นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าโครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ความจุ 13.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย รวมถึงรองรับการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ขณะนี้งานก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 99% เหลือเพียงงานถนนลาดยางอีกเล็กน้อยเท่านั้น ปัจจุบันอ่างสามารถเก็บน้ำและเริ่มส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชน ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมผ่านมา ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและระบบประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดตาก
สำหรับอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน สร้างปิดกั้นลำนำห้วยขุนแม่สอด ที่ตำบลพระธาตุผาแดง ซึ่งปกติลำน้ำจะมีน้ำท่าประมาณ 35 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี อ่างห้วยแม่สอดซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2521 สามารถเก็บกักน้ำได้ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร และอ่างแม่สอดตอนบนซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จจะเก็บกักน้ำได้ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมเป็น 18 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบนจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานประมาณ 6,740 ไร่ ในพื้นที่ ตำบลแม่ตาว ตำบลแม่กุ และตำบลพระธาตุผาแดง ซึ่งเมื่อรวมกับพื้นที่ชลประทานของอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอดซึ่ง ช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับประโยชน์ประมาณ 8,000 ไร่ ส่งผลให้หลังจากนี้ในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก จะมีพื้นที่ชลประทานรวม 14,740 ไร่
ทั้งนี้ จากการศึกษาของกรมชลประทานคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการใช้น้ำสำหรับกิจกรรมต่างๆ ประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เป็นความต้องการน้ำภาคการเกษตรประมาณ 7.10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคประมาณ 5.35 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และน้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมประมาณ 1.64 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี อ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบนจึงทำหน้าที่เก็บกักน้ำในฤดูฝนและส่งน้ำให้กับประชาชนทั้งในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุปโภค-บริโภค ตอบสนองความต้องการใช้น้ำในอนาคตในภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากด้วย ทั้งนี้หลังจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแล้วเสร็จจะมีการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงานเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอแม่สอดต่อไป
นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าโครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ความจุ 13.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย รวมถึงรองรับการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตากเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ขณะนี้งานก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 99% เหลือเพียงงานถนนลาดยางอีกเล็กน้อยเท่านั้น ปัจจุบันอ่างสามารถเก็บน้ำและเริ่มส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชน ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมผ่านมา ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม
ธนาคารไทยพาณิชย์สนับสนุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ จัดการทรัพยากรน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน
—
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ รับมอ...
องคมนตรี ติดตามการดำเนินงานการพัฒนาหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.กาญจนบุรี ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
—
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานกรรมการที่ปรึกษา...
สทนช.ลุยตรวจงาน 3 โปรเจคยักษ์ แก้ท่วม-แล้งลุ่มน้ำทะเสสาบสงขลา
—
สทนช. ลงใต้ตรวจงานโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ล็อกเป้า 3 จุดสำคัญ “แ...
รัฐมนตรีเกษตรฯ ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำภายใต้ภาวะวิกฤติลุ่มน้ำประแสร์ เตรียมแนวทางในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วนและระยะยาว
—
นายเฉลิมชัย ศร...
“พลเอก ประวิตร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำอีอีซี ก่อนประชุมครม.สัญจรภาคตะวันออก
—
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้...
รมช.ธรรมนัส ลงพื้นที่ตรวจดูอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก เร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค – บริโภค เมืองบุรีรัมย์
—
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐม...
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง
—
ปัจจุบันวิกฤตการณ์ภัยแล้งที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะอย่า...
เดินหน้าโครงเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนลำตะคอง แก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก
—
สทนช.เร่งศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเ...
“พลเอก ประวิตร”ยก จ.ลำปาง ต้นแบบแก้แล้ง ไม่พบพื้นที่ประกาศแล้ง’62/63 พร้อมย้ำเร่งแผนพัฒนาแหล่งน้ำระยะสั้น-ยาว
—
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พ...