ม.แม่โจ้ จับมือ สกว. MOU ต่อ ระยะ 2 มุ่งเป้าช่วยเหลือเกษตรกรจริงจัง

กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--ม.แม่โจ้

ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระยะที่ 2 ร่วมส่งเสริม ช่วยเหลือเกษตรต่อเนื่อง จริงจัง พร้อมเสวนา “อนาคตลำไยไทยใน ASEAN” ในวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “สืบเนื่องจากทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)โดยฝ่ายเกษตร ได้เห็นว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินงานวิจัย ส่งเสริมด้านลำไยต่อเนื่องจริงจังเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ จึงผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้-สกว. เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและบริการวิชาการเรื่องลำไย โดยได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) เมื่อปี 2552 มีกรอบดำเนินงานเบื้องต้น 3 ปี (2553-2556) โดยดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ เป็นผู้อำนวยการ และได้ดำเนินงานในระยะเวลา 3 ปีแรก สิ้นสุดแล้ว ซึ่งมีผลงานเด่นชัดทั้งด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทางสกว.และมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วจึงได้เห็นชอบให้มีการบันทึกข้อตกลงระยะ 2 (2556-2558) เพื่อสานต่อการทำงานและมุ่งส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง” ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ ให้สัมภาษณ์ว่า “จากการดำเนินงานระยะแรกที่ผ่านมา นอกจากงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว.โดยตรง 5 โครงการแล้ว ยังมีการประสานงานวิจัยของศูนย์เครือข่ายฯ ให้นักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับลำไยไม่ต่ำกว่า 40 ราย ส่วนด้านการบริการวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการจัดสร้างและดูแลแปลงสาธิตในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ 15 แปลง มีกลุ่มเครือข่ายด้านการผลิต วิจัย และให้บริการวิชาการ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ด้านการบริหารจัดการสื่อ สารสนเทศเพื่อให้บริการวิชาการ มีแปลงสาธิตการผลิตลำไย มีห้องนิทรรศการถาวรพร้อมให้บริการตลอดปี” “การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระยะที่ 2 (2556-2558) นี้ ยังคงวางแผนดำเนินงานตามโครงสร้างงานเดิม คือ กิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิจัย การพัฒนาเครือข่าย และการจัดการด้านสารสนเทศ โดยทุกด้านเน้นเป้าหมายเดียวกันคือเรื่องการบริหารจัดการสวน ภายใต้สภาพเสี่ยงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน เป็นการเตรียมพร้อมให้เกษตรกรในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่อาจมีผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งด้านแรงงาน ผลผลิตและการตลาด” ผศ.ดร.ธีรนุช กล่าวเพิ่มเติม พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ระยะที่ 2 มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นผู้แทนของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้มีการจัดเสวนาทางวิชาการ “อนาคตลำไยไทยใน ASEAN’ โดยวิทยากรที่มากความสามารถจากหลายสำนัก ทั้งทางด้านสื่อ เศรษฐกิจ วิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และรวมกลเม็ดเคล็ดลับเทคนิคการผลิตลำไย สำหรับท่านที่สนใจจะเข้าร่วมรับฟังการเสวนา ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ 053-873390 / 053-499218-กภ-

ข่าวสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย+กองทุนสนับสนุนการวิจัยวันนี้

นักวิจัยมจธ.โชว์เทคโนโลยีวิศวกรรมโบราณสถาน รัฐ-เอกชนรุมจีบทำฐานข้อมูลดิจิทัลสถานที่สำคัญ

รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโลยีพระจอมเกล้า เปิดเผยถึงการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2561-2562 และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านหน่วยบริหาร

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเ... Innovative house เสริมกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ SMEs ไทย ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง — ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การ... “มิติใหม่ของข้าวเม่า” Fusion Food ฉบับบุรีรัมย์โมเดล — สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ...

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรร... คณะวิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการวิจัยระบบโลจิสติกส์กทม.และปริมณฑล รองรับ “มหานครแห่งเอเชีย” — ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...