“รัฐมนตรีช่วยฯ วิวัฒน์”มอบนโยบายให้หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลทั้ง 10 หน่วยงาน น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นหลักในการขับเคลื่อนงาน พร้อมเร่งเดินหน้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้

          นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมมอบนโยบายให้แก่หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของตนทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมหม่อนไหม สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ณ กรมชลประทาน สามเสน โดยได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานได้ยึดถือแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นหลักในการขับเคลื่อนงาน ยึดมั่นการทำงานเพื่อประชาชน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักภูมิสังคม และภูมิศาสตร์ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายกฤษฎา บุญราช) มีนโยบายที่จะขับเคลื่อนขยายผลในนโยบายเดิมที่ดีและเห็นผลของกระทรวงเกษตรฯ ให้ประสบผลสำเร็จ โครงการใดที่ยังขาดไม่สมบูรณ์จะเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อช่วยประชาชนให้ลดความเหลื่อมล้ำตลอดทั้งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยจะนำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มากำหนดเป็นกรอบการแผนสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่อไป
          นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้สถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีภารกิจในการจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมโดยน้อมนำแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ตลอดทั้งรวบรวมทฤษฎีกว่า 4สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ทฤษฎี ของรัชกาลที่ 9 นำมาพัฒนาเป็นหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในกระทรวงเกษตรฯ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความพอเพียง นำไปเป็นหลักในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิต ตลอดทั้งถ่ายทอดไปสู่สังคมต่อไป
          นายวิวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในเบื้องต้น คือ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งได้เดินทางมาที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (Smart Water Operation Center) หรือ SWOC ของกรมชลประทาน เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ ตลอดทั้งการเตรียมการวางแผนล่วงหน้าเพื่อรับมือกับภัยแล้ง เนื่องจากพื้นที่ฝนตกในเขตชลประทานสามารถควบคุมบริหารจัดการน้ำได้ แต่พื้นที่นอกเขตชลประทานจะควบคุมยาก จึงต้องขอความร่วมกับทุกจังหวัดเพื่อหาแนวทางเก็บกักน้ำในพื้นที่ของชาวบ้านให้มากที่สุด เพื่อรองรับให้เกษตรกรในช่วงหน้าแล้งด้วย ทั้งนี้ ในส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ กรมชลประทานได้มีการเตรียมความเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ ให้เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ฝนในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนไว้แล้ว โดยเป็นเครื่องสูบน้ำ จำนวนทั้งสิ้น กรมฝนหลวงและการบินเกษตร8สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว8สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เครื่อง รถสูบน้ำ 5เครื่อง เครื่องจักรกลสนับสนุน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เครื่อง และสะพานเหล็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชุด พร้อมทั้งให้โครงการชลประทานในพื้นที่เสี่ยงภัย รายงานสถานการณ์น้ำต่อผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ให้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
          ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้ (8 ธ.ค.6สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร) นายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) พร้อมด้วย รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร) และอธิบดีกรมชลประทาน (นายทองเปลว กองจันทร์ ) จะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานการณ์อุทกภัยและพบปะให้กำลังใจพร้อมทั้งมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุกภัยในพื้นที่ จ.ตรัง ด้วย
“รัฐมนตรีช่วยฯ วิวัฒน์”มอบนโยบายให้หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลทั้ง 10 หน่วยงาน น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นหลักในการขับเคลื่อนงาน พร้อมเร่งเดินหน้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
 

ข่าวสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร+พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววันนี้

ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100 ล้าน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA ร่วมกับ ฟาร์ม เอ็กซ์โป เดินหน้าจับมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กลุ่มบริษัท ซี แอล พี (CLP Group) และ การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand) เปิดเวทีการแข่งขัน "AGRITHON by ARDA Season 2" เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมเกษตรระดับประเทศจากนักวิจัย สตาร์ทอัพ เกษตรกรรุ่นใหม่ และเยาวชนทั่วประเทศ คุณชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 26 กล่าวว่า

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรร... อ.อ.ป. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ "Carbon Credit โอกาสทางธุรกิจ เพื่อการฟื้นฟูโลก" — เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรรมป่าไม้ โดยนายชาญณรง...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ร่วมหารือ สวก. ขับเคลื่อนภาคการเกษตรให้ยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห...

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย" — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...

หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่น... กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจฉิมนิเทศน์และปิดหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 — หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 โดยหลักสูตร วกส. ...

ลำไยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีปร... ม.มหิดล วิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า และรักษาคุณภาพสินค้าเกษตร — ลำไยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกลำไยสดไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าหลา...