแยกและใช้ประโยชน์มูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ประกอบด้วย มูลฝอยอินทรีย์ นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ หมักทำปุ๋ย หรือทำน้ำหมักชีวภาพ มูลฝอยรีไซเคิล แยกขาย เพื่อเป็นรายได้ มูลฝอยทั่วไป แยกทิ้งให้กับรถเก็บขนมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร ส่วนมูลฝอยอันตรายได้รณรงค์ให้คัดแยกเป็นการเฉพาะ เพื่อนำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล สำหรับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-สำนักสิ่งแวดล้อม9 กรุงเทพมหานครยังคงดำเนินมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมูลฝอยพลาสติกได้ขอความร่วมมือประชาชน ลด ละ เลิกการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ช้อนส้อม ถุงพลาสติก เลือกใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิล ขณะเดียวกันได้รณรงค์ให้หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ลด ละ เลิก ใช้โฟม และพลาสติกอย่างจริงจัง ได้แก่ การงดจ่ายถุงพลาสติกใส่ยาสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุข รวมทั้งเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากถุงนมเป็นกล่องนม

ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น ยังได้รณรงค์ส่งเสริมการดำเนินการตามหลัก 3 ช (3 R) ประกอบด้วย ลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พร้อมจัดระบบแยกทิ้งและเก็บรวบรวมแยกประเภท โดยตั้งถังรองรับมูลฝอยในที่สาธารณะ 2 ประเภท ได้แก่ ถังสีเหลือง สำหรับทิ้งมูลฝอยรีไซเคิล และถังสีน้ำเงิน สำหรับทิ้งมูลฝอยทั่วไป รวมถึงปรับปรุงรถเก็บขนมูลฝอยให้มีช่องสำหรับใส่มูลฝอยรีไซเคิลและมูลฝอยอันตรายแยกออกจากมูลฝอยทั่วไป ตลอดจนบูรณาการร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายดำเนินโครงการความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) แยกประเภทขยะตามการใช้ประโยชน์ เช่น ขายเป็นวัสดุรีไซเคิล หรือบริจาคให้หน่วยงานต่าง ๆ โดยดำเนินการร่วมกับ 7 องค์กร และ 1 ชุมชนในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อคัดเลือกต้นแบบที่เหมาะสม ซึ่งในปี 2564 มีแผนขยายการดำเนินงานในพื้นที่เขตคลองเตยและสำนักงานเขตอื่นอีก 1 แห่ง อีกทั้งจัดให้มีจุดตั้งถังรับบริจาคพลาสติกชนิดอ่อน ถุง และฟิล์มพลาสติกใช้แล้ว เช่น ถุงน้ำแข็ง ฟิล์มหุ้มขวดน้ำ ถุงขนมปัง ถุงหูหิ้ว ที่สำนักงานเขต ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) และศาลาว่าการ กทม. (ดินแดง) เพื่อให้การใช้พลาสติกเกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อม รวมถึงลดปริมาณมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบกำจัดของกรุงเทพมหานครอีกด้วย


ข่าววิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์+สำนักสิ่งแวดล้อมวันนี้

กทม.แจกจ่ายถุงสีแดงรองรับขยะติดเชื้อจาก HI เตรียมเพิ่มถังสีส้มทิ้งหน้ากากอนามัย-ชุดตรวจ ATK ในชุมชน

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ในกรุงเทพฯ มีถังขยะที่รองรับขยะติดเชื้อให้บริการประชาชนเพียง 1,000 แห่ง ซึ่งอาจไม่เพียงพอว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระหว่างวันที่ 1 16 ส.ค.64 ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ 1,923 ตัน หรือเฉลี่ย 120 ตัน/วัน แบ่งเป็นขยะติดเชื้อทั่วไปจากสถานบริการการสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิก ปริมาณทั้งสิ้น 1,035 ตัน หรือเฉลี่ย 65 ตัน/วัน

กทม.บูรณาการแนวทางจัดการขยะหน้ากากอนามัย - รณรงค์แยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อโควิด-19

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวถึงแนวทางบริหารจัดการขยะหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากทางการแพทย์ที่ใช้แล้ว โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในภาคครัวเรือนว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักสิ่งแวดล้อม ...

จัดจุดทิ้งขยะหน้ากากอนามัยกว่า 1,000 จุด - ขอความร่วมมือแยกทิ้งไม่ปะปนกับขยะครัวเรือน

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แนะนำการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม อาทิ จัดให้มีจุดทิ้งและจุดรวบรวม...

เดินหน้าจัดการขยะพลาสติก - บูรณาการความร่วมมือลดและคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีมีการตั้งข้อสังเกตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work From Home) ส่งผลให้ขยะพลาสติกจากฟู้ดเดลิ...

บริหารจัดการขยะติดเชื้อไม่ให้ตกค้าง - รณรงค์คัดแยกมูลฝอยอันตรายป้องกันโควิด-19 ระบาด

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีมีการกำชับให้ กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการและกำจัดขยะไม่ให้ตกค้าง โดยเฉพาะขยะติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคว่า ที่ผ่านมา กทม....

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักส... กทม.ขอความร่วมมือประชาชนแยกทิ้งขยะหน้ากากอนามัย - เพิ่มถังรองรับในที่สาธารณะ — นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณีในสื่อออน...

ยกระดับมาตรการ - เน้นย้ำข้อควรปฏิบัติการเฝ้าระวังสุขภาพจาก PM2.5

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝุ่นละอองที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 25 29 ธ.ค. 63 ว่า ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้จัดประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้...

เร่งแก้ไขปัญหาน้ำเน่าในสวนลุมพินี/เตรียมแผนรองรับการปรับปรุงพื้นที่

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม เปิดเผยตามที่ผู้มาใช้บริการสวนลุมพินี ขอให้ กทม. แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเหม็นและกวดขันผู้ใช้บริการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสวนสาธารณะ ว่า กทม....

#aday200 The Magazine Exhibition สุรพงษ์ ... ภาพข่าว: นิตยสารอะเดย์ ก้าวสู่ปีที่ 17 ฉลองฉบับที่ 200 — #aday200 The Magazine Exhibition สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย (กลาง) กรรมการ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด จั...