รศ.ดร.เชษฐ ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพล (Master Poll) เรื่อง นักการเมืองกับซิงเกิลเกตเวย์ในสายตาแกนนำชุมชน กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวน 58ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน ชุมชนตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นทางสถิติจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลแกนนำชุมชนทั่วประเทศ รวบรวมโดย ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน ดำเนินโครงการในวันที่ 5 - 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า
แกนนำชุมชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.3 ระบุตั้งแต่ หลัง คสช. และ รัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ ยังไม่เคยเห็นนักการเมืองเสนอนโยบายช่วยประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 15.7 ระบุเคยเห็น แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.6 พบเห็นนักการเมืองเคลื่อนไหวเพื่อความอยู่รอดของตัวเองมากกว่า มีเพียงร้อยละ 14.4 ที่พบเห็นนักการเมืองเคลื่อนไหวเพื่อช่วยประชาชนลดความเดือดร้อน
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 เห็นด้วยที่นักการเมืองควรเสนอนโยบายดีๆ ต่อรัฐบาล แม้ตนเองไม่มีอำนาจ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.1 คิดว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ความขัดแย้งรุนแรงจะเกิดขึ้นอีก
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง ซิงเกิลเกตเวย์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.7 ไม่รู้จัก ซิงเกิลเกตเวย์ และส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 ไม่เคยศึกษา หาข้อมูลเกี่ยวกับ ซิงเกิลเกตเวย์ ด้วยตนเอง นอกจากนี้ตัวอย่างแกนนำชุมชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 7ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน.9 ไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวในโลกอินเทอร์เน็ต
รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับความสำเร็จในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ชุมชน จาก 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี กาญจนบุรี ลพบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี ระยอง ตราด นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร เลย หนองคาย เชียงใหม่ พะ