คนไทยร้อยละ 1-2 ป่วยเป็นโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด แพทย์ชี้ความรู้เรื่องโรคต่ำ อาจเสี่ยงต่อความพิการ

          ผู้เชี่ยวชาญร่วมสัมมนา เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึดในประเทศไทย

          บรรยายภาพ เมื่อเร็วๆนี้ ผศ. นพ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ (ที่ กันย์ พงษ์สามารถ จากขวา) อดีตประธานสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย ร่วมบรรยายให้ความรู้ในประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติในหัวข้อ "Co-Creation Workshop: Ankylosing Spondylitis" โดยมี (จากซ้ายไปขวา) นพ.กันย์ พงษ์สามารถ ศ.พญ.สุมาภา ชัยอำนวย ทศพล พุ่มมาลา ผู้ป่วยและประธานกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด และนพ.สูงชัย อังธารารักษ์ เข้าร่วมประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจและระดมความคิดเพื่อช่วยพัฒนาสถาณการณ์โรคและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
          บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัดได้จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติในหัวข้อ "Co-Creation Workshop: Ankylosing Spondylitis" โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ประชุมวิชาการกิตติ โตเต็มโชคชัยการ คน จากสาขาต่างๆ รวมถึง แพทย์ เภสัชกร ผู้ป่วย สื่อมวลชน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ผู้แทนบริษัทประกันชีวิต เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ความยากลำบากของผู้ป่วย และระดมความคิดเพื่อช่วยทำให้สถาณการณ์ดังกล่าวดีขึ้น 
          โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด (Ankylosing Spondylitis) จัดเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง มีอาการปวดเรื้องรัง ทำให้เกิดอาการข้อฝืดแข็งบริเวณต้นคอจนถึงสันหลังช่วงล่าง หรือกระดูกสันหลังยึดติดเข้าด้วยกัน โดยอาการเหล่านี้อาจเป็นได้ในระยะเริ่มต้นจนถึงระยะรุนแรง ถึงขั้นทำให้หลังค่อมหรือหลังแข็งได้
          ผศ. นพ. กิตติ โตเต็มโชคชัยการ อดีตประธานสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า "ในประเทศไทยพบว่า หนึ่งในร้อยของประชากรไทย หรืออย่างน้อย 66กิตติ โตเต็มโชคชัยการ,กิตติ โตเต็มโชคชัยการกิตติ โตเต็มโชคชัยการกิตติ โตเต็มโชคชัยการ คน เป็นผู้ป่วยโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยเจอโรคเฉลี่ยอย่างน้อย สมาคมรูมาติสซั่ม ปี หรืออาจยาวนานถึง สมาคมรูมาติสซั่มกิตติ โตเต็มโชคชัยการ ปี สาเหตุของการวินิจฉัยที่ล่าช้ามาจาก นวัตกรรมทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ความรู้เกี่ยวกับโรคต่ำ การขาดความรู้ในการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบ การขาดความรู้ในการอ่านฟิล์มเอ็กซ์เรย์เพื่อวินิจฉัยโรค ขาดบุคลากรโรคข้อรูมาตอยด์ ทั้งนี้ การวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มต้นนั้นจะช่วยควบคุมความเจ็บปวด ความฝืดแข็งและลดหรือป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ สัญญาณแรกของโรคคืออาการปวดหลังส่วนล่าง แต่จะมีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดหลังในกลุ่มคนอายุน้อย ปวดจากการไม่ได้ใช้งาน มีอาการปวดต่อเนื่องกว่า ประชุมวิชาการ เดือน และมีอาการโรคไขข้ออักเสบและม่านตาอักเสบร่วมด้วย วิธีการรักษา มีตั้งแต่ การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และการผ่าตัดเพื่อช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ซึ่งการประชุมวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจอาการของโรคและแผนในการรักษาโรคเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างเข้าใจและมีความสุข"
          นพ. กันย์ พงษ์สามารถ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคไขข้อ สถาบันสุขภาพเด็ก กล่าวว่า "อายุของผู้ป่วยที่ต่ำที่สุดคือ 6 ปี คนไข้เด็กจะมีความลำบากในการอธิบายถึงอาการและความเจ็บปวด โรคนี้ก่อให้เกิดภาระในการดำเนินชีวิต แต่ก็ยังมีผู้ป่วยจำนวนหลายคนที่ยังสามารถเรียน หรือทำงานได้ ผู้ป่วยเด็กที่จะต้องเสียโอกาสทางการศึกษาขณะได้รับการรักษา ควรได้รับการชดเชยเพื่อช่วยเป็นหลักประกันให้เขามีอนาคตที่ดี"
          ทศพล พุ่มมาลา ผู้ป่วยและประธานกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด กล่าวว่า "โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึดถือเป็นโรคเรื้อรัง ผู้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากโรคนี้ สามารถติดตามเฟสบุ๊คกลุ่มผู้ป่วย thaiasclub รับข่าวข่าว แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเราพร้อมที่จะให้การสนับสนุนผู้ป่วยโรคนี้ในทุกเรื่อง" 
          การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติในหัวข้อ "Co-Creation Workshop: Ankylosing Spondylitis" จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจถึงความร้ายแรงของโรค การวินิจฉัยโรค วิธีการรักษาโรค ค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงการติดตามผลการรักษาโรค โดยการประชุมในครั้งนี้มีความเห็นตรงกันว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ผ่านทางช่องทางต่างๆทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ เผยแพร่แนวทางการรักษาที่ถูกต้อง และจัดทำข้อมูลที่จำเป็นให้แก่แพทย์และผู้ป่วย เพื่อให้ตระหนักถึงโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด ทั้งยังทำให้โรคมีผลกระทบต่อผู้ตัดสินใจและปรับปรุงระบบ AS care โดยความคิดเห็นเหล่านี้จะไปประยุกต์ใช้และส่งไปยังสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางระบบสุขภาพ เพื่อเป็นแผนการพัฒนาต่อไปในอนาคต 
          ภก. วีรวัฒน์ มีแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์และการเข้าถึงยา บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด กล่าวว่า "บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อให้ทุกคนมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต เพื่อการจัดการนำไปปรับใช้ และรู้วิธีป้องกันโรคนี้ ซึ่งการประชุมวิชาการนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการการสร้างเครือข่าย และเป็นการระดมความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายฝ่าย เรารู้สึกตื่นเต้นที่ผู้ป่วย แพทย์ สื่อมวลชน และผู้มีอิทธิพลทางด้านต่างๆได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และระดมความคิดเห็น เพื่อเป้าหมายในการปรับปรุงการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ให้ดีขึ้น"

