สภาที่ปรึกษาฯ หามาตรการฝ่าวิกฤติ EU หวั่นกระทบภาคส่งออกของไทย

กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--สป.

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นำทัพสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมหาทางออกประเทศไทยจากวิกฤติ EU ด้านรองประธานสภาอุตสาหกรรมฯ เผย 11 มาตรการลดผลกระทบเบื้องต้น เตรียมผลักดันเป็นความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป เมื่อวันที่ 19 ก.ค.55 คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาฯ นำโดยนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานฯ จัดการสัมมนาเรื่อง “ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ EU ผลกระทบภาคส่งออกของไทย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น รวมถึงหาแนวทางในการลดผลกระทบจากวิกฤติ เศรษฐกิจในสหภาพยุโรปต่อประเทศไทย ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ นายอุทัยฯ กล่าวว่า ปัญหาของ EU มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคฯ สภาที่ปรึกษาฯ ในฐานะที่มีบทบาทตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงจัดสัมมนาเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการช่วยเสนอข้อมูล ความคิดเห็น เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติ EU ที่จะเกิดกับประเทศไทย ส่วนความเห็นที่ได้จากการสัมมนา จะนำมาประมวลเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป เปิดประเด็นโดย รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ชี้ว่า วิกฤติ EU ทุกวันนี้มาจากการขาดเอกภาพของยูโรโซน ทั้งทางด้านความแตกต่างทางโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ความหลากหลายทางการเมือง ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตก และยุโรปใต้เอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ทั้งผลกระทบด้านการแกว่งไกวของตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ด้านการนำเข้าส่งออก และด้านการท่องเที่ยว รวมถึงผลกระทบทางอ้อม ถ้าหากประเทศในแถบเอเชีย อย่างเช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ EU ก็อาจทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย ด้าน ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร CIMB THAI จำกัด มหาชน มองวิกฤติดังกล่าวว่าเหมือนรถที่กำลังพุ่งเหว ซึ่งไม่สามารถหยุดได้ ทำได้เพียงชะลอให้ช้าลงเท่านั้น ตนเห็นว่าประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันค่อนข้างสูงหลังจากเผชิญวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ.2540 และวิกฤติจากสหภาพยุโรปจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเพียงแค่ทำให้เศรษฐกิจในประเทศหดตัวหรือโตช้าเท่านั้น ไม่ทำให้ประเทศไทยเกิดวิกฤติทางการเงินตามไปด้วยอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าในช่วงนี้ประเทศไทยควรเร่งเปิดเสรีทางการค้าและธุรกิจการบริการให้มากขึ้น นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ เผยข้อเสนอแนะและมาตรการเบื้องต้นสำหรับผลกระทบภาคส่งออกต่อวิกฤติเศรษฐกิจสหภาพยุโรปถดถอย จากการระดมความคิดเห็นของผู้ส่งออกและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ปัญหาเฉพาะหน้าดูแลสภาพคล่องของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะ SMEs โดยให้ธนาคารของรัฐเข้ามาปล่อยสินเชื่อแบบผ่อนปรน 2. ดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนและสนับสนุนให้ใช้เงินสกุลต่างประเทศในการชำระค่าระวางเรือ (Freight) และร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 3.0 หรือต่ำกว่านี้ไปจนถึงสิ้นปี 3. ปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้า-ส่งออก แก้ไข ปรับปรุงกฎเกณฑ์ ข้อบังคับในการลดขั้นตอน เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกมีความสะดวก รวดเร็ว 4. ขอให้กรมสรรพากรพิจารณาในการคืนภาษีให้รวดเร็ว โดยเฉพาะการข้อคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5. ส่งเสริมการส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งให้มีระบบสินเชื่อให้กับคู่ค้า เพื่อให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออก รวมทั้งสนับสนุนและแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกให้สินค้าเข้า-ออกชายแดน 6. การส่งเสริมการส่งออกทดแทนตลาดหลัก ให้รัฐบาลมีการทำเป็นแบบบูรณาการและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการจัดโครงการส่งเสริมสินค้าไทย โดยให้ SMEs และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ด้อยโอกาสสามารถเข้าร่วมได้โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด 7.ส่งเสริมให้มีการจัดหาวัตถุดิบซึ่งขาดแคลนเพื่อผลิตและส่งออกในปริมาณที่เพียงพอและมีแหล่งให้เลือกในการแข่งขันด้านราคา 8. รัฐบาลควรเร่งเจรจาเพื่อขอคืน GRP กลับคืนมา เนื่องจากสินค้าไทยหลายรายการถูกประเทศคู่ค้าตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้า ส่งผลให้สินค้าไทยมีราคานำเข้าสูงกว่าประเทศคู่แข่ง 9. ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน 10. ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศให้มีความชัดเจน 11. รัฐบาลควรมีการกำหนดเป้าหมายการส่งออกให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยเป้าหมายการส่งออกสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากมีปัจจัยภายนอกหรือภายในเข้ามากระทบ -กภ-

