ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ เตือนภัย 'เอลนินโญ่’ หวั่น ปีหน้าน้ำแล้ง หลังฤดูฝนที่กำลังจะสิ้นสุดเร็วขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

          โดย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

          การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระยะหลายปีหลังมานี้ เริ่มปรากฏให้เห็นชัดมากขึ้นจะสังเกตเห็นว่าเกิดการผิดปกติของสภาพอากาศบ่อยมากขึ้น เช่น ฤดูฝนยาวขึ้น และปริมาณฝนที่ตกหนักมากขึ้น ฤดูร้อนก็ยาวนาน และอากาศที่ร้อนมากขึ้น ขณะที่ฤดูหนาวเริ่มสั้นลง บางพื้นที่ฝนตกน้ำท่วม สลับกับร้อน ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกอยู่ทุกวันนี้ อาจมีสาเหตุจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
          รศ.ดร.สุจริต คูณธนกลุวงศ์ จากภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ กล่าวถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Clmate Change) ทำให้ฝนจะมาเร็วหรือมาช้า ซึ่งจะเห็นว่าฝนปีนี้มาเร็วกว่าปกติ และมีปริมาณฝนตกหนักค่อนข้างมาก โดยช่วงต้นฤดูฝนจะยังคงมีฝนตกอยู่ แต่หลังจากเดือน ส.ค.-ก.ย. นี้ไปแล้ว ฝนจะเริ่มตกน้อยลง จากปกติจะต้องไปสิ้นสุดประมาณเดือน ต.ค. 
          ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ชี้แจงว่า สาเหตุที่ประเทศไทยมีฝนตกเร็วขึ้นเป็นผลจากปรากฏการณ์ลานินญาที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว และกำลังจะหมดลงประมาณช่วงกลางของฤดูฝน แต่ภัยที่จะเข้ามาคือ มีโอกาสจะเกิดเป็นเอลนินโญปานกลางสูง ทำให้แนวโน้มฝนในปีนี้มีโอกาสจะหยุดตกเร็วขึ้น แต่เนื่องจากน้ำในเขื่อนยังมีมากอยู่ ไทยจะไม่ประสบภัยแล้งเหมือนปี ภาวะโลกร้อน557– ภาวะโลกร้อน558 แต่จะมีผลคล้ายปี ภาวะโลกร้อน555 แต่ก็ต้องเฝ้าระวังในเรื่องของบางพื้นที่ที่ยังไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ก็อาจจะเกิดภัยแล้งเล็กๆ ได้ ทำให้เราจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาวในการดูแลทรัยพากรน้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง 
          "เรื่องของน้ำท่วมในปีนี้ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่อาจจะต้องห่วงเรื่องน้ำแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้ในปีหน้า เพราะมีแนวโน้มกลับมาเป็นเอลนินโญ อากาศจะร้อนขึ้นอีกครั้ง แต่คาดว่าสถานการณ์แล้งจะอยู่ในช่วงสั้นๆ ประมาณ 3 – 6 เดือน จากนั้นสถานการณ์ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเลในช่วงนี้มีการเคลื่อนตัวผิดปกติ น้ำทะเลด้านล่างเริ่มอุ่นขึ้น"
รศ.ดร.สุจริต กล่าวอีกว่า " ข้อค้นพบจากผลการศึกษาวิจัยสถานการณ์น้ำของประเทศไทยย้อนหลังในช่วง สภาพอากาศแปรปรวนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปีที่ผ่านมาภายใต้โครงการรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำของประเทศไทย : ทรัพยากรน้ำกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำให้เห็นว่า แต่เดิมมักพูดว่าน้ำแล้ง น้ำท่วมจะสลับกันมาทุก 3 ปี แต่ปัจจุบันในปีเดียวกันมีทั้งแล้งและฝน จะเห็นชัดว่า สถานการณ์ไม่ได้เป็นแบบเดิมแล้ว แนวโน้มธรรมชาติต่อไปจะเกิดขึ้นแบบนี้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ในปีนี้ที่คาดว่าน้ำอาจท่วมเพราะฝนมาเร็วและตกมาก แต่พอปลายฝนสถานการณ์จะเริ่มเปลี่ยนเป็นแล้งได้ เพราะลักษณะของสภาพภูมิอากาศมีความแปรปรวนที่รวดเร็วมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงจากภาวะแปรปรวนแบบ ภาวะโลกร้อน-3 ปีครั้ง มาเป็นภาวะความแปรปรวนแบบฉบับพลันแทน จึงมีความเป็นไปได้ที่แม้กระทั่งอาจเกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งภายในปีเดียวกัน"
ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ เตือนภัย 'เอลนินโญ่’ หวั่น ปีหน้าน้ำแล้ง หลังฤดูฝนที่กำลังจะสิ้นสุดเร็วขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ เตือนภัย 'เอลนินโญ่’ หวั่น ปีหน้าน้ำแล้ง หลังฤดูฝนที่กำลังจะสิ้นสุดเร็วขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ เตือนภัย 'เอลนินโญ่’ หวั่น ปีหน้าน้ำแล้ง หลังฤดูฝนที่กำลังจะสิ้นสุดเร็วขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
 
 
 
 
 

ข่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย+กองทุนสนับสนุนการวิจัยวันนี้

นักวิจัยมจธ.โชว์เทคโนโลยีวิศวกรรมโบราณสถาน รัฐ-เอกชนรุมจีบทำฐานข้อมูลดิจิทัลสถานที่สำคัญ

รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโลยีพระจอมเกล้า เปิดเผยถึงการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2561-2562 และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านหน่วยบริหาร

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเ... Innovative house เสริมกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ SMEs ไทย ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง — ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การ... “มิติใหม่ของข้าวเม่า” Fusion Food ฉบับบุรีรัมย์โมเดล — สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ...

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรร... คณะวิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการวิจัยระบบโลจิสติกส์กทม.และปริมณฑล รองรับ “มหานครแห่งเอเชีย” — ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...