ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียนแล็บจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) ลดการใช้สัตว์ทดลอง

วันที่ 24 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ "วันสัตว์ทดลองโลก" (World Day for Laboratory Animals) ซึ่งก่อตั้งโดย National Anti-Vivisection Society แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นองค์กรที่รณรงค์ต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองระดับโลก

ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียนแล็บจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) ลดการใช้สัตว์ทดลอง

อาจารย์ ดร. นายแพทย์กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและบริการวิชาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยากรผู้บรรยายหัวข้อ "จริยธรรมการวิจัยในยุคประเทศไทย 4.0"  Section 2 : ด้านการวิจัยในสัตว์ทดลอง จุลชีพ และพืช ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "โครงการติดอาวุธนักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System" ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดโดย กองบริหารงานวิจัย สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเร็วๆ นี้กล่าวว่า ในการทำวิจัยทางคลินิกที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับยารักษาโรค จำเป็นต้องมีผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ และในสัตว์ทดลอง ก่อนนำไปใช้กับมนุษย์ ซึ่งการใช้สัตว์ทดลองนั้นจะต้องเป็นไปตามหลัก 3Rs คือ Replacement ให้พยายามใช้วิธีการอื่นแทนการใช้สัตว์ทดลอง Refinement การใช้สัตว์ทดลองอย่างมีเมตตาธรรม และReduction การใช้สัตว์ทดลองแต่เท่าที่จำเป็น ซึ่งหากได้ทำตามหลักปฏิบัติ นอกจากจะได้ผลการวิจัยที่ถูกต้องแล้ว ยังทำให้ผู้ใช้ผลงานเกิดความเชื่อมั่น และมีความปลอดภัยอีกด้วย ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียนแล็บจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) ลดการใช้สัตว์ทดลอง

ปัจจุบันเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ห้องปฏิบัติการจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) หรือ "Sim Lab" จะสามารถลดการใช้สัตว์ทดลอง โดยที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ริเริ่มใช้การเรียนการสอนแบบ Sim Lab ที่ภาควิชาสรีรวิทยา โดย รองศาสตราจารย์ บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา ผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศของคณะฯ ได้คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการเรียนการสอนแบบ Sim Lab สำหรับสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะฯตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 เพื่อศึกษาการหดตัวของกล้ามเนื้อน่องกบ และการเคลื่อนไหวของกระต่าย ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูโครงสร้างและความเชื่อมโยงการทำงานของร่างกาย

รองศาสตราจารย์ บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล เล่าว่า สมัยก่อนที่ยังไม่มี Sim Lab นักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึงนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์จะต้องเรียนพื้นฐานทางห้องปฏิบัติการจาก "Lab Dog" ซึ่งใช้สัตว์จริงในการทดลอง โดยต้องใช้เวลาในการเตรียมสัตว์เพื่อใช้ในการทดลอง และต้องทำในเวลาอันจำกัด ตนจึงได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเรียนการสอนแบบ Sim Lab ขึ้น ซึ่งสามารถลดอุปสรรคจากข้อจำกัดทางจริยธรรม และต่อยอดเพื่อเป็นต้นแบบประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนแบบ Sim Lab สำหรับห้องปฏิบัติการอื่นๆ ได้อีกด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงวรวรรณ กิจผาติ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางภาควิชาฯ มีนโยบายหลักในการเป็น "Student Center" ที่จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนแบบ Sim Lab ดังกล่าวจะมีการประเมินเพื่อปรับการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการตรวจสอบความพึงพอใจ และความเข้าใจของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ และมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 86

ซึ่งเคล็ดลับการเรียนการสอนแบบ Sim Lab อยู่ที่การมีวินัยของผู้เรียนที่ต้องศึกษา ทบทวน และฝึกฝนปฏิบัติอยู่เสมอ และเป็นความท้าทายสำหรับผู้สอนที่จะต้องปรับการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยสามารถลดจำนวนการใช้สัตว์ทดลองได้ด้วยในขณะเดียวกัน แล็บอื่นที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาเพื่อเป็นแนวทางได้ที่https://pharmacy.mahidol.ac.th/labphysio

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th


ข่าวสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล+กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์วันนี้

ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย

สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหายการต่อสู้สู่หนทางรอดแห่งมวลมนุษยชาติที่ลำพังประเทศใดประเทศหนึ่งไม่อาจเอาชนะได้ อาจารย์ ดร. นายแพทย์กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและบริการวิชาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงการรวมพลังต่อสู้โรคธาลัสซีเมียในกลุ่มประเทศที่มีอุบัติการณ์สูงอย่างเช่นในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนย้ายประชากรเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องเตรียม

วันที่ 24 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ "วันสัตว... ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียนแล็บจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) ลดการใช้สัตว์ทดลอง — วันที่ 24 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ "วันสัตว์ทดลองโลก" (World...

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถา... งานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell" — ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ...

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศ... ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน — โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...

เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท... ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ — เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...

กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้อ... ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA" — กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...

ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์ม... ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก — ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...