ตลาดแรงงานเปลี่ยนไป องค์กรยุคใหม่ต้องง้อพนักงาน

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--เฮย์กรุ๊ป

บริษัท เฮย์กรุ๊ป เปิดเผยผลสำรวจที่จัดทำร่วมกับศูนย์วิจัยทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ (Centre for Economics and Business Research - Cebr) ว่า ขณะนี้องค์กรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการลาออกของพนักงานในองค์กรเนื่องจากตลาดแรงงานกำลังเติบโตขึ้น เศรษฐกิจของไทยนับได้ว่ากำลังเติบโตขึ้น และตลาดแรงงานก็มีการแข่งขันกันมากขึ้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มขั้นแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ต้องปรับเพิ่มค่าแรง ไม่ใช่แค่เพียงให้เท่ากับฐานขั้นต่ำเท่านั้น แต่ต้องให้สูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพื่อรักษาพนักงานที่มีอยู่เดิม และเพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้ อีกทั้งการเปิดเสรี AEC ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีโอกาสในการหางานมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดแรงงานมีการแข่งขันที่สูง เพราะการจ้างงานไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในประเทศเท่านั้น สถานการณ์ของทั่วโลกก็เช่นกัน การเติบโตทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานที่ขยายตัวส่งผลให้อัตราการลาออกของพนักงานทั่วโลกในปี 2014 เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งต่างจากปีที่ผ่านๆ มาที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก คาดการณ์ว่าอัตราการลาออกของพนักงานทั่วโลกในปี 2014 จะสูงถึง 161.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2012 ถึงร้อยละ 12.9 คาดการณ์ว่าแนวโน้มอัตราการลาออกของพนักงานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.6 เป็น ร้อยละ 23.4 และในปี 2018 พนักงานจะลาออกกันถึง 192 ล้านคน กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจจะเริ่มมีอัตราการลาออกของพนักงานที่สูงขึ้นตั้งแต่ปี 2013 นี้ ในขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาทางเศรษฐกิจจะเริ่มมีอัตราที่สูงขึ้นในปี 2014 สืบเนื่องจากผลพวงทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในปีนั้น คุณธันวา จุลชาต Country Manager แผนก Productized Services บริษัท เฮย์กรุ๊ป ประเทศไทย ให้ความคิดเห็นว่า “แม้อัตราการย้ายงานของพนักงานบริษัทฯ ในประเทศไทยจะยังไม่สูงมากนัก แต่จากนโยบายการขึ้นค่าแรงของรัฐบาล และ AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำให้การบริหารคนให้อยู่กับองค์กรเป็นสิ่งที่ยากมากขึ้น กลุ่มผู้ที่มีศักยภาพสูงมีโอกาสจะลาออกจากองค์กรเพราะการแข่งขันของตลาดในเรื่องค่าจ้างนั้นสูงมากกว่าแต่ก่อน “ฉะนั้นแล้ว เพื่อรักษาผู้ที่มีศักยภาพไม่ให้ลาออกจากองค์กรไป การให้ค่าตอบแทนที่เป็นรูปของตัวเงินหรือจับต้องได้ (Tangible Reward) เพียงอย่างเดียวอาจไม่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพและรักษาพนักงานไว้ได้ องค์กรควรมองภาพรวมโดยออกแบบผลตอบแทนแบบรวม (Total Rewards) ซึ่งอาศัยทั้งผลตอบแทนที่จับต้องได้ (Tangible Reward) และผลตอบแทนที่ไม่ได้เป็นรูปของตัวเงินหรือจับต้องไม่ได้ (Intangible Reward) เพื่อสร้างให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์กร และสนับสนุนพนักงานในการทำงาน” อัตราการย้ายงานของพนักงาน เฮย์กรุ๊ป คาดการณ์ว่าอัตราการลาออกของพนักงานในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตดีขึ้นจะสูงกว่าในประเทศอื่นๆ โดยในประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้น โอกาสในการหางานใหม่ของพนักงานจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจนี้เพิ่มสูงขึ้นก่อนกลุ่มอื่นๆ ในขณะที่ประเทศทางฝั่งยุโรปจะเริ่มเพิ่มขึ้นช้ากว่าเนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ฝั่งยุโรปกำลังเผชิญอยู่ เนื่องจากประเทศในเอเชียแปซิฟิกมีการขยายตัวของตลาดแรงงานและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้พนักงานมองเห็นโอกาสในการย้ายงาน องค์กรจึงเริ่มประสบกับปัญหาการลาออกของพนักงานตั้งแต่ปีนี้ นอกจากนั้นองค์กรในเอเชียแปซิฟิกยังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของอัตราการลาออกของพนักงานทั่วโลกที่จะสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากร้อยละ 21.5 เป็นร้อยละ 25.5 ในช่วงปี 2012 ถึง 2018 นับได้ว่าเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 1 ใน 5 ทีเดียว ในส่วนของประเทศไทยเอง แม้ว่าอัตราการลาออกของพนักงานปัจจุบันจะอยู่ที่ร้อยละ 13 อาจไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับอัตราทั่วโลก แต่จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาลเรื่องค่าแรงและการเปิดเสรี AEC ก็แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของการแข่งขันในตลาดแรงงานที่มากขึ้น และการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรก็จะยากขึ้นเช่นกัน สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการทำงานของพนักงาน เพื่อระบุปัจจัยหลักที่ทำให้องค์กรสามารถรักษาพนักงานไม่ให้ลาออกองค์กรไป เฮย์กรุ๊ป จึงวิเคราะห์เจาะลึกถึงความคิดเห็นของพนักงาน โดยอาศัยฐานข้อมูลจากพนักงาน 5.5 ล้านคนทั่วโลก โดยผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า ความมั่นใจในผู้นำ โอกาสการเติบโตในหน้าที่การงาน ความมีอิสระในตนเอง บรรยากาศที่สนับสนุนการทำงาน และค่าจ้างค่าตอบแทนที่เหมาะสมนั้น นับว่าเป็นตัวชี้วัดความผูกพันและความมั่นคงของพนักงานต่อองค์กร พนักงานที่วางแผนจะทำงานในองค์กรของตนมากกว่าสองปี ให้คะแนน 5 ปัจจัยข้างต้นนี้ ดีกว่าพนักงานที่วางแผนจะลาออกจากองค์กรของตนภายในสองปีถึงร้อยละ 20 คุณธันวา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การออกแบบผลตอบแทนแบบรวม (Total Rewards) ซึ่งใช้ทั้งค่าตอบแทนที่จับต้องได้และค่าตอบแทนที่จับต้องไม่ได้ อาทิเช่น สร้างความมั่นใจในผู้นำ ให้โอกาสการเติบโตในหน้าที่การงาน ให้อิสระ สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการทำงาน และการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น จะทำให้พนักงานผูกพันต่อองค์กร และเป็นปัจจัยที่สามารถรักษาผู้ที่มีศักยภาพให้อยู่กับองค์กรได้” ปัญหาการลาออกของพนักงานและการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ การที่องค์กรเข้าใจถึงสถานการณ์และปรับตัวได้อย่างถูกต้อง จะทำให้องค์กรสามารถดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพให้เข้ามาอยู่ในองค์กรและรักษาพนักงานไม่ให้ลาออกจากองค์กรไปได้ -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวบริษัท เฮย์กรุ๊ป+เศรษฐศาสตร์วันนี้

เฮย์กรุ๊ป เผยผลสำรวจ บริษัทที่เป็นเลิศด้านความเป็นผู้นำ ปีที่ 9

เฮย์กรุ๊ป (Hay Group) บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการองค์กรระดับโลก เผยผลสำรวจ 20 อันดับบริษัทที่เป็นเลิศด้านความเป็นผู้นำ ปีที่ 9 โดยมีการจัดอันดับบริษัทที่เป็นเลิศด้านความเป็นผู้นำทั่วโลก พร้อมทั้งเผยวิธีการที่บริษัทเหล่านั้นใช้สร้างและส่งเสริมบุคลากรที่มีศักยภาพภายในองค์กร โดยในปีนี้ บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ครองอันดับหนึ่งเป็นปีที่สองติดต่อกัน ตามมาด้วยบริษัทเจเนอรัล อิเล็กทริค บริษัทโคคา-โคลา และบริษัทไอบีเอ็ม จากผลการศึกษาของบริษัท เฮย์กรุ๊ป พบว่า บริษัทที่เป็นเลิศทางด้านความ

3เอ็ม คว้า TOP 10 องค์กรที่ดีที่สุดจาก 2 สถาบันยักษ์ใหญ่ระดับโลก

บริษัท 3เอ็ม องค์กรผู้นำระดับโลกด้านการวิจัย พัฒนาผลิตสินค้าและนวัตกรรมเพื่อใช้งานในหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรม ประสบความสำเร็จติด 1 ใน 10 จากการจัดอันดับบริษัทที่ดีที่สุดจาก 2 สถาบันจัดอับองค์กรดีเด่นระดับโลก โดยในปี 2557 3เอ็ม...

เฮย์กรุ๊ป เผยผลสำรวจเงินเดือนและการจ่ายโบนัส ประจำปี 2557

วันที่ 14 พฤศจิกายน บริษัท เฮย์กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลก ได้จัดงานสัมมนาประจำปี 2557 ณ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท เพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสรรหาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ และ เผยผลสำรวจอัตราค่าตอบ...

วันที่ 15 ตุลาคม บริษัท เฮย์กรุ๊ป ซึ่งเป็... เฮย์กรุ๊ป เผย 6 เมกะเทรนด์ นำองค์กรสู่อนาคตอย่างยั่งยืน — วันที่ 15 ตุลาคม บริษัท เฮย์กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลก ได้จัดงานสั...

การแข่งขันทางธุรกิจที่มีความรุนแรงมากขึ้น... ปลดล็อคศักยภาพผ่านการออกแบบองค์กร — การแข่งขันทางธุรกิจที่มีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์กรต่างๆ เผชิญกับปัญหาและความท้าทายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ...

ฯพณฯ จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรว... ภาพข่าว: สัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยประจำปี 2557 — ฯพณฯ จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ...

ภาพข่าว: สัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยประจำปี 2557

ฯพณฯ จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอพี.(ไทยแลนด์) จำกัด, บุญชัย ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซาบีน่า จำกัด และ...

เฮย์กรุ๊ป เผยผลสำรวจเงินเดือนและการจ่ายโบนัส

วันที่ 8 พฤศจิกายน บริษัท เฮย์กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลก ได้จัดงานสัมมนาประจำปี 2556 ที่โรงแรม เดอะ แลนด์มาร์ค กรุงเทพ เพื่อเปิดเผย ผลสำรวจอัตราค่าตอบแทนประจำปี 2556 รวมถึงแนวโน้มและผลกระทบในปี 2557 โดยที่ปรึกษาจากบริษัท...

เฮย์กรุ๊ป เผยหลักขับเคลื่อนองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 11 กันยายน บริษัท เฮย์กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลก ได้จัดงานสัมมนา “ขับเคลื่อนองค์กร เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง” (Riding the Wave of Change) ขึ้นที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ภายในงาน คุณบัณฑิต...