คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดสุโขทัย

26 Mar 2015
คณะนักวิจัยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดสุโขทัย -มุ่งแสวงหาแนวทางเพื่อกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส และสร้างอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่เมื่อวันพุธที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐-๑๖.๐๐ น. คณะนักวิจัยโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ดร. อุดม มุ่งเกษม ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ และนายนุกูล สัญฐิติเสรี นักวิจัย พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ศึกษาดูงานและสัมภาษณ์กลุ่ม ประกอบด้วย ดร. บุษบา ตาไว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกอย่างดียิ่ง ร่วมกับ คุณธันวา ฉันทรักษ์ ประธานชมรมคนหูหนวก คุณวิโรจน์ เที่ยงทอง ผู้จัดการมูลนิธิบ้านนกขมิ้น และนายนคร เถื่อนโต อาจารย์ศูนย์การศึกษาพิเศษ และผู้ประสานในการแข่งขันกีฬาคนหูหนวก จังหวัดสุโขทัย ที่ร่วมกันให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดสุโขทัย
คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดสุโขทัย

จากนั้น คณะนักวิจัย ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ บ้านนกขมิ้น (www.baannokkamin.net) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ให้การอุปการะช่วยเหลือเด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาส คนชรา และบำบัดผู้ติดยาเสพติด ด้วยการพัฒนา เปลี่ยนแปลง เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านจิตใจ เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญโลกกว้างในวันข้างหน้า ด้วยการดูแลเด็กๆ ในระบบครอบครัว

ส่วนวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘ ช่วงเช้า (๐๘.๓๐ – ๑๑.๐๐ น.) เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ร่วมกับ สำนักงานศูนย์การศึกษาพิเศษ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดสุโขทัย โดยมีการแบ่งกลุ่มย่อยระดมสมอง และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ พร้อมกับร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในยุคหลอมรวมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการสร้างอาสาสมัครแกนนำในการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางการจัดบริการโทรคมนาคม เพื่อเสนอให้ กสทช.พิจารณาจัดบริการโทรคมนาคมและเงินกองทุน กทปส.สนับสนุนการจัดบริการโทรคมนาคมที่เหมาะสมปัญหา และอุปสรรคในการเข้ารับบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน ประสบการณ์การใช้ อุปกรณ์ เครื่องมือ อินเทอร์เน็ตการสื่อสาร และการโทรคมนาคม ในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

จากนั้น ในช่วงบ่าย คณะนักวิจัย ได้เดินทางไปจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ร่วมกับอาสาสมัครสำนักงานพัฒนาสังคม จังหวัดสุโขทัย ณ โรงแรมพรเจริญ รีสอร์ท แอนด์ สปา กงไกรลาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยมีการแบ่งกลุ่มย่อยระดมสมอง เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมที่เหมาะสม โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ พร้อมกับร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเช่นเดียวกันกับช่วงเช้า

ผลการลงพื้นที่ศึกษาดูงานและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เวทีภาคเหนือตอนล่างในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้แทนองค์กรคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและสมัครเข้าเป็นอาสาสมัครแกนนำถ่ายทอดความรู้ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีสู่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในพื้นที่ จำนวนกว่า ๗๙ คน และมีข้อเสนอแนะแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ที่สำคัญ เช่น แนวทางจัดทำ web acessibility คือ เว็ปไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ คือ ๑) สามารถเปลี่ยนการแสดงผลเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เช่น การขยายตัวหนังสือ ๒) สามารถเปลี่ยนการแสดงผลเป็น Hight contrast ได้ (พื้นหลังกับตัวหนังสือตัดกันอย่างชัดเจน ๓) รูปแบบการนำเสนอบนเว็ปไซด์ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และมีแผนผังเว็ปไซต์ ๔) เว็ปไซต์ไม่มีภาพเคลื่อนไหวที่รบกวนตัวระบบประสาทรับรู้ ไม่มีภาพเคลื่อนไหว ๑๐ ครั้ง/วินาที

๕) เป็นเว็ปไซต์ที่สามารถใช้กับโปรแกรม สกรีนซัคเกอร์ได้ เพื่อประโยชน์การเข้าถึงผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นแนวทางการเข้าถึงข้อมูล Internet ๑) ปรับปรุงสัญญาณ Internet (Wifi ความเร็วสูง) ๒) มีอุปกรณ์ในการเข้าถึง Internet เช่น แท็บเล็ต มือถือ เอ็นดรอย แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน (ฟรี หรือ ราคาถูก มีคุณภาพ)

ดำเนินการโดย แจก คูปองส่วนลด สำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยีคนพิการ สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส, จัดให้ มีกองทุนให้บริการอุปกรณ์ สื่อ สำหรับคนพิการ, มีศูนย์บริการซ่อมบำรุง อุปกรณ์เทคโนโลยี สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส, อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมบำรุง, จัดตั้งศูนย์อบรม และศูนย์ให้คำแนะนำ (Call Center) โดยขอความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี, จัดทำเว็ปไซด์ที่ง่ายต่อการเข้าถึง (web accessibility), มีบริการ แนะนำ ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการใช้งานสื่อบัญชี (เหมือนกับบริการล่ามภาษามือ), มีกองทุนให้บริการเครื่องมือสำหรับใช้อินเทอร์เน็ต เช่น แท็บเล็ตมือถือ, อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อ Internet ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วิธีการเข้าถึง การรู้เท่าทันข้อมูลใน Internet และการนำข้อมูลใน Internet มาใช้ , การเข้าถึงสื่อ ที่ใช้ในการเรียนการสอนควรให้ผู้พิการใช้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย, โปรแกรมในการฝึกพูด ควรมีทุกสถานศึกษาที่มีผู้พิการ, ควรมีตู้โทรศัพท์สำหรับผู้พิการ, การผลิตควรมีหน่วยงานในการผลิตสื่อ Internet ที่มีความเหมาะสมและหลากหลาย, รายการโทรทัศน์ ควรมีช่องรายการสำหรับคนพิการแต่ละประเภท, มีเว็ปไซด์สำหรับคนพิการแต่ละประเภท, มีศูนย์ประสานงานสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ, ออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดช่วงเวลา รายการที่มีสาระสร้างสรรค์ สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

ตลอดจนมีข้อเสนอแนะ ที่สำคัญ เช่น การ สร้างแอพลิเคชั่นของหน่วยงานราชการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงการใช้ได้สะดวกมากขึ้น, ติดตั้ง wifi ฟรี ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงเทคโนโลยี, จัดตั้งศูนย์บริการดิจิตอลใน อปท. เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้ เพื่อรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล, มีการใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตให้คนพิการทั้ง ๓ กลุ่ม เข้าถึง เช่น การสื่อสารทางโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารตู้ TTRS ด้วยการใช้วีดีโอคอล ล่ามภาษามือกับคนหูหนวก, ระดมสมองเพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวยที่เหมาะสม รวมทั้งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับคนพิการต่างๆ เช่น อุปกรณ์ช่วยคนพิการทางร่างกาย พัฒนาด้านร่างกาย (สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ), รวมกลุ่ม/จัดตั้งกลุ่ม ผู้สนใจจากคน ๓ กลุ่ม อบรมให้ความรู้วิธีการใช้งาน ให้รู้เท่าทัน และการได้ประโยชน์จากสื่อใหม่รวบรวม/ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมต่างๆ ของคน ๓ กลุ่ม ผ่านสื่อใหม่, ควรมีจิตอาสาในการส่งเสริมการใช้สื่อของกลุ่ม ๓ กลุ่ม การรวมกลุ่มเครือข่ายอาสาฯ เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการใช้สื่อแบบใหม่ของกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสหลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ โครงการวิจัยฯ จะได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในภูมิภาคอื่นต่อไป สำหรับท่านที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี หรือแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี สามารถแสดงร่วมแสดงความคิดเห็นได้ www.convergencebtfpfund.net

สำนักงานโครงการวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เลขที่ 23/19-20 ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 41 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทร. 08 1933 0388 , 08 1833 7730 โทรสาร 0 2980 9183Email: [email protected] สามารถติดตามข่าวสารของโครงการฯ ได้ที่ www.convergencebtfpfund.net

คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดสุโขทัย คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดสุโขทัย คณะนักวิจัย ลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน เพื่อแสวงหาแนวทาง ปัจจัยเอื้ออำนวย และนวัตกรรมในการเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จาก “สื่อใหม่” ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี เวทีภาคเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดสุโขทัย