เงินเยียวยา ถึงมือเกษตรกรแล้วกว่า 7 ล้านราย ย้ำยื่นอุทธรณ์ถึง 5 มิ.ย. นี้ พร้อมฝากถึงเกษตรกร นำเงินที่ได้ใช้เพื่อการยังชีพและลุงทุนให้เกิดประโยช์สูงสุด
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่าจากที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ สศก. ในฐานะนายทะเบียน ดำเนินการรวบรวม และจัดทำระบบคัดกรองข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อเร่งช่วยเหลือเกษตรกร โดยจ่ายเงินตรงผ่านบัญชี จำนวน 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 ซึ่ง สศก. ได้ส่งรายชื่อเกษตรกรกลุ่มที่ 1 และ 2 ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แล้วรวม 7.59 ล้านราย
ล่าสุด ธ.ก.ส. ได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรแล้วตั้งแต่วันที่ 15-31 พฤษภาคม 63 จำนวน 7,103,721 ราย รวมเงิน 35,518 ล้านบาท ส่วนเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนไว้ภายใน 15 พฤษภาคม ธ.ก.ส. จะเร่งโอนเงินให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนมิถุนายน สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่เสร็จสิ้นขั้นตอนการขึ้นทะเบียน จะได้รับเงินครั้งเดียว 15,000 บาท ภายใน 15 ส.ค.63 โดยเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนโครงการช่วยเหลือเยียวยา แต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา สามารถดำเนินการอุทธรณ์ได้แล้วจนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ส่วนเกษตรกรชุดสุดท้ายสามารถอุทธรณ์ได้จนถึง 31 ก.ค..63
จากการติดตามผ่านหน่วยงานในพื้นที่ทั้ง 8 หน่วยงาน ของ สศก. พบว่า ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. - 31 พ.ค. 2563 ทั้ง 8 หน่วยงานรับเรื่องอุทธรณ์เยียวยา รวมทั้งสิ้น 48,621 ราย จำนวน 49,054 เรื่อง แบ่งเป็น กรมส่งเสริมการเกษตร 44,881 เรื่อง กรมปศุสัตว์ 2,933 เรื่อง กรมประมง 439 เรื่อง การยางแห่งประเทศไทย 742 เรื่อง สำนักงานคณะกรรมการอ้อย และน้ำตาลทราย 50 เรื่อง กรมหม่อนไหม 6 เรื่อง และกรมสรรพสามิต (ทะเบียนยาสูบ) 3 เรื่อง ผลการดำเนินงาน ณ 31 พฤษภาคม 63 พบว่า ขณะนี้หน่วยงานในระดับพื้นที่ได้แก้ไขปัญหาแล้ว 6,823 เรื่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานต้นสังกัด 40,598 เรื่อง และเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์ฯ 1,633 เรื่อง
ด้านนางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการ สศก. กล่าวว่า จากการติดตามสอบถามเกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยาไปแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้จ่ายค่าครองชีพ ของกิน ของใช้ประจำวัน นำเงินไปต่อยอดทำมาหากิน เช่น จ่ายค่าเช่าที่ทำกิน ซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อพันธุ์ปลา ซื้ออุปกรณ์จับปลา เครื่องมือทำมาหากิน ฯลฯ ที่เหลือจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกหลาน ค่ารักษาดูแลสุขภาพ และนำไปใช้อื่นๆ ตามความจำเป็น เช่น ค่ารถ ค่าไฟฟ้า ค่ามือถือ ค่าน้ำ เป็นต้น โดย วันที่ 4 มิถุนายนนี้ สศก. จะประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณากรอบ แนวทาง และวิธีการติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ภายหลังจากเกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยาแล้ว โดยจะมีการรายงานความคืบหน้าให้ทราบโดยเร็วต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรกรที่ยังมีปัญหา หน่วยงานในระดับพื้นที่ที่เรื่องอุทธรณ์จะได้หาทางแก้ไข หรือ เสนอคณะกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์ฯ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึงทุกราย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้กำชับให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่มีรายชื่อตกหล่น หรือไม่ได้รับสิทธิ์ หรือไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรอง สามารถมายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 5 มิถุนายนนี้ และสามารถเข้าตรวจสอบที่ www.moac.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์หลักของกระทรวง ใช้ตรวจสอบข้อมูลได้เบ็ดเสร็จในที่เดียว ทั้งผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร ตรวจสอบผลการโอนเงิน แจ้งช่องทางการรับเงินโอน ของทาง ธ.ก.ส. และตรวจสอบสถานะอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร ทั้งนี้ อยากฝากถึงเกษตรกรทุกท่านที่ได้รับเงินเยียวยา ได้นำไปใช้เพื่อการยังชีพให้เหมาะสม หรือนำไปลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการทำการเกษตรต่อไป
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
รมช.ประภัตร เห็นชอบ 5 ร่างมาตรฐาน "เห็ดหอมแห้ง-ปาล์มน้ำมัน-ข้าว" เตรียมประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป มุ่งยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร
—
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช...
สศก. ผนึก มช. ดึงเทคโนโลยีแบบจำลอง Rice4cast แม่นยำสูง พร้อมพลิกโฉมการพยากรณ์ผลผลิตข้าวแบบรายจังหวัด ปี 2564/65
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเ...
กระทรวงเกษตรฯ บูรณาการทุกภาคส่วน มุ่งสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางรายได้ให้เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกร...
วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.
—
"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซ...
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการด้านอาหารของประเทศไทย
—
อย. ร่วมกับ มกอช. ชี้แจง แนวทางการดำเน...
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จ.พิษณุโลก สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสม สร้างรายได้เกษตรกร
—
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยกา...
สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
—
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...