คณะนักวิจัยลงพื้นที่แสวงหาแนวทางการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” เวทีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดอุบลราชธานี

          คณะนักวิจัยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก "สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดอุบลราชธานี -- มุ่งแสวงหาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสและสร้างอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่
          เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะนักวิจัยโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย นางสาวพรรณราย ขันธกิจ นายนุกูล สัญฐิติเสรี นางสาววัชรา ไชยสาร นักวิจัย พร้อมคณะ โดยมี นายธรรศ ธรรมฤทธิ์ จากสำนักงานกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สำนักงาน กสทช. เข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยในภาคเช้า เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี สัมภาษณ์และประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับ นายบุญนาค อัครพิพัฒปกุลเลขาธิการ/ผู้ประสานงานชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนแค จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกอย่างดียิ่ง โดยได้ร่วมกันให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย ณ ชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนแค จังหวัดอุบลราชธานี
          จากนั้น คณะนักวิจัยได้ประชุมหารือและจัดเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับร่วมกับนายบุญนาค อัครพิพัฒปกุล เลาธิการ/ผู้ประสานงานชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนแค จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยกรรมการหมู่บ้านบ้านดอนแค และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนแค ฯลฯ จำนวน ๑๗ คน โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้สมัครเข้าเป็นอาสาสมัครสื่อสารความรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน (งานจิตอาสา) จำนวน ๑๔ คน โดยจะนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่ชุมชนต่อไป
          ในภาคบ่าย เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์และดูงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับ นายสมพร กลิ่นแก้ว สมาคมคนตาบอดและคนพิการ จังหวัดอุบลราชธานี, นายยีน คำเสียง นายกสมาคมร่วมใจเพื่อคนพิการเมืองดอกบัว พร้อมสมาชิก โดยการเป็นแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีของคนพิการในชุมชน และการนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนเรียนรู้ ในการนี้ คณะผู้วิจัยได้ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ซึ่งนายยีน คำเสียง นายกสมาคมร่วมใจเพื่อคนพิการเมืองดอกบัว และสมาชิกสมาคม จำนวน ๑๒ คน ได้สมัครเข้าเป็นอาสาสมัคร สื่อสารความรู้ (งานจิตอาสา) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้และการเรียนรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสด้วย
          ผลการลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เวทีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้แทนองค์กรคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและสมัครเข้าเป็นอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่ จำนวนกว่า ๑๕ คน และมีข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปกำหนดแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก "สื่อใหม่” ตามโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ต่อไป
สำหรับท่านที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก "สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี หรือแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สามารถแสดงร่วมแสดงความคิดเห็นได้ทางเว็บไซต์ www.convergencebtfpfund.net


ข่าวสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย+มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วันนี้

ไทยได้ประโยชน์จากสงครามการค้าจริงหรือ?: มิติทางด้านการลงทุน

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโครงการศึกษาการแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ของอุตสาหกรรมสำคัญระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และนัยต่อเศรษฐกิจการค้าไทย ผลการศึกษาด้านการลงทุน พบว่า ไทยได้อานิสงค์ในส่วนของการขยายการลงทุนและการย้ายฐานการผลิตจากสงครามการค้า โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐฯ สิงคโปร์ และ

เชิญเข้าร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่าง... เชิญร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไทยได้หรือเสียประโยชน์" — เชิญเข้าร่วมงานสัมมนา "Decoupling ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไทยได้หรือเสียประโยชน์...

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันวิจัยแล... ธรรมศาสตร์ยกย่องนักวิจัยมธ. 73 ราย 7 สาขา 57 รางวัล ตอกย้ำความก้าวหน้าทางวิชาการ — ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรร...

สศอ.เสนอแผนปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม จับมือ 3 ป... สศอ.เสนอแผนปฏิรูปอุตสาหกรรมดันรายได้ประชากรเพิ่ม 2.25 เท่า — สศอ.เสนอแผนปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม จับมือ 3 ประเทศหุ้นส่วน ขับเคลื่อน 3 อุตสาหกรรมอนาคต ดันรายได้...

การเคหะแห่งชาติและสถาบันวิจัยและให้คำปรึก... ขอเชิญเข้าร่วมฟัง “โอกาสร่วมธุรกิจกับการเคหะแห่งชาติ ภายใต้แผนพัฒนาใหม่” — การเคหะแห่งชาติและสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเรียนเชิ...

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา เพื่อระดมความคิดเห็น (Forum) ครั้งที่ 2

ด้วยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กำหนดจัดการประชุมสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็น...

ภาพข่าว: NPS รับประกาศเกียรติคุณ ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในโรงงาน

เมื่อเร็วๆ นี้ นายอภิชัย ซอปิติพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นพีเอส ผู้นำด้านพลังงานทดแทนจากพลังงานปลูกได้ รับมอบประกาศนียบัตรจากการเข้าร่วมโครงการ “ส่งเสริม...