นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การดำเนินงาน Big Data เป็นนโยบายที่สำคัญของภาครัฐ ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานด้านนโยบายและข้อมูลสารสนเทศการเกษตร และเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมาย ให้ดำเนินการ จึงได้เร่งจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูล Big Data ภาคการเกษตร เพื่อการบริหารและการให้บริการข้อมูลภาคเกษตรในทุกมิติ โดยในปี ฉันทานนท์ วรรณเขจร564 จะเร่งศึกษาแนวทางการพัฒนาภาคเกษตร ด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ เพื่อจัดทำระบบสนับสนุนการตัดสินทางการเกษตรที่แม่นยำ
ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา สศก. โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Big Data Center) หรือ NABC ได้มีการหารือร่วมกับศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร (ศวทก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อรรถชัย จินตะเวช และอาจารย์ ดร.เทวินทร์ แก้วเมืองมูล ถึงแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรจากการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการตัดสินใจทางการเกษตร โดยเน้นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงพื้นที่ (Spatial Information Systems) ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับแปลง ฟาร์ม ลุ่มน้ำจนถึงระดับภาค
สำหรับเทคโนโลยีพยากรณ์ ของ ศวทก. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันมีการใช้แบบจำลอง Rice4cast จากโปรแกรมแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช (Decision Support System for Agrotechnology Transfer: DSSAT) ในการพยากรณ์ผลผลิตข้าวของประเทศไทย ซึ่งมีความแม่นยำสูง โดยใช้ตัวแปรปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ค่ารังสีจากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิสูงสุด - ต่ำสุด ปริมาณน้ำฝน และคุณสมบัติของชุดดิน ซึ่งหลังจากนี้ สศก. จะร่วมพัฒนาแบบจำลองข้าว เพื่อพยากรณ์ผลผลิตข้าวรายจังหวัด ปีเพาะปลูก 2564/65 รวมถึงแนวทางการร่วมมือในอนาคตมาพยากรณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงานต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้หารือร่วมกันถึงแนวทางการขับเคลื่อน ในการปฏิรูปด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูง เพื่อการผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production ) ซึ่งประกอบด้วยประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำเกษตรมูลค่าต่ำไปสู่มูลค่าสูงและเหมาะสมกับพื้นที่ สนับสนุนการทำเกษตรแบบรวมผลิตและรวมจำหน่าย (เกษตรแปลงใหญ่ หรือ สหกรณ์) การขยายพื้นที่ชลประทานให้เกษตรกรมีน้ำใช้ การพัฒนาคลัสเตอร์ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และส่งเสริมให้มีความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร (Agricultural Biodiversity) การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้มีความเข้มแข็งส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการด้านการจัดการเกษตรสมัยใหม่ (Service Provider) และสร้างผู้ประกอบการเกษตร (Smart Farmer) ตลอดจนส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถเข้าถึงข้อมูล Big Data ด้านการเกษตร ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลแพลตฟอร์ม รวมถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร และเศรษฐกิจชีวภาพ ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ Bio - Circular-Green Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว)
"หลังจากการหารือร่วมกันในครั้งนี้ สศก. จะมีการทำแผนประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมการข้าว GISTDA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และธนาคารแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาแบบจำลองข้าว เพื่อพยากรณ์ผลผลิตข้าวรายจังหวัด ด้วย Rice4cast และจะมีการจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ สศก. ในการใช้ฐานข้อมูลและแบบจำลองดังกล่าวประกอบการรายงานความเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตพืชรายฤดู และรายแปลงผลิตต่อไป ภายในปีนี้ ซึ่งความแม่นยำของผลการพยากรณ์ จะมีส่วนสำคัญอย่างมากอย่างต่อกำหนดนโยบาย รวมทั้งสามารถ นำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ในเชิงการผลิต การตลาด และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพต่อไป" เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้าย
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
รมช.ประภัตร เห็นชอบ 5 ร่างมาตรฐาน "เห็ดหอมแห้ง-ปาล์มน้ำมัน-ข้าว" เตรียมประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป มุ่งยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร
—
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช...
สศก. ผนึก มช. ดึงเทคโนโลยีแบบจำลอง Rice4cast แม่นยำสูง พร้อมพลิกโฉมการพยากรณ์ผลผลิตข้าวแบบรายจังหวัด ปี 2564/65
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเ...
กระทรวงเกษตรฯ บูรณาการทุกภาคส่วน มุ่งสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางรายได้ให้เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกร...
วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.
—
"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซ...
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย
—
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเน...
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...