ข่าวอุทัย สอนหลักทรัพย์+สภาอุตสาหกรรมฯวันนี้

สภาที่ปรึกษาฯ หามาตรการฝ่าวิกฤติ EU หวั่นกระทบภาคส่งออกของไทย

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นำทัพสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมหาทางออกประเทศไทยจากวิกฤติ EU ด้านรองประธานสภาอุตสาหกรรมฯ เผย 11 มาตรการลดผลกระทบเบื้องต้น เตรียมผลักดันเป็นความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป เมื่อวันที่ 19 ก.ค.55 คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาฯ นำโดยนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานฯ จัดการสัมมนาเรื่อง “ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ EU ผลกระทบภาคส่งออกของไทย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น รวมถึงหาแนวทางในการลดผลกระทบจากวิกฤติ เศรษฐกิจในสหภาพยุโรปต่อประเทศไทย ณ

รัฐมนตรีช่วยเกษตรฯ หารือสภาการยางแห่งประเทศไทย และเครือข่ายยางทั้งระบบ หวังแก้ไขปัญหาและปฏิรูปยางพาราทั้งระบบอย่างครบวงจร

นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง สภาการยางแห่งประเทศไทย และเครือข่ายยางทั้งระบบ นำโดย นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย ...

“ปีติพงศ์” เร่งแก้ไขปัญหายางพารา เตรียมนำ 4 ประเด็นหลัก เข้าประชุม กนย. สัปดาห์หน้า หวังดันราคายางสูงขึ้น

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหายางทั้งระบบร่วมกับ นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย (สกยท.)...

สป. จัดสัมมนา (Focus Group ) ให้หัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง พ.ศ.2556”

ด้วยคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ มีกำหนดการ(ร่าง)กำหนดการจัดการสัมมนา (Focus Group ) ให้หัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง พ.ศ.2556” ในวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00 –...

สป. จัดสัมมนาเรื่อง “ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง (CESS) ต่อการผลิตและการค้ายางพาราของประเทศ”

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอเชิญสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง “ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเปลี่ยนแปลงอัตราการจัดเก็บเงินสง...

ชมยาง CP พันธุ์ใหม่ ทนแล้ง ทนโรค

นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชมยางพันธุ์ใหม่ JVP 80 ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งมีใบใหญ่ เขียวเข้มเป็นพันธุ์ที่ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุด ใบร่วง ทำให้เจริญเติบโตเร็ว อัตราการสร้างเปลือกทดแทนได้ดี และเร็ว เปลือกหนามีความสมบูรณ์...

ผลการสรรหา!!! สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 3

วานนี้ (24 พ.ค.) ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ได้จัดประชุมคัดเลือกกันเอง เพื่อเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จาก จำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 991 คน ทำการคัดเลือกกันเอง เพื่อให้ได้สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 3 จำนวน 99 คน โดยผลการคัดเลือกกันเอง...

สป. จัดสัมมนา เรื่อง “สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย”

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมการประชุมและแถลงข่าวการจัดสัมมนา เรื่อง “สถานการณ์รัฐธรรมนูญไทย” ร่วมแถลงข่าว โดย 1. ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คนที่ 2 2. ร้อยตรีวิจิตร อยู่สุภาพ...