นายอำนวย กล่าวต่อไปว่า สำหรับปัจจัยด้านลบที่ทำให้ภาคเกษตรหดตัว ได้แก่ ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2557 ซึ่งขยายเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ ทำให้การผลิตข้าวนาปรังได้รับผลกระทบอย่างมาก นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นช่วงฤดูเพาะปลูก หลายพื้นที่ของประเทศยังคงประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง และในช่วงเดือนกันยายน 2557 บางพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งปลูกพืชที่สำคัญหลายชนิดประสบภัยน้ำท่วม เช่น จังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ และอยุธยา ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรบางส่วนได้รับความเสียหาย อีกทั้งปัญหาโรคตายด่วนในกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง ที่มีความรุนแรงอย่างมากในปี 2556 และยังคงส่งผลต่อเนื่องมายังการผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงในช่วงปี 2557 ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มั่นใจและทำการผลิตไม่เต็มที่
ทั้งนี้ ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 – 3.0 โดยสาขาการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาพืช ขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.2 – 3.2 สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 – 2.5 สำหรับสาขาประมง คาดว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในปีนี้ หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องมา 2 ปี โดยจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 – 2.0 และสาขาป่าไม้ ขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 – 3.5 ส่วนสาขาบริการทางการเกษตร หดตัวอยู่ในช่วงร้อยละ (-3.0) – (-2.0) สำหรับผลผลิตพืชสำคัญที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และโคนม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
“อย่างไรก็ตาม การผลิตทางการเกษตรในช่วงปี 2558 ยังคงมีความเสี่ยงอย่างมากจากภาวะภัยแล้งซึ่งเริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 โดยปริมาณน้ำในเขื่อนหลักมีน้อยและไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว พร้อมดำเนินการติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นและช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร” นายอำนวย กล่าว
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit