ฟูจิตสึร่วมสนับสนุนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม ในการพัฒนาระบบเพื่อการศึกษาผ่านแท็บเล็ตอย่างเหนือชั้น

04 Feb 2015
บริษัท ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด (ประเทศญี่ปุ่น) จำกัด และ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวถึงความร่วมมือในการพัฒนานำระบบไอทีเข้ามาสนับสนุนการศึกษาสำหรับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม โดยจะเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบสำหรับระดับมัธยมศึกษาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ และระดับประถมศึกษาในวันที่ 1 เมษายน ที่จะถึงนี้

นักเรียนแต่ละระดับชั้นจะได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ผ่านระบบ “Opinion Shareing System” ของโครงการ “Fujitsu Learning Project of Tomorrow” ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถนำเสนอความคิดของตนเองหรือสามารถพิมพ์คำตอบผ่านแท็บเล็ต และจะประมวลผลตลอดจนแสดงผลทันทีบนแท็บเล็ตที่หน้าจอของครู โดยเป็นการเรียนรู้ที่สามารถแชร์ให้นักเรียนทั้งชั้นเรียนรับรู้ได้พร้อมกัน นอกจากนี้ยังสามารถแสดงคำตอบหลากหลายรูปแบบได้พร้อมๆ กัน และแสดงผลการเปรียบเทียบแต่ละคำตอบ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน

ด้วยการใช้ระบบ “Learning Management System” ในการสนับสนุนการศึกษา ครูสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารสื่อการเรียนการสอน บันทึกข้อมูลการเข้าชั้นเรียน การลงทะเบียนเรียนในระบบ การส่งงานและผลสอบของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ จึงช่วยให้สามารถปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนได้เป็นรายบุคคล ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระบบ

นอกจากการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อการศึกษาแล้ว บริษัท ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด (ประเทศญี่ปุ่น)จำกัด และ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนให้การสนับสนุนพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษาในประเทศไทย สำหรับการฝึกอบรมและส่งเสริมบุคลากรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้นในการวางแผนหลักสูตรและยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ จากระบบอีกด้วย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม จะร่วมกันผลักดันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดขึ้นในแวดวงการศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วทั้งอาเซียนต่อไปข้อมูลพื้นฐาน

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2501 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,780 คน ถือเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้นำด้านการศึกษาชั้นนำและสนับสนุนการพัฒนานักเรียนในภูมิภาคอาเซียน

ฟูจิตสึเริ่มก้าวสู่การพัฒนาระบบบริหารจัดการประสิทธิภาพของนักเรียน ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา โดยช่วยดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เป็นหนึ่งในความร่วมมือที่มีความสำคัญอย่างมากโดยเริ่มโครงการ “Fujitsu Learning Project of Tomorrow” ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบันได้วางระบบนี้แล้ว นอกจากนี้โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ยังได้เลือกวางระบบนี้เช่นกัน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ “Fujitsu Learning Project of Tomorrow” นี้ด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาอย่างสมดุลระหว่างนักเรียนและสื่อการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา

ความสามารถและประสิทธิภาพของระบบสนับสนุนการศึกษาสำหรับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม

ระบบนี้ใช้ความสามารถของแท็บเล็ตสำหรับผู้ใช้ในองค์กรของฟูจิตสึ รุ่น ARROWS Tab Q555 ARROWS Tab Q704/H , ARROWS TAB Q584/H ทำงานร่วมกับเซิร์ฟเวอร์ฟูจิตสึ PRIMERGY TX120 S3 PC และติดตั้งระบบ Fujitsu’ Opinion Sharing System for classroom และระบบสนับสนุนบทเรียน Fujitsu Learning Management System for course management

ในการพัฒนาระบบนี้ บริษัท ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด (ประเทศญี่ปุ่น) จำกัด และบริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ได้แปลระบบ Fujitsu’ Opinion Sharing System เป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังประยุกต์ Fujitsu’s Learning Management System ซึ่งให้บริการในมหาวิทยาลัยมากมายทั่วประเทศญี่ปุ่น มาสนับสนุนบทเรียนสำหรับการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และยังพัฒนาปรับแต่งระบบสนับสนุนการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับใช้ในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยมโดยเฉพาะ1. เริ่มต้นด้วยการติดตั้งใช้งานสำหรับหนึ่งห้องเรียน

ในหนึ่งห้องเรียนของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม ติดตั้งระบบที่รองรับการใช้งานแท็บเล็ตของนักเรียนจำนวน 40 เครื่อง และอีก 20 เครื่องสำหรับครูโดยประมาณ รวมถึงเซิร์ฟเวอร์อีกหนึ่งเครื่องเก็บประวัติการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นการลดภาระการลงทุนเริ่มต้นให้กับโรงเรียน วิธีนี้ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่ประมาณ 1ครั้งต่อสัปดาห์ และจะสามารถขยายผลต่อไปในอนาคตข้างหน้า เมื่อนักเรียนและครูเริ่มคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มากยิ่งขึ้นขอบเขตของระบบ

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม : 1 เซิร์ฟเวอร์ 43 แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน และ 15 แท็บเล็ตสำหรับครู

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม : 1 เซิร์ฟเวอร์ 40 แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน และ 20 แท็บเล็ตสำหรับครู2. เริ่มต้นการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยระบบ Opinion Sharing System

Fujitsu’ Opinion Sharing System เป็นระบบที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งช่วยให้ครูสามารถแสดงข้อมูลความคิดเห็นและตอบคำถามนักเรียนป้อนเข้ามาจากแท็บเล็ตได้ทันที รวมทั้งสามารถแชร์ข้อมูลต่อภายในห้องเรียนได้อย่างง่ายดาย ด้วยสมรรถนะของระบบนี้ นักเรียนสามารถแสดงความคิดด้วยตัวอักษรทำกราฟแสดงผล ข้อความหรือรูปวาดต่างๆ ด้วยปากกาผ่านแท็บเล็ตได้ จึงช่วยให้เกิดการเรียนการสอนแบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ด้วยความสามารถในการสื่อสารส่วนบุคคลของระบบ สามารถนำไปประยุกต์ปรับให้เหมาะสมสำหรับครูและนักเรียนแต่ละคนได้3. บริหารจัดการประวัติการเรียนการสอนด้วยระบบสนับสนุนบทเรียน Learning Management System

บันทึกการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน การบ้าน คะแนนสอบ รายงานและข้อมูลใดๆ ของนักเรียนสามารถจัดเก็บไว้ใน Learning Management System ซึ่งช่วยเสริมการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลดีต่อครูผู้สอนและนักเรียน ครูสามารถบริหารจัดการบทเรียนได้ตามหัวข้อหรือเรียงตามตัวอักษร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาที่ต้องใช้ในการเตรียมการสอน การบันทึกและจัดเก็บสามารถทำได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ด้วยความสามารถของระบบการจัดเก็บข้อมูล นักเรียนสามารถเข้าไปทบทวนหรือเรียนซ้ำผ่านระบบ โดยการใช้แท็บเล็ตได้4. การพัฒนาโซลูชั่นเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ Fujitsu’s Learning Repository System จะเริ่มใช้ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “Fujitsu Learning Project of Tomorrow” ในประเทศญี่ปุ่น และมีแผนจะแปลเป็นภาษาไทย เครื่องมือนี้สามารถทำงานร่วมกับระบบที่มีได้ ทำให้กระบวนการเตรียมข้อมูลการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของแต่ละชั้นเรียนจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบระเบียบ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักเรียน ฟูจิตสึจะสนับสนุนการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่องานวิจัยการพัฒนาการสอนและแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้ร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ ที่เข้าร่วมในโครงการ “Fujitsu Learning Project of Tomorrow” ฟูจิตสึมุ่งมั่นจะใช้การพัฒนาระบบดังกล่าวนี้ ที่ให้กับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม เป็นโอกาสในการก้าวเข้าสู่การศึกษาชั้นนำในเอเชียต่อไป

ทางด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมและรองคณบดีคณะครุศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าสังคมปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค Digital โรงเรียนจึงจัดให้นักเรียนได้รับการเรียนการสอนจากสื่อ Digital ซึ่งสื่อ Digital ที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างขึ้นมาจากประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของคณาจารย์ เพื่อรวมการเลือกสรรสื่อ Digital ที่มีอยู่แล้วในสังคม onlineให้เหมาะสมกับผู้เรียน จะช่วยให้เขาเกิดการเรียนรู้ที่กว้างไกล มีการตอบสนองแบบสองทางระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีในห้องเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุดข้อมูลเพิ่มเติม1. การลงพื้นที่ทดสอบระบบบริหารจัดการประสิทธิภาพของนักเรียน:

การลงพื้นที่ทดสอบใช้งานจริงเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ 2556 บนระบบบริหารจัดการประสิทธิภาพนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาอยู่บนระบบ FUJITSU Education Solution Campusmate-J/Student หนึ่งในระบบสนับสนุนนักเรียนและนิสิต ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนหรือการทำกิจกรรมนอกหลักสูตร ข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของครู อาจารย์ คณะที่ปรึกษาในการสนับสนุนนักเรียนและนิสิต นำมาใช้โดยเจ้าหน้าที่ของคณะและพนักงานของมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อช่วยให้คำปรึกษาหรือแนะแนวนิสิต ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาและบริการอื่นๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้สำหรับนักเรียนและนิสิต2. โครงการ “Fujitsu Learning Project of Tomorrow”

เป็นโครงการที่ได้รับการออกแบบเพื่อสนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่เหมาะสมกับทศวรรษที่ 21 โดยฟูจิตสึได้จัดเตรียมซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอน เพื่อใช้ประโยชน์

จากเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องเรียน ซึ่งมีโรงเรียนเข้าร่วมทั้งหมด 6 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนทั่วญี่ปุ่น 5โรงเรียน และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อีก 1 โรงเรียนในภูมิภาคอาเซียน