          เกี่ยวกับจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน
          จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เชื่อว่าสุขภาพที่ดีเป็นหัวใจสำคัญของการมีชีวิตที่สดใส สังคมเจริญรุ่งเรืองและมีการพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว นี่คือเหตุผล ตลอดเวลากว่า สมาคมรูมาติสซั่มประชุมวิชาการกิตติ โตเต็มโชคชัยการ ปีที่ผ่านมา จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันมุ่งมั่นในการสร้างสุขภาพที่ดีของผู้คนไม่ว่าจะอายุเท่าใดหรืออยู่ในช่วงอายุใด ในฐานะบริษัทเฮลธ์แคร์ที่ใหญ่ที่สุดและมีธุรกิจกระจายอยู่มากที่สุดทั่วโลก จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จะนำจุดเด่นในด้านการมีเครือข่ายและองค์กรขนาดใหญ่เพื่อเจตนารมณ์อันดี ในการพัฒนาการเข้าถึงและการสร้างชุมชนที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น ด้วยการมีสุขภาพที่ดี ทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับทุกคนและทุกแห่งหน จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน หลอมรวมจิตใจรวมเข้ากับวิทยาศาสตร์ และความชาญฉลาดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เพื่อมอบวิถีการมีสุขภาพที่ดีแก่มนุษยชาติ
คนไทยร้อยละ 1-2 ป่วยเป็นโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด แพทย์ชี้ความรู้เรื่องโรคต่ำ อาจเสี่ยงต่อความพิการ
 
คนไทยร้อยละ 1-2 ป่วยเป็นโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด แพทย์ชี้ความรู้เรื่องโรคต่ำ อาจเสี่ยงต่อความพิการ
คนไทยร้อยละ 1-2 ป่วยเป็นโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด แพทย์ชี้ความรู้เรื่องโรคต่ำ อาจเสี่ยงต่อความพิการ
 
คนไทยร้อยละ 1-2 ป่วยเป็นโรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด แพทย์ชี้ความรู้เรื่องโรคต่ำ อาจเสี่ยงต่อความพิการ
 
 
 
 

ข่าวกิตติ โตเต็มโชคชัยการ+สมาคมรูมาติสซั่มวันนี้

มูลนิธิรักษ์ข้อ เปิดตัวแคมเปญ “Stretches and Strong...ยืดตัวไม่กลัวข้อติด” ชวนรู้เท่าทันโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เมื่อปวดหลังเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องธรรมดา

มูลนิธิรักษ์ข้อแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญ "Stretches and Strong...ยืดตัวไม่กลัวข้อติด" เร่งชวนคนไทยรู้จักโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด เตือนคนไทยปวดหลังเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องธรรมดา รักษาช้าเสี่ยงพิการตลอดชีวิต หลังพบผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม หวังเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างใกล้เคียงปกติมากที่สุด ผศ.นพ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ คณะแพทยศาสตร์

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยจัดเสวนา เข้... ภาพข่าว: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรียนรู้ สู้รูมาตอยด์ แบบเจาะลึก — สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยจัดเสวนา เข้าใจ เรียนรู้ สู้รูมาตอยด์ แบบเจ...

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย จัดงาน "Be ... สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย จัดงาน “Be Happy Gout เรื่องเกาต์...เราต้องรู้” — สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย จัดงาน "Be Happy Gout เรื่องเกาต์...เราต้อง...

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย เชิญร่วมงาน... สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย เชิญร่วมงานเสวนา Be Happy Gout “เรื่องเกาต์...เราต้องรู้” — สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย เชิญร่วมงานเสวนาเพื่อผู้ป่วยโรคเกา...

ภาพข่าว: พรีม่าร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ สภาสังคมสงเคราะห์ฯและมูลนิธิทศวรรษโรคกระดูกและข้อ (ประเทศไทย) จัดการประชุมวิชาการ “พิชิตกระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงวัย”

สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ...

ชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์จัดกิจกรรมเดินการกุศล “เดินสู้รูมาตอยด์” เนื่องในวันโรคข้ออักเสบสากล (World Arthritis Day)

ชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์ร่วมกับสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย และบริษัท ไวเอท (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเดินการกุศล “เดินสู้รูมาตอยด์” เนื่องในวันโรคข้ออักเสบสากล (World Arthritis Day)...

ชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์ จัดกิจกรรมเดินการกุศล เนื่องในวันโรคข้ออักเสบสากล (World Arthritis Day) “เดินสู้รูมาตอยด์”

ชมรมเรียนรู้สู้รูมาตอยด์ ชมรมผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย ขอเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรม...