คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี

12 Jun 2015
คณะนักวิจัยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่ภาคใต้ ณ จังหวัดเพชรบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง และกระบี่ ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี --- มุ่งแสวงหาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี และสร้างอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่
คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี

วันจันทร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๑.๐๐-๑๔.๐๐ น. คณะนักวิจัยโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ดร.อุดม มุ่งเกษม ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ นายนุกูล สัญฐิติเสรี นักวิจัย พร้อมคณะ โดยมี นายธรรศ ธรรมฤทธิ์ จากสำนักงานกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สำนักงาน กสทช. เข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยคณะได้ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบุรี (พมจ.เพชรบุรี) มีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ คุณพิชัย เรืองวิชา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ พมจ.เพชรบุรี คุณวินัย คุ้มครอง นายกสมาคมสภาผู้สูงอายุฯ จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ พร้อมกับร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการสร้างอาสาสมัครแกนนำในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางการจัดบริการโทรคมนาคม เพื่อเสนอให้ กสทช.พิจารณาจัดบริการโทรคมนาคมและจัดสรรเงินกองทุน กทปส. เพื่อสนับสนุนการจัดบริการโทรคมนาคมที่เหมาะสมต่อไป

ต่อมาในช่วงบ่าย เวลา ๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น. คณะนักวิจัยฯ ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี โดยได้พบหารือกับ นายปริญญา ศรีธัญญแก้ว หัวหน้าเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง ... เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง เป็นเรือนจำความมั่นคงต่ำ เป็นศูนย์เตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ควบคุมผู้ต้องขังที่ต้องโทษครั้งแรก ใกล้พ้นโทษ (เหลือโทษจำไม่เกิน ๕ ปี) หรือจำคุกมาแล้ว ๑ ใน ๔ หากเป็นคดียาเสพย์ติดต้องอยู่ในเงื่อนไขการพักโทษ จากเรือนจำกลางเพชรบุรีและเรือนจำใกล้เคียง เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ขึ้นตรงต่อเรือนจำกลางเพชรบุรี

วันอังคารที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๙.๓๐ น. คณะนักวิจัยฯ ได้ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๐ จังหวัดชุมพร เลขที่ ๑๘๘ หมู่ที่ ๗ ถนนเพชรเกษม ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (www.rpk20.ac.th) การนี้ ได้เข้าพบหารือกับ นางสุจิตรา เจือสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะ โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ พร้อมกับร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี

ต่อมา เวลา ๑๑.๐๐ น. คณะนักวิจัยฯ ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนชุมพรปัญญานุกูล เลขที่ ๕๗ หมู่ที่ ๑ ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร (http://chumphonps.ac.th/) การนี้ ได้เข้าพบหารือกับ นางอนงค์ เนตรทิพย์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และคณะ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส

เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะนักวิจัยฯ ได้ประชุมหารือกับ นายชูรินทร์ ขวัญทอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช นางสาวจินตนา ศรีนันทพันธ์ ผอ.ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายวีระ เขนย นายกสมาคมคนพิการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

วันพุธที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะนักวิจัยฯ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดยมีการแบ่งกลุ่มย่อยระดมสมอง ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มนิมิตใหม่ กลุ่มออนไลน์ในฝัน กลุ่มดอกลำดวน กลุ่มโลกเงียบ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมที่เหมาะสม โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ พร้อมกับร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการสร้างอาสาสมัครแกนนำในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางการจัดบริการโทรคมนาคม จากนั้น เป็นการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย พร้อมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับ (๑) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการเข้ารับบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน (๒) การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ อินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และโทรคมนาคม ในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก "สื่อใหม่" เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งทักษะในการสื่อสาร

ผลการลงพื้นที่จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เวทีภาคใต้ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้แทนองค์กรคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและสมัครเข้าเป็นอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่ และมีข้อเสนอแนะแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครตรัง คณะนักวิจัยฯ นำโดย ดร.อุดม มุ่งเกษม ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ นายนุกูล สัญฐิติเสรี นักวิจัย พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดตรัง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๙ คน ได้แก่ นางโสภา คงมา นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ พมจ.ตรัง นางสรัสสวดี ดำรงอัตสิน ประธานชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง นางสาวอรุณี คงแก้ว เลขานุการเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี จังหวัดตรัง นางพัชรา ไทรงาม ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดตรัง นายพิษณุ ธีระกนก ที่ปรึกษา ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดตรัง นายสุทีป ภักดี นายกสมาคมคนพิการจังหวัดตรัง และ นางสาวมนรัตน์ บรรณางกูร นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ พมจ. ตรัง

ช่วงบ่าย คณะนักวิจัยฯ ได้เข้าศึกษาดูงานการดำเนินงานของศึกษาดูงานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกประจำจังหวัดตรัง และศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก จังหวัดตรัง ซึ่งดำเนินงานโดยมูลนิธิออทิสติกไทย สาขาจังหวัดตรัง ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาประกอบการจัดทำแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีต่อไป

ต่อมาเวลา ๑๘.๓๐ ณ ร้านอาหารเรือนทะเล จังหวัดกระบี่ คณะนักวิจัยฯ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ นายกิตติ อินทรกูร พมจ.กระบี่ นางสาวทิวา ร่มรื่น สื่อมวลชนจังหวัดกระบี่ นางสุจิตรา วัฒนศรี นักบริหารงานทั่วไป อบจ.กระบี่ นายวีระพงษ์ ไวทยวงศ์สกุล ประชาสัมพันธ์ จังหวัดกระบี่ และ นายสุวรรณ มุคุระ เลขานุการเครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดกระบี่

ผลการลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ (1) จัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ในระดับพื้นที่เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อและใช้สื่อใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจเผยแพร่ผ่านหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน วิทยุชุมชน อาสาสมัครแกนนำ เป็นต้น (2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายอาสาสมัครถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ได้อย่างถูกต้อง สร้างสรรค์ สร้างความสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับการใช้ชีวิตในมิติอื่นๆ (มิใช่เสพติดการใช้เทคโนโลยีจนแปลกแยกจากสังคม) (3) มีกลไกสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส สามารถจัดหาเครื่องมือในเข้าถึงสื่อใหม่ ได้ในราคาที่เหมาะสม (4) จัดบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่ถูกสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส (5) ควรมีหน่วยงานทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและคัดกรองสื่อที่ถูกเผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ก่อนที่ผู้ใช้จะแชร์ข้อมูลออกไป หรือแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่าข้อมูลใดจริง/ข้อมูลใดเท็จ (6) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ในพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ เช่น ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนการประกอบอาชีพ การประดิดประดอยของชำร่วย การใช้ไลน์ในการติดต่อสื่อสาร การเล่นเกมส์เพื่อการพักผ่อน เป็นต้น (7) ควบคุมสื่อให้เป็นสื่อที่สร้างสรรค์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ (8) ส่งเสริมให้มีรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ การให้ความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น (9) จัดให้มีช่องรายการของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ (10) ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังที่ใกล้จะพ้นโทษได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพเมื่อพ้นโทษ เช่น การเปิดสอนในระบบ e-Learning หรือการศึกษาทางไกล มีการวางแผน การฝึกเรื่องการหาข้อมูล การวางแผนในการทำธุรกิจ เก็บรวบรวมสถิติในการทำกิจกรรม ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ เป็นต้น (11) สนับสนุนอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ การวิจัยและพัฒนา การจัดฝึกอบรมการพัฒนาสื่อการสอนแก่เด็กพิการ หรือด้อยโอกาส ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนปัญญานุกูล เป็นต้น (12) ควรมีช่องรายการทางโทรทัศน์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มคนพิเศษ เป็นการเฉพาะ (13) วางระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้มีความทั่วถึง

สำหรับท่านที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี หรือแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สามารถแสดงร่วมแสดงความคิดเห็นได้ทางเว็บไซต์ www.convergencebtfpfund.netสำนักงานโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีเลขที่ 23/19-20 ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 41 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120โทร. 08 1933 0388 , 08 1833 7730 โทรสาร 0 2980 9183Email: [email protected]สามารถติดตามข่าวสารของโครงการฯ ได้ที่ www.convergencebtfpfund.net

คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี