สศก. เผยแผนมาตรการเยียวยาแรงงานคืนถิ่น จากผลกระทบไวรัสโควิด-19 เตรียมชูโครงการ “แรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย ด้วยศาสตร์พระราชา”

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก) กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) เน้นย้ำการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร และแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์9 พร้อมได้เปิดเผยถึงแนวทางมาตรการการเยียวยาแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์9 หลังจากตนเองได้ลงพื้น พร้อมผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ณ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีษะเกษ เมื่อวันที่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์9 มีนาคม ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์563 เพื่อหารือกับ ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) อ. กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ และประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ระดับประเทศ เตรียมทางรอดรองรับแรงงานคืนถิ่นจากกรุงเทพ ที่ตกงานจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ รวมถึง แรงงานไทยที่กลับมาจากต่างประเทศ เช่น เกาหลี และจีน เป็นต้น

สศก. เผยแผนมาตรการเยียวยาแรงงานคืนถิ่น จากผลกระทบไวรัสโควิด-19 เตรียมชูโครงการ “แรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย ด้วยศาสตร์พระราชา”

โดย สศก. เตรียมเสนอ โครงการ “แรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทยด้วยศาสตร์พระราชา” เพื่อเป็นอาชีพทางรอดสำหรับการเยียวยา เน้นการทำการเกษตรผสมผสานแบบพอเพียง เพื่อให้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ภายใน 7-10 วัน เป็นทางรอด และสร้างภูมิคุ้มกันในสภาวะปัญหาเศรษฐกิจจากวิกฤตโรคร้ายโควิดนี้ โดยเน้นการปฎิบัติอย่างมีสติ คิดและทำเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้จิตมีสมาธิสามารถทบทวนแก้ไขปัญหา หลุดกับดักที่ประสบอยู่ จากนั้นค่อยเรียนรู้และขยายผลสู่การทำการเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้สามารถเลี้ยงตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน พลิกฟื้นชีวิตด้วยศาสตร์พระราชา

ด้านนายเชิดชัย จิณะแสน เศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ และประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ศพก) ระดับประเทศ และปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้ติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด 19 มาโดยตลอด และมีความเป็นห่วงแรงงานที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับ สศก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาล ดังนั้น ตนเอง พร้อมจะถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ลงมือทำการเกษตร ด้วยการใช้ศาสตร์พระราชา มากว่า 20 ปี รวมถึงประสบการณ์ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมมากกว่า 13 ปี ร่วมกับ สศก. และหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้กับแรงงานคืนถิ่นและผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด 19

โดยยินดีนำศูนย์ ศพก. ของตนเอง เข้าร่วมโครงการนำร่องร่วมกับ สศก. จัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาและขยายผลสู่แรงงานคืนถิ่นที่สนใจทำการเกษตรผสมผสาน ตั้งแต่ขั้นต้น ขั้นกลาง สู่การเกษตรยั่งยืน เบื้องต้น ในศูนย์การเรียนรู้ จะประกอบด้วย 9 ฐานเรียนรู้หลัก ประกอบด้วย ฐานเริ่มต้นการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ฐานพิพิธภัณฑ์ชาวนา ฐานที่อยู่อาศัย ฐานการทำประมงเพาะเลี้ยง ฐานการเลี้ยง ปศุสัตว์ ฐานปลูกพืชสวนครัว ฐานการปลูกไม้ผล ฐานการปลูกสวนป่าไม้เศรษฐกิจ อาทิ พะยูง และสัก เป็นต้น และฐานทำนา

เลขาธิการ สศก. กล่าวเพิ่มเติมว่า จะเร่งจัดทำร่างโครงการแล้วเสนอปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ความเห็นชอบ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่วมดำเนินการกับ สศก. และ กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) รวมทั้ง สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กรณี หากต้องใช้ที่ดินของ ส.ป.ก. ในการเร่งขยายผลการฝึกอบรมสร้างความรู้ผ่านไปยัง ศพก. ทั่วประเทศ 882 ศูนย์ และศูนย์เครือข่ายกว่า 10,000 ศูนย์ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นทางรอดและสร้างภูมิคุ้มกันในสภาวะปัญหาเศรษฐกิจจากวิกฤตโรคร้ายโควิดครั้งนี้

นอกจากนี้ สศก. ยังได้เตรียมเสนอโครงการที่สำคัญอีก 2 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการบัณฑิตจิตอาสาร่วมพัฒนาสหกรณ์ไทย โดยมีเป้าหมายให้นิสิต นักศึกษาจบใหม่ในระดับปริญญาตรี ที่หางานทำยากในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เข้ามามีส่วนร่วมฝึกอบรมและช่วยปฎิบัติงานจริง ณ หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิสหกรณ์การเกษตร ทั่วประเทศ และ 2) โครงการสร้างผู้ประกอบการด้านการให้บริการทางการเกษตร Agri-business provider โดยมีกลุ่มเป้าหมายให้นิสิต นักศึกษาจบใหม่ หรือแรงงานผู้ถูกเลิกจ้าง ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรสมัยใหม่เข้ารับการอบรมเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร Agri-tech and Inovation ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agri-tech and Innovation Center:AIC) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทำบันทึกความร่วมมือ ( MOU) กับสถาบันการศึกษา 77 จังหวัดทั่วประเทศไว้แล้ว เพื่อพัฒนาและต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพด้านการให้บริการทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ก้าวสู่การทำการเกษตรแบบแม่นยำ precision farming และการเป็น smart farmer ต่อไป


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...